วันศุกร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

พิธีรักษาอุโบสถศีล

พิธีรักษาศีลอุโบสถ


พิธีรักษาอุโบสถ
อุโบสถ เป็นเรื่องกุศลกรรมสำคัญประเภทหนึ่งของคฤหัสถ์ แปลว่าการเข้าจำเป็นอุบายขัดเกลากิเลสได้อย่างเบาบางและเป็นทางแห่งความสงบระงับ อันเป็นความสุขอย่างสูงสุดในพระพุทธศาสนา

อุโบสถมี ๒ อย่าง คือ
          ๑. ปกติอุโบสถ อย่าง ๑
          ๒. ปฏิชาครอุโบสถ อย่าง ๑

     อุโบสถที่รักษากันตามปกติเฉพาะวัน หนึ่งคืนหนึ่ง อย่างที่อุบาสกอุบาสิการักษากันอยู่ทุกวันนี้เรียกว่า 
ปกติอุโบสถ

     อุโบสถที่รักษาเป็นพิเศษกว่าปกติ คือ รักษาคราวละ ๓ วัน คือ วันรับหนึ่งวัน วันรักษาหนึ่งวัน และวันส่งหนึ่งวัน เช่น จะรักษาอุโบสถวัน ๘ ค่ำ ต้องรับและรักษามาตั้งแต่วัน ๗ ค่ำ ตลอดไปจนถึงวันสุด ๙ ค่ำ คือได้อรุณใหม่ของวัน ๑๐ ค่ำนั่นเองจึงหยุดรักษา อย่างนี้เรียกว่า ปฎิชาครอุโบสถ 
การรักษาอุโบสถทั้ง ๒ นี้ โดยแท้คือการรักษา ศีล ๘ นั่นเอง

                                                         ระเบียบพิธี
๑. ชำระร่างกายแต่เช้าตรู่ แล้วอธิษฐานอุโบสถ ด้วยตนเองก่อนว่า "อิมัง อัฏฐังคะสะมันนาคะตัง พุทธัปปัญญัตตัง อุโปสะถัง อิมัญจะ รัตติง อิมัญจะ ทิวสัง สัมมะเทวะ อะภิรักขิตุง สะมาทิยามิ" ฯ
ความว่า"ข้าพเจ้าขอสมาทานอุโบสถที่พระพุทธเจ้าบัญญัติ อันประกอบด้วยองค์แป็ดประการนี้ เพื่อรักษาให้ดี มิให้ขาดมิให้ทำลาย ตลอดคืนหนึ่งและวันหนึ่งในเวลานี้" แล้วรอเวลาอยู่ด้วยอาการสงบเสงียบตามสมควรแล้วไปสู่สมาคม ณ วัดใดวัดหนึ่งเพื่อรับสมาทานอุโบสถศีลต่อพระสงฆ์ตามประเพณี
๒.โดย ปรกติอุโบสถ นั้น เป็นวันธรรมสวนะ ทุกคนจะลงประชุมกันในพระอุโบสถ หรือศาลาการเปรียญเป็นต้นเพื่อทำวัตรสวดมนต์
๓. เมื่อทำวัดสวดมนต์เสร็จ หัวหน้าอุบาสกหรืออุบาสิกาก็ตาม พึงคุกเข่าประนมมือประกาศองค์อุโบสถ ทั้งคำบาลีและไทย
           
                                                  คำประกาศองค์อุโบสถ
อัชชะ โภนโต ปักขัสสะ อัฏฐะมีทิวะโส เอวะรูโป โข โภนโต ทิวะโส พุทเธนะ
ภะคะวะตา ปัญญัตัสสะ ธัมมัสสะวะนัสสะเจวะ ตะทัตถายะ อุปาสะกะอุปาสิกานัง อุโปสะถัสสะ จะ
กาโล โหติ หันทะ มะยัง โภนโต สัพเพ อิธะ สะมาคะตา ตัสสะ ภะคะวะโต ธัมมานุธัมมะปะฏิปัตติยา
ปูชนัตถายะ อิมัญจะ รัตติง อิมัญจะ ทิวะสัง อัฏฐังคะสะมันนาคะตัง อุโปสถัง อุปะวะสิสสามาติ
กาละปะริจเฉทัง กัตวา ตัง ตัง เวระมะณิง อารัมมณัง กัตวา อวิกขิตตะจิตตา หุตวา สักกัจจัง
อุโปสะถัง สมาทิเยยยามิ อีทิสัง หิ อุโปสะถัง สัมปัตตานัง อัมหากัง ชีวิตัง มานิรัตถะกัง โหตุฯ

หมายเหตุ คำประกาศนี้สำหรับวันพระ ๘ ค่ำ ถ้า ๑๕ ค่ำทั้งขึ้นทั้งแรม ใช้คำว่า "ปัณณะระสีทิวะโส"
ถ้าเป็นวันพระ ๑๔ ค่ำใช้คำว่า "าตุททะสีทิวะโส"

๔. เมื่อหัวหน้าประกาศจบแล้ว พระสงฆ์ผู้แสดงธรรมขึ้นธรรมาสน์ อุบาสกอุบาสิกาทุกคน พึงคุกเข่ากราบพร้อมกัน ๓ ครั้ง แล้วกล่าวคำอาราธนาอุโบสถพร้อมกัน ดังนี้
มะยัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ อัฏฐังคะสะมันนาคะตัง อุโปสะถีง ยาจาม (ว่า ๓ จบ)
๕. พึงว่าตามคำสั่งที่พระสงฆ์บอกเป็นตอนๆไปคือ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ ฯ (๓ จบ)
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ 
พอจบแล้วทางพระสงฆ์บอกว่า ติสะระณะคะมะนัง นิฏฐิตัง ก็ให้รับว่า อามะ ภันเต ต่อจากนั้นท่านก็จะให็ศีลต่อไป คอยรับกันตามระยะที่ท่านหยุด ดังนี้
๑. ปาณาติปาตา เวรมณี สิกขาปะทัง สมาทิยามิ
๒. อทินนาทานา เวรมณี สิกขาปะทัง สมาทิยามิ
๓. อะพรหมจริยา เวรมณี สิกขาปะทัง สมาทิยามิ
๔. มุสาวาทา เวรมณี สิกขาปะทัง สมาทิยามิ
๕. สุราเมรยะมัชชะปมาทัฏฐานา เวรมณี สิกขาปะทัง สมาทิยามิ
๖. วิกาละโภชนา เวรมณี สิกขาปะทัง สมาทิยามิ
๗. นัจจะคีตะวาทิตะวิสูกะทัสสนา มาลาคันธะวิเลปะนะธารณะมัณฑนะวิภูสะนัฏฐานา เวรมณี สิกขาปะทัง สมาทิยามิ
๘. อุจจาสะยะนะมะหาสะยะนา เวรมณี สิกขาปะทัง สมาทิยามิ 
๖. เมื่อพระแสดงธรรมจบแล้วทุกคนพึงให้สาธุการและสวดประกาศตนพร้อมกันดังนี้

                                                         สาธุ สาธุ สาธุ
อะหัง พุทธัญจะ ธัมมัญจะ สังฆัญจะ สะระณัง คโต
อุปาสกัตตัง เทเสสึ ภิกขุสั งฆัสสะ สัมมุขา
เอตัง เม สะระณัง เขมัง เอตัง สะระณมุตตะมัง
เอตัง สะระณะมาคัมมะ สัพพะทุกขา ปะมุจจะเย
ยะถาพะลัง จะเรยยาหัง สัมมาสัมพุทธสาสนัง
ทุกขนิสสะระณัสเสวะ ภาคี อัสสัง อนาคเต ฯ

หมายเหตุ ถ้าผู้หญิงกล่าว พึงเปลี่ยนคำที่ขีดเส้นใต้นี้คือ
                   คโต เปลี่ยนเป็น คตา
                   อุปาสกัตตัง เปลี่ยนเป็นอุปาสิกัตตัง
                   ภาคี อัสสัง เปลี่ยนเป็น ภาคินิสสัง
เมื่อสวดประกาศจบให้กราบ ๓ ครั้ง เป็นอันเสร็จพิธีตอนเช้า
๗. ต่อจากนี้ก็พัก สนทนาธรรมกันตามอัธยาศัย รอจนกว่าถึงเวลารับประทานอาหารเพล (เที่ยง) ตอนบ่ายหรือเย็น พึงประชุมกันทำวัตรเย็นตามแบบนิยมของวัดนั้นๆ บางแห่งมีการมีการเทศน์โปรด
๘.ถ้าไม่มีการเทศน์เย็นนี้ พอทำวัตรจบผู้ประสงค์จะกลับไปพักที่บ้าน พึงขึ้นไปลาหัวหน้าสงฆ์ แล้วแต่ธรรมเนียมนิยมของแต่ละวัด
ส่วนผู้ที่ประสงค์จะค้างที่วัดไม่กลับบ้านก็ไม่ต้องลา
คำลาพระสงฆ์
       หันทะทานิ มะยัง ภันเต อาปุจฉามิ
       พะหุกิจจา มะยัง พะหุกะระรียาฯ
พระสงฆ์ผู้รับลา พึงกล่าวคำว่า "ยัสสะทานิ ตุมเห กาลัง มัญญะถะ" ผู้ลาพึงรับว่า "สาธุ ภันเต" แล้วกราบพร้อมกัน ๓ ครั้ง เป็นอันเสร็จพิธีฯ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น