วันศุกร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

วันจันทร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

วิธีทำบุญ

วิธีการทำบุญ


เรื่อง : วิธีการทำบุญ 

คำว่า "บุญ" แปลว่า ความสุข ความดี ความสะอาด ความผ่องแผ้วแห่งจิต
คำว่า "การทำบุญ" หมายถึง การทำกิจใดๆ เพื่อให้ได้บุญ คือ เพื่อให้ได้ความสุขกายสบายใจ กิจที่ทำนั้นต้องเป็นประโยชน์ต่อตนเอง และผู้อื่น โดยถูกทำนองคลองธรรม สำหรับคำว่า "การ บำเพ็ญบุญ" มีความหมายเช่นเดียวกับ "การทำบุญ"
วิธีการทำบุญ เพื่อจะให้ได้บุญนั้น มีอยู่ ๓ วิธี โดยจำแนกตามจิต รวมเรียกว่า "บุญกิริยาวัตถุ ๓ อย่าง" คือ

๑.ทานมัย วิธีการทำบุญด้วยการบริจาคทาน เป็นเรื่องของจิตเกี่ยวเนื่องกับสิ่งของที่จะทำทาน มีหน้าที่กำจัดกิเลสอย่างหยาบคือความโลภได้ ผู้ที่ได้บุญจากทานมัยย่อมเป็นคนกว้างขวาง เป็น ที่รักและเคารพของปวงชน สมานไมตรีกันไว้ได้ทุกชั้น ทั้งยึดถือประโยชน์ของคนที่มีทรัพย์ได้ด้วย เราจำแนกทานออกเป็น ๒ อย่างคือ
    
     ๑.๑ อามิสทาน เป็นการสละทรัพย์ของตนแก่คนทั้งหลาย ด้วยอัธยาศัยเมตตาเผื่อแผ่ เช่น ถวายทานแด่พระภิกษุสามเณร คนชรา ขอทาน ผู้ตกยาก เป็นต้น
      ๑.๒ ธรรมทาน เป็นการแนะนำสั่งสอนชี้แจงให้ผู้อื่นรู้จักบาปบุญคุณโทษ ให้วิชาความรู้ ดังพุทธภาษิตที่ว่า "สัพพะทานัง ธัมมะทานัง ชินาติ" แปลว่า การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ ทั้งปวง

๒. สีลมัย วิธีการทำบุญด้วยการรักษาศีล เป็นเรื่องของจิตเกี่ยวเนื่องกับกายวาจา สีลมัยมีหน้าที่กำจัดกิเลสอย่างกลาง คือความโกรธได้ ผู้ที่ได้บุญจากสีลมัยย่อมเป็นที่รักและเคารพของชนทั้งหลาย หมดความรังเกียจซึ่งกันและกัน ทั้งทำให้เป็นคนองอาจด้วย สีลมัยจำแนกเป็น

     ๒.๑ ศีล ๕ สำหรับสามัญชนทั่วไป
     ๒.๒ ศีล ๘ หรือ อุโบสถศีล สำหรับอุบาสกอุบาสิกา
     ๒.๓ ศีล ๑๐ สำหรับสามเณร
     ๒.๔ ศีล ๒๒๗ สำหรับพระภิกษุ
ปกติคนที่ถูกโทสะครอบงำจิตย่อมจะเดือดร้อนใจ มักจะเสียความประพฤติทางกาย และ วาจา จำต้องรักษาศีลควบคุมกายวาจาให้สงบ ตลอดจนคลุมจิตใจให้เป็นปกติหายโทสะ จิตจึง จะเป็นบุญ

๓. ภาวนามัย วิธีการทำบุญด้วยการภาวนา เป็นเรื่องของจิตอย่างเดียว ผู้ที่ได้บุญจากการ
ภาวนามัย ย่อมเป็นคนหนักแน่นมั่นคง แม้กระทบกระทั่งอารมณ์ใดๆ ย่อมจะไม่หวั่นไหวไปตาม อารมณ์นั้นๆ การภาวนา เป็นการอบรมจิตใจให้ตั้งมั่นอยู่ในความดีและให้ฉลาด สำหรับคนทั่วไป ได้แก่ การศึกษาเล่าเรียน หมั่นฟัง หมั่นคิด หมั่นท่องบ่นหลักวิชาการต่างๆ หมั่นสนทนากับ ท่านผู้รู้จนเกิดความฉลาด การภาวนาที่ละเอียดมากขึ้น ได้แก่

     ๓.๑ สมถภาวนา (สมถกัมมัฏฐาน) คือการทำจิตให้อยู่ในอารมณ์เดียว ด้วยการสำรวม ความ
ระวัง และตั้งใจ
     ๓.๒ วิปัสสนาภาวนา (วิปัสสนากัมมัฏฐาน) คือใช้ปัญญาพิจารณาให้เห็นแจ้งในสังขารธรรม
ทั้งปวง ด้วยความฝึกฝน ความทรมาน ความดัดสันดานและด้วยความข่มใจ

ภาวนามัยเป็นข้อสำคัญที่สุดในบุญกิริยาทั้งหลาย เพราะยึดบุญกิริยานั้นๆ ให้คงอยู่ได้ด้วย แกนเหล็กที่ตั้งอยู่ ณ ภายในทำของที่หุ้มอยู่ ณ ภายนอกให้มั่นคงฉะนั้น อันความงามความดีที่ จะเป็นผล ซึ่งบุคคลที่ประพฤติให้ปรากฏออกภายนอกด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี ต้องมีภาวนา เป็นสารอยู่ภายใน ย่อมเป็นไปดังสุคนธชาติ เป็นต้นว่า เนื้อไม้ที่อบไว้เป็นอันดี เพราะเหตุนั้น กุศลราศีที่บุคคลทำให้มีขึ้นโดยสนิทใจ ได้ชื่อว่าภาวนาเพราะใจความว่าเป็นเครื่องอบรมกุศล ให้มีขึ้นในสันดาน 

เครื่องบูชา แบ่งออกเป็น ๒ ลักษณะ คือ :-
๑. อามิสบูชา ได้แก่การบูชาด้วยอามิส มีดอกไม้ ธูป เทียน เป็นต้น
๒.ปฏิบัติบูชา ได้แก่ การบูชาด้วยการเจริญสมาธิวิปัสสนา
ในบรรดาการบูชาทั้ง ๒ แบบนั้น พระพุทธองค์ ทรงตรัสว่า การปฏิบัติบูชา ถือว่าเป็นเยี่ยม.

พิธีทำบุญเก็บอัฐิ

พิธีทำบุญเก็บอัฐิ



งานทำบุญอัฐิ

       พิธีฝ่ายเจ้าภาพ พึงจัดตระเตียมทำนองเดียวกับงานทำบุญหน้าศพที่กล่าวแล้ว ทุกประการ ต่างแต่เพียงงานนี้เป็นงานทำบุญหน้าอัฐิหรือรูปที่ระลึกของผู้ที่ล่วงลับ เป็นต้น เจ้าภาพต้องเตรีมที่ตั้งอัฐิหรือที่ตั้งรูประลึกนั้น ๆ ต่างหากจากโต๊ะบูชา จะใช้โต๊ะหมู่หรือโต๊ะอื่นใด ที่สมควรก็ได้ ให้มีออกไม้ตั้งหรือประดับพองามตามแต่จะพึงจัดได้ และตั้งกระถางธูปกับเชิงเทียน ๑ คู่ ที่หน้าโต๊ะอัฐิหรือรูปนั้นด้วยเพื่อบูชา จะใช้พานหรือกระบะเครื่องห้าสำหรับบูชาแทนก็ได้ ข้อสำคัญให้ดูงามเด่นพอควร เป็นใช้ได้

       พิธีฝ่ายภิกษุสงฆ์ ส่วนใหญ่ก็พึงปฏิบัติเช่นเดียวกับงานทำบุญหน้าศพ ต่างแต่ การสวดมนต์ นิยมใช้สูตรอืท่นจากอนัตตลักขณสูตร อาทิตตปริยายสูตร และธรรมนิยามสูตร ที่ใช้สำหรรับงานทำบุญศพ ๗ วัน ๕๐ วัน ๑๐๐ วัน หรือหน้าวัน ปลงศพดังกล่าวแล้ว (ในปัจจุบัน สวดธรรมนิยามสูตรก็มี) ทั้งนี้แล้วแต่หัวหน้าสงฆ์ จะกะนัดหมาย หรือเจ้าภาพจำนง หมาย เช่น สติปัฏฐานปาฐะ เป็นต้น

ทำบุญหน้าศพ

พิธีบุญหน้าศพ

ทำบุญอวมงคล

การทำบุญงานอวมงคล หมายถึง การทำบุญเกี่ยวกับเรื่องการตายดังกล่าวแล้ว นิยมทำกันอยู่ ๒ อย่างคือ ทำบุญหน้าศพ ที่เรียกกันว่าทำบุญ ๗ วัน ๕๐ วัน ๑๐๐ วัน หรือทำบุญหน้าววันปลงศพ อย่างหนึ่ง ทำบุญอัฐิหรือทำบุญปรารภการตาย ของบรรพบุรุษ หรือผู้ใดผู้หนึ่ง ในวันคล้ายกับวันตายของท่านผู้ล่วงลับไปแล้วอย่างหนึ่ง ทั้งสองอย่างนี้ มีระเบียบ ที่จะพึงปฏิบัติ ดังนี้

งานทำบุญหน้าศพ
พิธีฝ่ายเจ้าภาพ ในงานทำบุญหน้าศพ มีกิจกรรมที่ควรตระเตียมไว้เป็น เบื้องต้น ส่วนใหญ่คล้ายกับงานทำบุญมงคล แต่มีข้อแตกต่างอยู่บางประการ คือ
                                      
๑. อาราธนาพระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์ มีจำนวนนิยม ๘ รูป หรือ ๑๐ หรือกว่า นั้นขึ้นไป แล้วแต่กรณี ใน เรื่องอาราธนาพระสงฆ์สำหรับทำบุญงานอวมงคล ไม่ใช้คำอาราธนาว่า "ขออาราธนาเจริญพระพุทธมนต์" เหมือนอย่างทำบุญงานมงคล แต่ใช้คำอราธนาว่า "ขออราธนา สวดพระพุทธมนต์"

๒. ไม่ตั้งน้ำวงด้าย หมายความว่า ไม่ต้องตั้งภาชนะน้ำสำหรับทำน้ำมนต์ และไม่มี การวงด้ายสายสิญจน์

๓. เตียมสายโยงหรือภูษาโยงต่อจากศพไว้ เพื่อใช้บังสุกุลสายโยงนั้น ก็ใช้สายสิญจน์ นั่นเอง แต่ไม่เรียกว่าสายสิญจน์เหมือนงานมงคล เรียกว่า สายโยง ถ้าไม่ใช้สายสิญจน์โยง มีหลักที่ต้องระวังอย่างหนึ่ง คือ จะโยงในที่สูงกว่าพระพุทธรูป ที่ตั้งในพิธีไม่ได้ และจะปล่อย ให้ลาดมากับพื้นที่เดินหรือนั่งก็ไม่เหมาะเพราะสายโยงนี้ เป็นสาย ที่ล่ามโยงออกมาจากกระหม่อม ของศพ เป็นสิ่งเนื่องด้วยศพ จึงต้องล่ามหรือโยงให้สมควร

ส่วนการปฏิบัติกรณียกิจ ในเมื่อพระสงฆ์มาถึงตามกำหนดแล้วก็คล้ายกับงานมงคล
สำหรับข้อปฏิบัติในวันเลี้ยงพระ ก็เช่นเดียวกับที่กล่าวแล้วในงานมงคล มีแต่เพียงว่า ในงานมงคล หลังจากพระสงฆ์ฉันเสร็จแล้ว นิยมให้มีบังสุกุล แล้วจึงถวายไทยธรรม เมื่อพระสงฆ์ อนุโมทนาพึงกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลต่อไป

พิธีฝ่ายภิกษุสงฆ์ ต้องใช้พัดที่เกี่ยวกับงานศพเป็นเหมาะสม เพราะงานอวมงคล เป็นเรื่องเกี่ยวกับการตายทั้งสิ้น ถ้าไม่มี จะใช้พัดงานอื่นก็ได้ เช่น พัดงานฉลองต่าง ๆ การสวดมนต์ ในงานอวมงคลนี้ (สวดมนต์เย็นและฉันวันรุ่งขึ้น) มีระเบียบนิยมเหมือนกัน ในตอนต้นและตอนท้าย ทุกงาน ต่างกันแต่ตอนกลาง ซึ่งมีนิยมเฉพาะงาน ๆ ดังนี้
           ๑. ทำบุญศพ ๗ วัน สวดอนัตตลักขณสูตร
           ๒. ทำบุญศพ ๕๐ วัน สวดอาทิตตปริยายสูตร
           ๓. ทำบุญศพ ๑๐๐ วัน หรือทำบุญหน้าวันปลงศพสวดธรรมนิยามสูตร
           ๔. ทำบุญศพในวาระอื่นจากที่กล่าวนี้จะสวดสูตาอื่นใดนอกจากที่กล่าว นี้ก็ได้ แล้วแต่ เจ้าภาพประสงค์หรือหัวหน้านำสวด แต่มีธรรมเนียมอยู่ว่า ไม่สวดเจ็ดตำนาน สิบสองตำนาน ธรรมจักร มหาสมัย

ในการสวดนี้ มีระเบียบปฏิบัติ คือ เมื่อพระหัวหน้าให้ศีลและเจ้าภาพอาราธนา สวดพระปริตรจบแล้ว ไม่ต้องขัด สคฺเค พระทุกรูปประนมมือพร้อมกันแล้ว หัวหน้านำสวด
          ก. นมการปาฐะ (นโม......)
          ข. สรณคมนปาฐะ (พุทฺธํ สรณํ.....)
          ค. ปัพพโตปมคาถาและอริยธนคาถา (ยถาปิ เสลา....)
พอจบตอนนี้ ทั้งหมดลดมือลง แล้วรูปที่นั่งอันดับ ๓ ตั้งพัดขัดบทขัดของสูตร ที่กำหนด สวดตามงานสูตรใดสูตรหนึ่ง เมื่อขัดจบวางพัด ทุกรูปประนมมือพร้อมกันอีก หัวหน้านำสวดสูตร ที่ขัดนำนั้น จบสูตรแล้ว นำสวดบทท้ายสวดมนต์ของงานอวมงคลต่อ คือ
           ก. ปฏิจจปมุปบาท (อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา....)
           ข. พุทธอุทานคาถา (ยทา หเว....)
           ค. พุทเทกรัตตคาถา (อตีตํ นานฺวาคเมยฺย....)
           ฆ. ภวตุ สพฺพมงฺคลํ....
ถ้าสวดธรรมนิยามสูตร ใช้สวดติลักขณาทิคาถา (สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจาติ ฯเปฯ เต โลเก ปรินิพฺพุตาติ) ก่อนสวดปฏิจจสมุปบาท

เมื่อพระสวดมนต์จบแล้ว ถ้ามีการชักผ้าบังสุกุลต่อท้าย เจ้าจะลากสายโยงหรือภูษาโยง แล้วทอดผ้า พอทอดถึงรูปสุดท้าย พระสงฆ์ก็ตั้งพัดพร้อมกัน (อย่าข้าสายโยง หรือภูษาโยง เพราะ จะถือว่าเป็นการข้ามศพ) การตั้งพัดในพิธีชักบังสุกุลของพระให้ใช้มือซ้ายจับพัดแล้วใช้มือ ขวาจับผ้าบังสุกุล

ในกรณีที่เจ้าภาพบำเพ็ญกุศลเพียงสดมนต์ ไม่มีการเลี้ยงพระ ไม่ต้องสวดบทถวาย พรพระ เมื่อพระสงฆ์รับไทยธรรมแล้ว หากไม่มีการรีบด่วน ในการอนุโมทนาด้วยบทวิเสส อนุโมทนา พึงใช้บท "อทาสิ เม" เพราะศพยังปรากฏอยู่.

พิธีทำบุญเลี้ยงพระ

พิธีทำบุญเลี้ยงพระ


พิธีทำบุญเลี้ยงพระ
     การทำบุญเลี้ยงพระ ตามปกติที่ทำกัน มักนิมนต์พระภิกษุสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ ในสถานที่ที่ประกอบพิธีในตอนเย็น เรียกกันอย่างสามัญว่า สวดมนต์เย็น รุ่งขึ้น เวลาเช้า (บางกรณี เวลาเพล) ถวายภัตตาหารแก่พระภิกษุสงฆ์ที่เจริญพระพุทธมนต์ เมื่อเย็นวานนั้นเรียกกันว่า เลี้ยงพระเช้า (เลี้ยงพระเพล) หรือฉันเช้า (ฉันเพล) และในคราวเดียวกันก็มีการตักบาตรด้วย บางคนมีเวลาน้อย ย่นเวลามาทำพร้อมกัน ในวันเดียว ในตอนเช้าหรือตอนเพลตามความสะดวก โดยนิมนต์พระภิกษุสงฆ์ มาเจริญพระพุทธ มนต์ก่อน จบแล้วถวายภัตตาหารให้เสร็จสิ้นในเวลา เดียวกัน อย่างนี้เรียกว่า ทำบุญเลี้ยงพระ

การทำบุญเลี้ยงพระนี้ นิยมทั้งในงานมงคลและงานอวมงคลทั่วไป ที่เรียกว่า ทำบุญ งานมงคลนั้น ได้แก่ การทำบุญเลี้ยงพระดังกล่าว เพื่อความสุขความเจริญแก่จิตใจ โดยปรารภ เหตุที่ดีเป็นมูล เกี่ยวกับฉลองความสำเร็จในชีวิต เช่น ฉลองพระบวชใหม่ เป็นต้น หรือเกี่ยวกับ การริเริ่มชีวิตใหม่เพื่อให้เกิดความสำเร็จ ตามปรารถนาด้วยดี ตลอดไป เช่น ทำบุญขึ้นบ้านใหม่ ทำบุญแต่งงาน หรือเรียกว่ามงคลสมรส เป็นต้น ส่วนที่เรียกว่า ทำบุญงานอวมงคล ได้แก่ การทำบุญเลี้ยงพระเพื่อประโยชน์เกื้อกูล และความสุขโดยปรารภเหตุไม่สู้ดี เนื่องจากมีการตาย ขึ้นในวงญาติ หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องในครอบครัวจัดการทำบุญขึ้น เพื่อให้สำเร็จเป็นประโยชน์ เกื้อกูล และความสุขแก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว และเพื่อเป็นมิ่งขวัญกลาย ๆ แก่ผู้ที่ยังอยู่ งานทำบุญ โดยปรารภเหตุนี้ เรียกว่า ทำบุญงานอวมงคล

การทำบุญทั้ง ๒ ประเภทนี้ ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติมี ๒ ฝ่าย คือ ฝ่ายทายก ทายิกาผู้ประกอบด้วยต้องการบุญ เรียกว่า ฝ่ายเจ้าภาพ ๑ ฝ่ายปฏิคาหก ผู้รับทานและ ประกอบพิธีกรรมตามความประสงค์ของเจ้าภาพ ซึ่งเป็นพระภิกษุสงฆ์ เรียกว่า ฝ่ายภิกษุสงฆ์อีก ๑ ทั้งสองฝ่ายนี้มีระเบียบปฏิบัติพิธี กำหนดไว้เพื่อความเรียบร้อยโดยเหมาะสมแต่ละประเภท ของงาน เป็นขนบประเพณีสืบมา ดังต่อไปนี้

ระเบียบพิธี :  การทำบุญเลี้ยงพระงานมงคล
พิธีฝ่ายเจ้าภาพ ผู้ที่จะทำบุญเนื่องในงานมงคลต่าง ๆ นั้น ในที่นี้เรียกว่า "เจ้าภาพ" เบื้องต้นจะต้องตระเตรียมกิจการต่าง ๆ ที่ควรทำก่อน ดังนี้
          ก. อาราธนาพระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์
          ข. เตรียมที่ตั้งพระพุทธรูปพร้อมทั้งเครื่องบูชา
          ค. ตกแต่งสถานที่บริเวณพิธี
          ฆ. วงด้ายสายสิญจน์
          ง. เชิญพระพุทธรูปมาตั้งบนที่บูชา
          จ. ปูลาดอาสนะสำหรับพระสงฆ์
          ฉ. เตรียมเครื่องรับรองพระสงฆ์ตามควรแก่ฐานะ
          ช. ตั้งภาชนะสำหรับทำน้ำมนต์

เมื่อพระสงฆ์มาถึงแล้วตามเวลากำหนด จะต้องปฏิบัติกรณียกิจ ดังต่อไปนี้
          ก. คอยล้างเท้าพระสงฆ์และเช็ดด้วย (ปัจจุบันพระสงฆ์สวมรองเท้า และเท้าไม่สกปรก จึงไม่ต้องล้างเท้าก็ได้)
          ข. ประเคนเครื่องรับรองที่จัดไว้
          ค. ได้เวลาแล้ว จุดเทียนธูปที่โต๊ะบูชา บูชาพระแล้วกราบนมัสการ ๓ ครั้ง
          ฆ. อาราธนาศีล และรับศีล
          ง. ต่อจากรับศีล อาราธนาพระปริตร เสร็จแล้วไหว้หรือกราบแล้วแต่กรณี
          จ. นั่งฟังพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ เมื่อจบแล้ว ถวายน้ำร้อนหรือ เครื่องดื่ม
อันควรแก่สมณะ แล้วแต่จะจัด

ในการปฏิบัติพิธีตามหน้าที่ที่กล่าวนี้ มีข้อที่ควรจะเข้าใจ คือ
๑. เรื่องการอาราธนาพระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ นิยมไม่กำหนดจำนวนข้างมาก แต่นิยมกำหนดข้างน้อยไว้โดยเกณฑ์ คือไม่ต่ำกว่า ๕ รูป เกิน ๕ ไปก็เป็น ๗ หรือ ๙ ข้อน่าสังเกตก็คือ ไม่นิมนต์พระสงฆ์จำนวนคู่ เพราะถือเหมือนอย่างว่า การทำบุญครั้งนี้ มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน แบบเดียวกับครั้งพุทธกาล ซึ่งปรากฏตามบาลีว่า พุทฺธปฺปมุโข ภิกฺขุสงฺโฆ พระภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข โดยตั้งพระพุทธรูปไว้ข้างหน้าแถวพระสงฆ์ นับจำนวนรวมกับพระสงฆ์เป็นคู่ เว้นแต่ในงานมงคลสมรส มักนิยมนิมนต์พระสงฆ์จำนวนคู่ จุดมุ่งหมาย คือ แบ่งให้ฝ่ายเจ้าบ่าวและฝ่ายเจ้าสาวนิมนต์พระมาจำนวนเท่า ๆ กัน เมื่อมารวมกัน จึงเป็นจำนวนคู่ แต่ในพิธีหลวงในปัจจุบันนี้ มักอาราธนาพระสงฆ์ เป็นจำนวนคู่ เช่น ๑๐ รูป เป็นต้น

๒. เรื่องเตรียมที่ตั้งพระพุทธรูปพร้อมทั้งเครื่องบูชา ที่ตั้งพระพุทธรูปพร้อมทั้งเครื่องบูชา ในงานพิธีต่าง ๆ นั้น นิยมเรียกสั้น ๆ ว่า "โต๊ะบูชา" สิ่งสำคัญของโต๊ะบูชานี้ ประกอบด้วยโต๊ะรอง ๑ เครื่องบูชา ๑ โต๊ะรองเป็นที่รองรับพระพุทธรูป และเครื่องบูชาปัจจุบันนี้นิยมใช้กันทั่วไป เป็นโต๊ะหมู่ซึ่งสร้างไว้โดยเฉพาะ เรียกกันว่า โต๊ะหมู่บูชา มีเป็นหมู่ ๕ หมู่ ๗ และหมู่ ๙ หมายความว่าหมู่หนึ่ง ๆ ประกอบด้วยโต๊ะ ๕ ตัว ๗ ตัว และ ๙ ตัว ก็เรียกว่าหมู่เท่านั้นเท่านี้ ถ้าในที่ที่หาโต๊ะหมู่ไม่ได้ จะใช้ตั่งอะไรที่สมควรซึ่งไม่สูงหรือต่ำเกินไปนักจัดเป็นโต๊ะบูชาในพิธีก็ได้ โต๊ะหรือตั่งนั้นต้องใช้ผ้าขาวปูพื้นก่อน ถ้าหาผ้าขาวไม่ได้จำเป็นจะใช้ผ้าสี ต้องเป็นผ้าสะอาด และยังมิได้ใช้การอย่างอื่น มาเป็น เหมาะสมที่สุด ผ้าอะไรก็ตามถ้าแสดงลักษณะชัดว่าเป็นผ้านุ่งแล้ว ไม่สมควรอย่างยิ่ง

การตั้งโต๊ะบูชานี้มีหลักว่า ต้องตั้งหันหน้าโต๊ะออกทางเดียวกับพระสงฆ์ คือให้พระ พุทธรูปหันพระพักตร์ออกทางเดียวกับพระสงฆ์นั่นเอง ด้วยมุ่งหมายให้พระสงฆ์ มีพระพุทธรูป เป็นประธาน เว้นแต่จำเป็นเกี่ยวกับสถานที่ซึ่งจะต้องให้พระสงฆ์นั่ง มีเบื้องซ้ายอยู่ทางพระพุทธรูป แล้ว จึงต้องตั้งโต๊ะบูชาหันหน้ามาทางพระสงฆ์ให้พระพุทธรูป หันพระพักตร์หาพระสงฆ์ เป็นอัน ไม่ต้องเข้าแถวกับพระสงฆ์ สำหรับเรื่องทิศทางที่จะประดิษฐานพระพุทธรูปนั้น มักจะให้ผิน พระพักตร์ไปสู่ทิศเหนือ ด้วยถือว่าพระพุทธเจ้า เป็นโลกอุดร มิฉะนั้นก็ให้หันไปทางทิศตะวันออก ด้วยถือว่าเป็นทิศพระ (ในวันตรัสรู้ พระพุทธเจ้าประทับนั่งผินพระพักตร์ไปทางตะวันออก) เป็นพื้น แต่เรื่องนี้เห็นว่า ไม่จำเป็นต้องจำกัดเช่นนั้น จะให้ผินพระพักตร์ไปทิศใด ๆ ก็ไม่เกิดโทษ และไม่มีข้อห้าม เป็นอัน แล้วแต่สถานที่จะอำนวยให้ประดิษฐานได้เหมาะสมก็พึงทำได้ทั้งนั้น

สำหรับการตั้งเครื่องบูชานั้น ต้องแล้วแต่โต๊ะที่ตั้ง ถ้าเป็นโต๊ะเดี่ยวที่ใช้ตั่ง หรือโต๊ะ ตัวเดียวตั้งแทนโต๊ะหมู่ เครื่องบูชาควรมีแจกันประดับดอกไม้ ๑ คู่ ตั้ง ๒ ข้างพระพุทธรูป ไม่ชิด หรือห่างจนเกินไป ถัดมาแถวหน้าพระพุทธรูป ตั้งกระถางธูปตรงหน้า พระพุทธรูปกับเชิงเทียน ๑ คู่ ตั้งตรงกับแจกัน เพียงเท่านี้ก็สำเร็จรูปเป็นโต๊ะบูชา พอสมควร

สำหรับโต๊ะหมู่จะแสดงการตั้งโต๊ะหมู่ ๗ เป็นตัวอย่าง ดังนี้

หลักโต๊ะหมู่ ๗ มีอยู่ว่า ใช้แจกัน ๒ คู่ คู่ ๑ ตั้งบนโต๊ะกลางที่ตั้งพระพุทธรูป ชิดด้านหลัง ๒ ข้างพระพุทธรูปอยู่ตรงมุมทั้ง ๒ ด้านหลัง อีกคู่ ๑ ตั้งบนโต๊ะข้างตัวละ ๑ ชิดมุมด้านหลัง ถือหลักว่าแจกันเป็นพนักหลังสุด จะตั้งล้ำมาข้างหน้าไม่ควร พานดอกไม้ ๕ พาน ตั้งกลางโต๊ะ ทุกโต๊ะ เว้นโต๊ะกลางแถวหน้าซึ่งตั้งกระถางธูป เชิงเทียน ๕ คู่ ตั้งที่โต๊ะข้างซ้ายและขวามือโต๊ะละ ๑ ที่มุมหน้าตรงข้ามกับแจกัน รวม ๒ ซีก ๒ คู่ ตรง กลางตั้งแต่โต๊ะพระพุทธรูปลงมา ๓ ตัว ตั้งตัวละคู่ที่มุมโต๊ะทั้ง ๒ ด้านหน้า รวมอีก ๓ คู่ สำหรับคู่ที่อยู่บนโต๊ะที่ตั้ง พระพุทธรูปนั้นก็จำเป็น เช่น บังพระพุทธรูปหรือชิดพระพุทธรูปเกินไป จะตัดออกเสียคู่หนึ่งก็ได้ แม้โต๊ะหมู่อื่นนอกจากหมู่ ๗ ที่กล่าวนี้ ก็ถือหลักการตั้งเช่นเดียวกัน

๓. เรื่องตกแต่งสถานที่บริเวณพิธี นิยมให้สะอาดเรียบร้อยเป็นสำคัญ เพราะเป็นการ ทำบุญต้องการสิริมงคล และออกแขกด้วยความสะอาด เรียบร้อยทุกอย่าง เป็นสิ่งที่ควรกระทำ อย่างยิ่ง ถ้าได้เพิ่มการตกแต่งเพื่อความสวยงามขึ้นอีก ก็เป็นการดียิ่ง ทั้งนี้สุดแต่ฐานะและกำลัง ของตนเป็นสำคัญ

๔. เรื่องวงด้ายสายสิญจน์ คำว่า สิญจน์ แปลว่า การรดน้ำ คือ การรดน้ำ ด้วยพิธี สืบเนื่องมาแต่พิธีพราหมณ์ เดิม “สาย” เข้าข้างหน้า เป็นสายสิญจน์ กลายเป็นวัตถุชนิดหนึ่ง ที่นำมาใช้ในงานมงคลต่าง ๆ สายสิญจน์ได้แก่สายที่ทำด้วยด้ายดิบ โดยวิธีจับเส้นด้ายในเข็ด เส้นเดียว จับออกครั้งแรกเป็น ๓ เส้น ม้วนเข้ากลุ่มไว้ ถ้าต้องการให้สายใหญ่ ก็จับอีกครั้งหนึ่ง จะกลายเป็น ๙ เส้น ในงานมงคลทุกประเภท นิยมใช้สายสิญจน์ ๙ เส้น เพราะกล่าวกันว่า สายสิญจน์ ๓ เส้น สำหรับใช้ในพิธีเบิกโลงผี จะนำมาใช้ในพิธีงานมงคลไม่เหมาะสม ถ้าเพ่ง

การวงสายสิญจน์ มีเกณฑ์ถืออยู่ว่า ถ้าเป็นบ้านมีรั้วรอบให้วงรอบรั้ว ถ้าไม่มีรั้วรอบ หรือมีแต่กว้างเกินไปหรือมีอาคาร หรือสิ่งปลูกสร้างอื่นที่ไม่เกี่ยวกับพิธี อยู่ร่วมในรั้วด้วยก็ให้วง เฉพาะอาคารพิธีโดยรอบ ถ้าเจ้าภาพไม่ต้องการวงสายสิญจน์ รอบรั้วบ้านหรือรอบอาคารที่ตน ประกอบพิธีทำบุญ จะวงสายสิญจน์ที่ฐานพระพุทธรูป บนโต๊ะบูชาเท่านั้น แล้วโยงมาที่ภาชนะ สำหรับทำน้ำมนต์ก็ได้ การโยงสายสิญจน์จากฐานพระพุทธรูปมายังภาชนะน้ำมนต์ ควรโยง หลบเพื่อไม่ให้ต้องข้ามสายสิญจน์ ในเวลาจุดธูปเทียน เมื่อวงที่ภาชนะสำหรับทำน้ำมนต์แล้ว พึงวางกลุ่มด้ายสายสิญจน์ไว้บนพาน สำหรับรองสายสิญจน์ ซึ่งอยู่ทางหัวอาสน์สงฆ์ใกล้ภาชนะ สำหรับทำน้ำมนต์ การวงสายสิญจน์ถือหลักวงจากซ้ายไปขวาของสถานที่หรือวัตถุ มีข้อที่ถือเป็น เรื่องควรระวังอยู่อย่างหนึ่ง คือ ในขณะที่วงสายสิญจน์อย่าให้สายสิญจน์ขาด

อนึ่ง สายสิญจน์ที่วงพระพุทธรูปแล้วนี้จะข้ามกรายมิได้เพราะถ้าข้ามกรายแล้ว เท่ากับข้ามพระพุทธรูป เป็นการแสดงควาไม่เคารพต่อพระพุทธรูปทีเดียว หากมีความจำเป็น ที่จะต้องผ่านสายสิญจน์ ก็ต้องลอดมือหรือก้มศีรษะลอดภายใต้สายสิญจน์ผ่านไป

๕. เรื่องเชิญพระพุทธรูปมาตั้งบนที่บูชา เป็นกิจที่พึงทำเมื่อใกล้จะถึงกำหนดเวลา ประกอบพิธีพระพุทธรูปนั้นจะเป็นพระปางอะไรก็แล้วแต่จะหาได้ ขอให้เป็นพระพุทธรูปเท่านั้น ไม่ใช่พระเครื่องซึ่งเล็กมากไม่เหมาะแก่พิธี พระพุทธรูป ถ้ามีครอบควรเอาครอบออก ตั้งเฉพาะ องค์พระเท่านั้น และที่องค์พระไม่สมควรจะนำ อะไรที่ไม่เหมาะสมประดับ เช่น พวงมาลัยหรือ ดอกไม้ เป็นต้น ควรให้องค์พระเด่น เป็นสำคัญ เว้นแต่ที่ฐานพระจะใช้พวงมาลัยวงรอบฐาน กลับดูงามดีไม่มีข้อห้าม ดอกไม้บูชามีระเบียบจัดดังกล่าวแล้วในเรื่องตั้งเครื่องบูชา ก่อนที่จะ ยกพระพุทธรูป จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งก็ดี ในขณะที่วางพระพุทธรูปลง ณ ที่บูชาก็ดี ควรจะ น้อมไหว้ ก่อนยก หรือน้อมไหว้ในเมื่อวางลงแล้ว เป็นอย่างน้อย ถ้าถึงกราบได้เป็นงดงาม

๖. เรื่องปูลาดอาสนะสำหรับพระสงฆ์ นิยมใช้กันอยู่ ๒ วิธี คือ ยกพื้นอาสน์สงฆ์ ให้สูงขึ้นโดยใช้เตียงหรือม้าวางต่อกันเข้าให้ยาวพอแก่จำนวนสงฆ์ อีกวิธีหนึ่ง ปูลาดอาสนะ บนพื้นธรรมดา อาสน์สงฆ์ชนิดยกพื้นนิยมใช้ผ้าขาวปูลาด จะมีผ้านิสีทนะ (ผ้าปูนั่ง) ปูอีกชั้นหนึ่ง หรือไม่ก็ได้ โดยเฉพาะอาสน์สงฆ์ยกพื้นนี้ มักจัดในสถานที่ที่ฝ่ายเจ้าภาพนั่งเก้าอี้กัน ส่วนอาสนะ ชนิดที่ปูลาดบนพื้นธรรมดา จะใช้เสื่อหรือพรมหรือผ้าที่สมควรปูก็สุดแต่จะมีหรือหาได้ ข้อที่ควร ระวัง คือ อย่าให้อาสนะพระสงฆ์กับอาสนะของคฤหัสถ์ฝ่ายเจ้าภาพเป็นอันเดียวกัน ควรปูลาด ให้แยกจากกัน ถ้าจำเป็นแยกไม่ได้โดยปูเสื่อหรือพรมไว้เต็มห้องสำหรับอาสนะพระสงฆ์ ควรจัด ปูทับเสื่อหรือพรมนั้นอีกชั้นหนึ่งจึงจะเหมาะ

๗. เรื่องเตรียมเครื่องรับรองพระสงฆ์ ตามแบบและประเพณี ก็มีหมากพลู บุหรี่ น้ำร้อน น้ำเย็น และกระโถน การวางเครื่องรับรองเหล่านี้มีหลักว่า ต้องวางทางด้านขวามือของพระ ระหว่างรูปหนึ่งกับอีกรูปหนึ่งที่นั่งเรียงกัน ด้านขวามือของรูปใด ก็เป็นเครื่องรับรองของรูปนั้น การวางให้วางกระโถนข้างในสุด เพราะเป็นสิ่งไม่ต้องประเคน ถัดออกมาภาชนะน้ำเย็น ออกมา อีกเป็นภาชนะใส่หมากพลูบุหรี่ ซึ่งรวมอยู่ในที่เดียวกัน เมื่อพระสงฆ์นั่งก็ประเคนตั้งแต่ข้างใน ออกมาหาข้างนอก คือ น้ำเย็น แล้วหมากพลูบุหรี่ ส่วนน้ำร้อนจัดประเคน ตั้งแต่ข้างในออกมา หาข้างนอก คือ น้ำเย็น แล้วหมากพลูบุหรี่ ส่วนน้ำร้อนจัดประเคนภายหลัง ไม่ต้องตั้งประจำ ที่เหมือนอย่าง เครื่องดังกล่าวแล้ว เครื่องรับรองดังกล่าวนี้ ถ้าจำกัด จะจัดรับรอง ๒ รูป ต่อ ๑ ที่ก็ได้ และให้จัดวางตามลำดับ ในระหว่างรูปที่ต้องการให้ใช้ร่วมกัน

๘. เรื่องตั้งภาชนะสำหรับทำน้ำมนต์ ควรเตรียมภาชนะเป็นประการแรก ถ้าไม่มีครอบ น้ำมนต์ ซึ่งเป็นของสำหรับใส่น้ำมนต์โดยเฉพาะ จะใช้บาตรของพระหรือขันน้ำ พานรองแทนก็ได้ แต่ขันต้องไม่ใช่ขันเงินหรือทองคำ เพราะเงินและทองเป็นวัตถุ อนามาสไม่ควรแก่การจับต้อง ของพระ ต่อไปก็หาน้ำสะอาดใส่ในภาชนะ ห้ามไม่ให้ใช้น้ำฝน ทั้งนี้เห็นจะเป็นด้วยถือว่า น้ำที่ จะศักดิ์สิทธิ์ขึ้นได้ ต้องมาจากธรณี ส่วนน้ำฝนมาจากอากาศจึงไม่นิยม น้ำที่ใส่ควรใส่แต่เพียง ค่อนภาชนะเท่านั้น ควรหาใบเงินใบทอง ใส่ลงไปด้วยแต่เพียงสังเขปเล็กน้อย (ถ้าหาไม่ได้ จะใช้ ดอกบัวใส่แทนก็ได้ แต่ดอกไม้อื่นไม่ควร) ต้องมีเทียนน้ำมนต์อีกหนึ่งเล่ม ควรเป็นเทียนขี้ผึ้งแท้ ขนาดหนัก ๑ บาทเป็นอย่างต่ำ ติดที่ปากบาตรหรือขอบขัน หรือบนยอดจุกฝาครอบน้ำมนต์ ไม่ต้องจุด แล้วนำไปวางไว้หน้าโต๊ะบูชาให้ค่อนมาทางอาสนะพระสงฆ์ ใกล้กับรูปที่เป็นหัวหน้า เพื่อหัวหน้าจะได้หยดเทียนทำน้ำมนต์ในขณะสวดมนต์ได้สะดวก

๙. เรื่อง จุด เทียน ธูป ที่โต๊ะบูชา เจ้าภาพควรจุดเอง ไม่ควรให้คนอื่นจุดแทน เพราะเป็น การนมัสการพระอันเป็นกิจเบื้องต้นของบุญ การจุดควรจุดเทียนก่อน จุดด้วยไม้ขีดหรือเทียน ชนวน อย่าต่อจากตะเกียง หรือไฟอื่น เทียนติดดีแล้ว ใช้ธูป ๓ ดอกจุดต่อที่เทียนจนติดดี จึงปักลงให้ตรง ๆ ในกระถางธูป แล้วตั้งใจบูชาพระ ต่อจากนี้จึงดำเนินพิธีไปตามลำดับ คืออาราธนาศีล รับศีลแล้ว อาราธนาพระปริตร วิธีอาราธนาจักกล่าวต่อไปข้างหน้า

พออาราธนาพระปริตรจบแล้ว พระสงฆ์เริ่มสวดมนต์ ทุกคนที่อยู่ในบริเวณพิธี พึงนั่ง ประนมมือฟังพระสวดด้วยความเคารพ พอพระเริ่มสวดมงคลสูตรขึ้นต้นบท อเสวนา จ พาลานํ เป็นต้น เจ้าภาพพึงเข้าไปจุดเทียนน้ำมนต์ที่บาตร หรือครอบน้ำมนต์หน้าพระแล้วประเคนบาตร หรือครอบน้ำมนต์นั้นต่อหัวหน้าสงฆ์ เพื่อท่านจะได้ทำน้ำมนต์ต่อไป

๑๐. ข้อปฏิบัติวันเลี้ยงพระ ถ้าเลี้ยงพระในวันรุ่งขึ้น การเตรียมเครื่องรับรองพระสงฆ์ พึงจัดอย่างวันสวดมนต์เย็น เมื่อพระภิกษุสงฆ์มาพร้อมตามเวลาแล้ว เจ้าภาพพึงจุดธูปเทียน เครื่องนมัสการบูชาพระแล้วอาราธนาศีลและรับศีลอย่างเดียวกับวันก่อน เสร็จแล้วไม่ต้องอาราธนา พระปริตร พระสงฆ์จะเริ่มสวดถวายพรพระเอง ถ้ามีการตักบาตรด้วย พึงเริ่มลงมือตักบาตร ขณะพระสงฆ์สวดถึงบท พาหุง และให้เสร็จก่อน พระสงฆ์สวดจบ เตรียมยกบาตรและภัตตาหาร มาตั้งไว้ให้พร้อม พอสวดจบก็ประเคนให้ พระฉันได้ทันที ถ้าไม่มีตักบาตรเจ้าภาพก็นั่งประนมมือ ฟังพระสวดไปพอสมควรแล้ว เตรียมตั้งภัตตาหารเมื่อพระสวดจวนจบ

แต่ถ้าเป็นงานวันเดียว คือ สวดมนต์ก่อนฉัน การตระเตรียมต่าง ๆ ก็คงจัดครั้งเดียว พระภิกษุสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ก่อน แล้วสวดถวายพรพระต่อท้าย เจ้าภาพพึงนั่งประนมมือฟัง เมื่อพระสงฆ์สวดถึงบทถวายพรพระ จึงเตรียมภัตตาหารไว้ให้พร้อม พอพระสวดจบก็ยกประเคน ได้

สุดท้ายพิธี เมื่อพระภิกษุสงฆ์ฉันอิ่มแล้ว ถวายเครื่องไทยธรรม ต่อนั้น พระสงฆ์ อนุโมทนา ขณะพระว่าบท ยถา... ให้เริ่มกรวดน้ำให้เสร็จก่อนจบบท ยถา... พอพระว่าบท สพฺพีติโย... พร้อมกัน ถึงประนมมือรับพรตลอดไปจนจบ แล้วส่งพระกลับ

อนึ่ง การเลี้ยงพระในพิธีทำบุญเลี้ยงพระนี้ มีประเพณีโบราณสืบเนื่องกันมานาน อย่างหนึ่ง คือ ประเพณีถวายข้าวพระพุทธ เห็นจะเนื่องมาจากถือว่า พระสงฆ์ที่นิมนต์มาฉัน ในพิธีนั้นมีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขตามหลักพระบาลีที่กล่าวมาแล้ว ฉะนั้นการถวายภัตตาหาร แก่พระสงฆ์ ก็ต้องถวายองค์ประมุข คือ พระพุทธเจ้าด้วย แม้พระองค์ปรินิพพานไปนานแล้ว ก็จำต้องทำการถวายต่อพระพักตร์พระพุทธรูป ให้เป็นกิริยาสำเร็จรูปสมตามเจตนานั้น เหตุนี้ ในงานทำบุญ ไม่ว่างานมงคลหรืองานอวมงคล จึงนิยมถวายภัตตาหารแด่พระพุทธรูปด้วย ซึ่งเรียกกันทั่วไปว่า ถวายข้าวพระพุทธ ถ้ามีตักบาตรก็ต้องตั้งบาตรพระพุทธไว้หัวแถว ด้วยเช่นกัน ข้าวพระพุทธที่ถวายนั้นนิยมจัดอย่างเดียวกับที่ถวายพระสงฆ์เมื่อเสร็จภัตกิจแล้ว ข้าวพระพุทธนั้นตกเป็นของมรรคนายกวัด หรืออุบาสกอุบาสิกาผู้มาในงาน แต่บางงานเนื่องด้วยที่ จำกัดหรือจะเป็นเพราะเรียวลงตามกาลเวลา หรือความง่ายของบุคคลหาทราบไม่ เจ้าภาพจึง จัดสำรับพระพุทธเพียงสำรับเล็ก ๆ ก็มี การถวายนี้เป็นหน้าที่ของเจ้าภาพ พึงใช้ผ้าขาวปูบนโต๊ะ ที่จะนำมาตั้งรองข้าวพระพุทธ หรือปูบนพื้นราบก็ได้ ตรงหน้าโต๊ะบูชาแล้วตั้งสำรับคาวหวาน พร้อมทั้งข้าวน้ำให้บริบูรณ์บนโต๊ะหรือบนพื้นผ้านั้น เสร็จแล้วจุดธูป ๓ ดอก ปักในกระถางธูป หน้าโต๊ะบูชา นั่งคุกเข่าประนมมือ ตรงหน้าที่ตั้งข้าวพระพุทธและโต๊ะบูชา ว่านโม ๓ จบ แล้วว่า คำถวาย ดังนี้ “อิมํ สูปพฺยญฺชนสมฺปนฺนํ สีลีนํ โอทนํ, อุทกํ วรํ พุทฺธสฺส ปูเชมิ” จบแล้วกราบ ๓ ครั้ง ต่อนี้จึงจัดถวายภัตตาหารแก่พระสงฆ์ ตามวิธีที่กล่าวแล้ว

เมื่อเสร็จภัตกิจ และพระสงฆ์อนุโมทนาเสร็จจนกลับหมดแล้ว ถ้ามีการเลี้ยงแขก ผู้มา ในงานต่อก็เป็นหน้าที่ของอุบาสกหรืออุบาสิกา ผู้รู้ธรรมเนียมวัดจะลาข้าวพระพุทธนั้น มา รับประทาน การลาข้าวพระพุทธมีนิยมดังนี้ ผู้ลาพึงเข้าไปนั่ง คุกเข่าหน้าสำรับ ที่หน้าโต๊ะบูชานั้น กราบ ๓ ครั้งก่อน แล้วประนมมือกล่าวคำว่า “เสสํ มงฺคลา ยาจามิ” แล้วไหว้ ต่อนั้นยกข้าว พระพุทธออกไปได้เลย

พิธีฝ่ายภิกษุสงฆ์ เริ่มต้นเมื่อพระสงฆ์รับนิมนต์ไปในงานทำบุญแล้ว ถึงวันกำหนด ถ้าเจ้าภาพกำหนดจะมารับ พึงเตรียมตัวไว้ให้พร้อมก่อนถึงเวลา พอมีคนมารับ ก็ให้ไปได้ทันที ควรไปตามกำหนดให้ถึงที่งานก่อนเวลาพอสมควร อย่าให้ก่อนมากนัก เพราะเกี่ยวด้วยการ เตรียมการของเจ้าภาพอาจยังไม่พร้อมก็ได้ จะเป็นเหตุให้เจ้าภาพ อึดอัดในการที่ยังไม่พร้อม จะรับรอง และอย่าให้กระชั้นเวลาจนเกินไป เพราะจะทำให้เจ้าภาพกระวนกระวาย

การไปในงานต้องนุ่มห่มให้เรียบร้อยเป็นสมณสารูป ตามแบบนิยมของวัด ควรมีพัด ไปด้วยทุกรูป และควรใช้พัดงานมงคลไม่ใช่พัดงานศพ พัดงานศพที่ถือเป็นข้อห้ามอย่างจริงจัง นั้นคือ พัดที่มีอักษรปรากฏว่า ที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ... ในงานฌาปนกิจศพ... เพราะพัดงานศพใช้สำหรับงานอวมงคลเท่านั้น ถ้าขัดข้อง เพราะเหตุจำเป็นจริง ๆ อย่างใด อย่างหนึ่ง ไม่สามารถจะนำพัดไปได้ทุกรูป (สำหรับ พระสงฆ์วัดเดียวกันทั้งหมด) ก็ควรมีไปเฉพาะ หัวหน้ารูปเดียว เพราะพัดที่ต้องนำไปนี้ จำต้องใช้ในคราว
            ก. ให้ศีล เฉพาะหัวหน้า
            ข. ขัด สคฺเค และขัดตำนาน เฉพาะรูปที่นั่งอันดับที่ ๓
            ค. อนุโมทนาท้ายพิธี ต้องใช้ทุกรูป และ
            ฆ. ถ้ามีการบังสุกุลอัฐิประกอบด้วย ก็ต้องใช้ทุกรูปเช่นกัน

เรื่องการนำพัดไปในงานทำบุญนี้ บางแห่งถือกันว่า ถ้าพระสงฆ์มีพัดไปในงาน ทุกรูป เป็นการให้เกียรติแก่เจ้าภาพด้วย

เมื่อไปถึงที่งานแล้ว ได้เวลาเจ้าภาพจะนิมนต์เข้าที่ ขณะขึ้นนั่งบนอาสนะที่เจ้าภาพจัด ปูไว้ ควรพิจารณาเสียก่อน ถ้าเป็นอาสนะผ้าขาวไม่ควรขึ้นเหยียบ หรือทำอาการใด ๆ ให้ฝ่าเท้า ถูกผ้าขาวสกปรกด้วย ควรคุกเข่าบนผ้าขาวเดินเข่าเข้าไปยังที่นั่ง ถ้าไม่ใช่อาสนะผ้าขาว ควรปฏิบัติโดยอาการที่เหมาะสมเรียบร้อยน่าดูเป็นเหมาะที่สุด ให้เข้านั่งกันตามลำดับไว้ ระยะให้พองาม นั่งแบบพับเพียบให้ได้แถวได้แนว ดูเข่าให้เสมอกันและนั่งอย่างผึ่งผาย ไม่ควรนั่งงอหลังหรือเท้าแขน เข้าที่แล้ววางพัดไว้ทางหลังด้านขวามือ

เมื่อเจ้าภาพเริ่มอาราธนาศีล พระเถระผู้เป็นหัวหน้าพึงคลี่กลุ่ม สายสิญจน์แล้วส่งต่อกัน ไปจนถึงรูปสุดท้าย พออาราธนาศีลถึงวาระที่ ๓ ว่าตติยมฺปิ... ผู้เป็นหัวหน้าพึงตั้งพัดเตรียมให้ศีล การจับพัดให้จับด้วยมือขวาที่ด้ามถัดคอพัดลงมา ๔ - ๕ นิ้ว หรือกะว่าจับตรงส่วนที่สามตอนบน ของด้ามพัด ใช้มือกำด้ามด้วยนิ้วทั้ง ๔ เว้นนิ้วแม่มือ เฉพาะนิ้วแม่มือยกขึ้นแตะด้ามให้ทาบ ตรงขึ้นไปตามด้ามพัดนั้น นำสายสิญจน์ขึ้นพาดไว้บนนิ้วชี้ ตั้งพัดให้ตรงหน้า ปลายด้ามอยู่กึ่งกลาง อย่าให้ห่างตัวหรือชิดตัวมากนัก และอย่าตั้งนอกสายสิญจน์ ดูหน้าพัดให้หันออกข้างนอก ให้พัดตั้ง ตรงได้ฉากเป็นงาม พอจบคำอาราธนาศีลก็ตั้ง นโม ให้ศีลทันที ให้ไปถึงตอนจบไตรสรณคมน์ ไม่ต้องว่า "ติสรณคมนํ นิฏฐิตํ" เพราะคำนี้ใช้เฉพาะในพิธี สมาทานศีลจริง ๆ เช่น สมาทาน อุโบสถศีล ในการรับศีลเป็นพิธีอย่างในงานทำบุญนี้ ไม่ต้องว่าพึงให้ศีลต่อไตรสรณคมน์ไปเลย ทีเดียว, พอให้ศีลจบก็วางพัด ถ้าไม่ได้นำพัด ไปทุกรูป ให้ส่งพัดต่อให้รูปที่ ๓ เตรียมขัด สคฺเค

พอเจ้าภาพอาราธนาพระปริตรถึงครั้งที่สาม รูปที่ต้องขัด สคฺเค เตรียมตั้งพัด แบบเดียว กับที่กล่าวแล้ว พออาราธนาจบก็เริ่มขัดได้ พอขัดจบพระสงฆ์ทุกรูปยกสายสิญจน์ขึ้นประนมมือ พร้อมกัน ใช้ง่ามนิ้วแม่มือทั้งสองรับสายสิญจน์ไว้ในระหว่างประนมมือ แล้วหัวหน้านำว่า นโม และนำสวดมนต์บทต่าง ๆ ไปตามแบบนิยม

การเจริญพระพุทธมนต์ในงานมงคล มีกำหนดเป็นหลัก ดังนี้
: เจ็ดตำนานใช้ในงานมงคลทั่วไป :
สิบสองตำนาน ธรรมจักร มหาสมัยใช้ในงานมงคลบางอย่าง สุดแต่เจ้าภาพ ประสงค์ หรือสุดแต่พระสงฆ์เห็นเป็นการสมควร ที่ถือกันมาเป็นธรรมเนียม เช่น ในงานทำบุญอายุใหญ่ สวดธรรมจักรและเจ็ดตำนานย่อ งานมงคลสมรส สวดมหาสมัย และเจ็ดตำนานย่อ

ในการเจริญพระพุทธมนต์งานมงคลทุกแบบ มีตั้งภาชนะน้ำมนต์ไว้ด้วยก็เพื่อให้ พระสงฆ์ทำน้ำมนต์ในขณะสวด การทำน้ำมนต์นิยมว่าเป็นหน้าที่ของหัวหน้าสงฆ์ เจ้าภาพจะจุด เทียนน้ำมนต์ตั้งแต่เริ่มสวดมงคลสูตร พอสวดรตนสูตร ถึงตอน ขีณํ ปุราณํ นวํ นตฺถิ สมฺภวํ... หัวหน้าสงฆ์พึงใช้มือขวา ปลดเทียนน้ำมนต์ออกจากที่ปัก ถ้าที่น้ำมนต์เป็นครอบ พึงเปิดฝาครอบ แล้วจับเทียน ควบกับสายสิญจน์ เอียงให้หยดลงในน้ำทีละหยด ๆ พร้อมกับสวด พอสวดถึงคำว่า นิพฺ ในคำว่า นิพฺพนฺติ ธีรา ยถายมฺปทีโป ก็ให้จุ่มเทียนลงดับในน้ำมนต์ทันที พอถึงคำว่า ปทีโป จึงยกขึ้น แล้ววางหรือติดเทียนไว้ตามเดิม (นี้กล่าวตามธรรมเนียม แต่ก่อน แต่ในปัจจุบัน พอสวดถึง เย สุปฺปยุตฺตา... เตรียมปลดเทียนน้ำมนต์ และเริ่มหยดเรื่อยไปดับตรงคำว่า นิพฺ เช่นเดียวกันก็มี) เป็นอันเสร็จพิธีทำน้ำมนต์ ต่อนั้นจึงสวดมนต์ต่อไปจนจบ

อนึ่ง ในงานมงคล เมื่อตั้งน้ำมนต์ในขณะเจริญพระพุทธมนต์แล้ว เสร็จพิธี หรือเสร็จ การเลี้ยงพระในวันฉัน มักมีประเพณีขอให้พระสงฆ์พรมน้ำพระพุทธมนต์ ให้เจ้าภาพ และบริเวณ สถานที่บ้านเรือนเป็นต้นด้วย ถ้าเจ้าภาพประสงค์ให้มีการพรมน้ำพระพุทธมนต์ต่อท้าย เจ้าภาพ จะต้องเตรียมสิ่งสำหรับพรม คือ หญ้าคา หรือก้าน มะยมมัดเป็นกำไว้ให้พร้อม การใช้หญ้าคา เป็นประเพณีติดมาแต่คติพราหมณ์ ซึ่งมีเรื่องเล่าไว้ในคัมภีร์พระเวทของพราหมณ์ว่า เมื่อครั้ง อสูรกับเทวดาร่วมกันกวน เกษียรสมุทรให้เป็นน้ำอมฤตขึ้นสำเร็จ พวกเทวดาหาอุบายกีดกัน ไม่ให้พวกอสูรได้ดื่ม น้ำอำมฤตนั้น จึงเกิดวิวาทถึงรบราฆ่าฟันกันเป็นการใหญ่ ในการรบกันนั้น น้ำอมฤตได้ กระเซ็นตกมาบนหญ้าคา ๒ - ๓ หยด โดยเหตุนี้เองพวกพราหมณ์จึงถือว่าหญ้าคา เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เพราะเป็นสิ่งที่กำจัดให้ตายได้ยาก เลยนำมาใช้ในพิธีการต่าง ๆ หลายอย่าง ติดมา จนทุกวันนี้

สำหรับชาวพุทธที่ติดประเพณีพราหมณ์ ก็ถือว่าหญ้าคาเป็นหญ้ามงคล เพราะปรากฏ เป็นพุทธบัลลังก์ที่พระพุทธเจ้าประทับใต้ร่มโพธิพฤกษ์ในวันตรัสรู้ จึงนิยมใช้ หญ้าคากันสืบต่อมา

ส่วนที่ใช้ก้านมะยมอีกอย่างหนึ่ง เห็นจะเป็นความนิยมเกิดขึ้นในภายหลัง และอาจจะ นิยมเฉพาะในประเทศไทย อย่างเดียวกับที่ชาวจีนนิยมใช้ก้านทับทิมพรมน้ำมนต์ เรื่องใช้ก้าน มะยมในหมู่ชาวไทยนี้ ได้ทราบอธิบายของเกจิอาจารย์มาว่า ท่านถือว่า "ไม้มะยม" มีชื่อพ้องกัน กับ "ยมทัณฑ์" คือ ไม้อาญาสิทธิ์ของพญายม ผู้เป็นเจ้าของภูตผีปีศาจ ไม้ยมทัณฑ์นั้น สามารถปราบหรือกำจัดภูตผีปีศาจได้ทุกทิศทุกทาง ชาวไทยเราถือเคล็ดที่ชื่อพ้องกันนี้นำมา ใช้สำหรับพรมน้ำพระพุทธมนต์ เพื่อขับไล่ เสนียดจัญไร และเพื่อให้มีความขลังหรือศักดิ์สิทธิ์ยิ่งขึ้น ในการใช้ก้านมะยมนี้ จึงนิยมเพิ่มเติมอีกว่า ต้องใช้ ๗ ก้านมัดรวมกัน โดยถือว่าได้จำนวน เท่ากันกับหัวข้อธรรม ในโพชฌงคสูตร ซึ่งเป็นธรรมโอสถวิเศษ และเท่าจำนวนพระปริตร ๗ ตำนาน ที่พระสงฆ์สวดในงานมงคลนั้นด้วย แต่จะอย่างไรก็ตาม เรื่องใช้ก้านมะยมพรมแทน หญ้าคาที่นิยมมาเดิม เห็นจะเป็นเพราะในถิ่นที่เจริญแล้ว เช่น ในเมือง เป็นต้น หาหญ้าคาได้ยาก เพราะไม่มีป่า แต่ต้นมะยมมีอยู่ตามบ้านในเมืองไทยนี้ทั่วไป จึงดัดแปลงมาเพื่อใช้สิ่งที่หาได้ง่าย เป็นประมาณนั่นเอง










พิธีบรรพชาอุปสมบท

พิธีบรรพชาอุปสมบท


                                               
ครั้งหนึ่งในชีวิตของลูกผู้ชาย การได้บวชถือเป็นมหากุศล อันยิ่งใหญ่ ผลบุญจะแผ่ไปถึง บุคคลผู้ใกล้ชิด และลบล้างกรรมชั่วในอดีตได้ ตามแต่กำลังการบำเพ็ญตน หรือหากท่านยินดี ที่จะดำรงสถานภาพของสมณเพศ ไปจนตลอดชีวิต ก็นับว่า เป็นการอุทิศตน ช่วยธำรงค์ไว้ซึ่งการสืบต่อ ของศาสนาพุทธ ไปจนตราบชั่วกาลนาน

สิ่งเล็กๆ น้อยๆ เหล่านี้ก็ถือว่ามีส่วนสำคัญในการคัดเลือกบุคคลที่เหมาะสมจะมาอยู่ในสมณเพศ การหละหลวมในการพิจารณาคุณสมบัติเบื้องต้นของผู้ที่จะมาบวชให้คนทั่วไปเขากราบไหว้ นับถือ มีส่วนทำให้สถาบันศาสนาสั่นคลอน ดังจะเห็นได้จากสิ่งที่เคยเกิดขึ้นว่า คนเคยต้องโทษจำคุกในคดีอาญามาบวชเป็นพระแล้วก็นอกจากจะไม่อยู่ในศีลแล้วยังก่อคดีอุกฉกรรจ์อีกจนได้

ผู้ที่จะบวชเป็นสามเณรหรือพระได้ต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
๑.เป็นสุภาพชนที่มีความประพฤติดีประพฤติชอบ ไม่มีความประพฤติเสียหาย เช่นติดสุราหรือยาเสพติดให้โทษเป็นต้น และไม่เป็นคนจรจัด
๒.มีความรู้อ่านและเขียนหนังสือไทยได้
๓.ไม่เป็นผู้มีทิฏฐิวิบัติ
๔.ไม่เป็นคนล้มละลาย หรือมีหนี้สินผูกพัน
๕.เป็นผู้ปราศจากบรรพชาโทษ และมีร่างกายสมบูรณ์ อาจบำเพ็ญสมณกิจได้ ไม่เป็นคนชราไร้ความสามารถหรือทุพพลภาพ หรือพิกลพิการ
๖.มีสมณบริขารครบถ้วนและถูกต้องตามพระวินัย
๗.เป็นผู้สามารถกล่าวคำขอบรรพชาอุปสมบทได้ด้วยตนเอง และถูกต้องไม่วิบัติ

ต่อไปนี้เป็นลักษณะต้องห้ามสำหรับผู้จะบวชได้แก่
๑.เป็นคนทำความผิด หลบหนีอาญาแผ่นดิน
๒.เป็นคนหลบหนีราชการ
๓.เป็นคนต้องหาในคดีอาญา
๔.เป็นคนเคยถูกตัดสินจำคุกฐานเป็นผู้ร้ายสำคัญ
๕.เป็นคนถูกห้ามอุปสมบทเด็ดขาดทางพระศาสนา
๖.เป็นคนมีโรคติดต่ออันน่ารังเกียจ เช่นวัณโรคในระยะอันตราย
๗.เป็นคนมีอวัยวะพิการจนไม่สามารถปฏิบัติกิจพระศาสนาได้

สิ่งต่างๆ ข้างต้นจะมีเขียนถามไว้ในใบสมัครขอบวชซึ่งต้องไปเขียนที่วัดนั้นๆ 
การเตรียมตัวก่อนบวช
ผู้จะบวชเรียกว่า อุปสัมปทาเปกข์ หรือ นาค ซึ่งต้องท่องคำบาลีหรือที่เรียกกันว่าขานนาคให้คล่องเพื่อใช้ในพิธี โดยต้องฝึกซ้อมกับพระอาจารย์ให้คล่องก่อนทำพิธีบวชเพื่อจะได้ไม่เคอะเขิน
นอกจากนี้มีหลายสิ่งหลายอย่างที่ต้องคิด ต้องเตรียมตัว และทำเมื่อคิดจะบวชดังต่อไปนี้ อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ว่าจะต้องทำทั้งหมดเพราะว่าทั้งนี้ให้คำนึงถึงความเหมาะสม และกำลังทรัพย์ด้วย ขั้นตอนบางอย่างไม่จำเป็นต้องมีก็ได้
เครื่องอัฏฐบริขาร เครื่องอัฏฐบริขาร
ของที่ต้องใช้ในการบวช ของที่ต้องเตรียมใช้ในพิธีคือ
คำขอขมาเพื่อลาบวช คำขอขมาบิดา
การบวชนาค แห่นาค การบวชนาคและแห่นาค

เครื่องอัฏฐบริขารและเครื่องใช้อื่นๆ ที่ควรมีหรือจำเป็นต้องใช้ได้แก่
๑.ไตรครอง ได้แก่ สบง ๑ ประคตเอว ๑ อังสะ ๑ จีวร ๑ สังฆาฏิ ๑ ผ้ารัดอก ๑ ผ้ากราบ ๑
๒.บาตร แบบมีเชิงรองพร้อมด้วยฝา ถลกบาตร สายโยค ถุง ตะเคียว
๓.มีดโกน พร้อมทั้งหินลับมีดโกน
๔.เข็มเย็บผ้า พร้อมทั้งกล่องเข็มและด้าย
๕.เครื่องกรองน้ำ (ธมกรก)
๖.เสื่อ หมอน ผ้าห่ม มุ้ง
๗.จีวร สบง อังสะ ผ้าอาบ ๒ ผืน (อาศัย)
๘.ตาลปัตร ย่าม ผ้าเช็ดหน้า ร่ม รองเท้า
๙.โคมไฟฟ้า หรือตะเกียง ไฟฉาย นาฬิกาปลุก
๑๐.สำรับ ปิ่นโต คาว หวาน จานข้าว ช้อนส้อม ผ้าเช็ดมือ
๑๑.ที่ต้มน้ำ กาต้มน้ำ กาชงน้ำร้อน ถ้วยน้ำร้อน เหยือกน้ำและแก้วน้ำเย็น กระติกน้ำแข็ง กระติกน้ำร้อน
๑๒.กระโถนบ้วน กระโถนถ่าย
๑๓.ขันอาบน้ำ สบู่และกล่องสบู่ แปรงและยาสีฟัน ผ้าขนหนู กระดาษชำระ
๑๔.สันถัต (อาสนะ)
๑๕.หีบไม้หรือกระเป๋าหนังสำหรับเก็บไตรครอง
ข้อที่ ๑-๕ เรียกว่าอัฏฐบริขารซึ่งถือเป็นสิ่งจำเป็นที่ขาดเสียมิได้ มีความหมายว่า บริขาร ๘ แบ่งเป็นผ้า ๕ อย่างคือ สบง ๑ ประคตเอว ๑ จีวร ๑ สังฆาฏิ ๑ ผ้ากรองน้ำ ๑ และเหล็ก ๓ อย่างคือ บาตร ๑ มีดโกน ๑ เข็มเย็บผ้า ๑ นอกจากนั้นก็แล้วแต่ความจำเป็นในแต่ละแห่งและกำลังทรัพย์

                           
ของที่ต้องเตรียมใช้ในพิธีคือ
๑.ไตรแบ่ง ได้แก่ สบง ๑ ประคตเอว ๑ อังสะ ๑ จีวร ๑ ผ้ารัดอก ๑ ผ้ากราบ ๑
๒.จีวร สบง อังสะ (อาศัยหรือสำรอง) และผ้าอาบ ๒ ผืน
๓.ย่าม ผ้าเช็ดหน้า นาฬิกา
๔.บาตร แบบมีเชิงรองพร้อมด้วยฝา
๕.รองเท้า ร่ม
๖.ที่นอน เสื่อ หมอน ผ้าห่ม มุ้ง (อาจอาศัยของวัดก็ได้)
๗.จานข้าว ช้อนส้อม แก้วน้ำ ผ้าเช็ดมือ ปิ่นโต กระโถน
๘.ขันน้ำ สบู่ กล่องสบู่ แปรง ยาสีฟัน ผ้าเช็ดตัว
๙.ธูป เทียน ดอกไม้ (ใช้สำหรับบูชาพระรัตนตรัย)
๑๐.ธูป เทียน ดอกไม้ *(อาจใช้แบบเทียนแพรที่มีกรวยดอกไม้ก็ได้ เอาไว้ถวายพระอุปัชฌาย์ผู้ให้บวช)
*อาจจะเตรียมเครื่องจตุปัจจัยไทยธรรมสำหรับถวายพระอุปัชฌาย์และพระในพิธีนั้นอีกรูปละหนึ่งชุดก็ได้ ขึ้นอยู่กับกำลังทรัพย์และศรัทธา

                                              
คำขอขมาบิดา มารดา และญาติผู้ใหญ่เพื่อลาบวช
"กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม ที่ข้าพเจ้าได้เคยประมาทล่วงเกินท่านต่อหน้าก็ดี ลับหลังก็ดี ทั้งตั้งใจก็ดี มิได้ตั้งใจก็ดี ขอให้ท่านจงอโหสิกรรมแก่ข้าพเจ้านับแต่บัดนี้เป็นต้นไปจนตราบเท่านิพพานเทอญ"


                            

การบวชนาคและแห่นาค
การจัดกระบวนแห่ประกอบด้วยสิ่งต่อไปนี้ คือ
- หัวโต หรือห้วสิงโต (มีหรือไม่ก็ได้)
-  แตร หรือ เถิดเทิง (มีหรือไม่ก็ได้)
- ของถวายพระอุปัชฌาย์ คู่สวด
- ไตรครอง ซึ่งมักจะอุ้มโดยมารดาหรือบุพการีของผู้บวช (มีสัปทนกั้น)
- ดอกบัว ๓ ดอก ธูป ๓ ดอก เทียน ๒ เล่ม ให้ผู้บวชพนมมือถือไว้ (มีสัปทนกั้น)
- บาตร และตาลปัตร จะถือและสะพายโดยบิดาของผู้บวช
- ของถวายพระอันดับ
- บริขารและเครื่องใช้อย่างอื่นของผู้บวช

                  
เมื่อจัดขบวนเรียบร้อยแล้วก็เคลื่อนขบวนเข้าสู่พระอุโบสถ เวียนขวารอบนอกขันธสีมา จนครบ ๓ รอบ ก่อนจะเข้าโบสถ์ก็ต้องวันทาเสมาหน้าพระอุโบสถเสียก่อนว่า วันทามิ อาราเม พัทธะเสมายัง โพธิรุกขัง เจติยัง สัพพะ เม โทสัง ขะมะถะ เม ภันเต
เมื่อเสร็จแล้วก็โปรยทานก่อนเข้าสู่พระอุโบสถโดยให้บิดามารดาจูงติดกันไป อาจจะอุ้มข้ามธรณีประตูไปเลยก็ได้ เสร็จแล้วผู้บวชก็ไปกราบพระประธานด้านข้างพระหัตถ์ขวาขององค์พระ รับไตรครองจากมารดาบิดา จากนั้นจึงเริ่มพิธีการบวช

                              

ขั้นตอนและบทที่ต้องท่องจำ 
- ใช้ในพิธีบวชแบบมหานิกาย (อุกาสะ)
รับผ้าไตรอุ้มประนมมือแล้วเดินเข้าไปในที่ประชุมสงฆ์ในพิธี (สังฆนิบาต) แล้ววางผ้าไตรไว้ข้างตัวด้านซ้าย รับเครื่องสักการะถวายพระอุปัชฌาย์ กราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์ ๓ ครั้ง แล้วอุ้มผ้าไตรประนมมือยืนขึ้นเปล่งวาจาขอบรรพชาว่า
อุกาสะ วันทามิ ภันเต
สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต
มะยา กะตัง ปุญญัง สามินา อะนุโมทิตัพพัง
สามินา กะตัง ปุญญัง มัยหัง
ทาตัพพัง สาธุ สาธุ อะนุโมทามิ
อุกาสะ การุญญัง กัตตะวา ปัพพัชชัง เทถะ เม ภันเต
(นั่งคุกเข่าลง แล้วประนมมือว่า)
อะหัง ภันเต ปัพพัชชัง ยาจามิ
ทุติยัมปิ อะหัง ภันเต ปัพพัชชัง ยาจามิ
ตะติยัมปิ อะหัง ภันเต ปัพพัชชัง ยาจามิ
(กล่าว ๓ ครั้งว่า)
สัพพะทุกขะ นิสสะระณะนิพพานะ สัจฉิกะระณัตถายะ
อิมัง กาสาวัง คะเหตะวา ปัพพาเชถะ มัง ภันเต
อะนุกัมปัง อุปาทายะ (เสร็จแล้วพระอุปัชฌาจะมารับผ้าไตร แล้วว่าต่อไป)
(กล่าว ๓ ครั้งว่า)
สัพพะทุกขะ นิสสะระณะนิพพานะ สัจฉิกะระณัตถายะ
เอตัง กาสาวัง ทัตตะวา ปัพพาเชถะ มัง ภันเต
อะนุกัมปัง อุปาทายะ
พระอุปัชฌาย์ให้โอวาทและบอก ตะจะปัญจะกะ กัมมัฏฐาน แล้วให้ว่าตามไปทีละบท โดยอนุโลม (ไปข้างหน้า) และปฏิโลม (ทวนกลับ) ดังนี้
เกสา โลมา นะขา ทันตา ตะโจ (อนุโลม)
ตะโจ ทันตา นะขา โลมา เกสา (ปฏิโลม)

พระอุปัชฌาย์ ชักอังสะออกจากไตรมาสวมให้ผู้บวช แล้วสั่งให้ออกไปครองผ้าครบไตรจีวรตามระเบียบ ครั้นเสร็จแล้วรับเครื่องไทยทานเข้าไปหาพระอาจารย์ ถวายท่านแล้วกราบ ๓ ครั้ง ยืนประนมมือเปล่งวาจาขอสรณะและศีลดังนี้
อุกาสะ วันทามิ ภันเต
สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต
มะยา กะตัง ปุญญัง สามินา อะนุโมทิตัพพัง 
สามินา กะตัง ปุญญัง มัยหัง ทาตัพพัง
สาธุ สาธุ อะนุโมทามิ

อุกาสะ การุญญัง กัตตะวา
ติสะระเณนะ สะหะ
สีลานิ เทถะ เม ภันเต
(นั่งคุกเข่าขอสรณะและศีลดังต่อไปนี้)
อะหัง ภันเต สะระณะสีลัง ยาจามิ
ทุติยัมปิ อะหัง ภันเต สะระณะสีลัง ยาจามิ
ตะติยัมปิ อะหัง ภันเต สะระณะสีลัง ยาจามิ

(พระอาจารย์กล่าวคำนมัสการให้ผู้บรรพชาว่าตามดังนี้)
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (๓ จบ)
พระอุปัชฌาย์จะกล่าวว่า เอวัง วะเทหิ หรือ ยะมะหัง วะทามิ ตัง วะเทหิ

ให้รับว่า อามะ ภันเต แล้วท่านจะว่านำสรณคมน์ก็ให้ว่าตามดังนี้

พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
พอจบแล้วทางพระอุปัชฌาย์จะบอกว่า ติสะระณะคะมะนัง นิฏฐิตัง ก็ให้รับว่า อามะ ภันเต ต่อจากนั้นก็สมาทานสิกขาบท ๑๐ ประการโดยว่าตามท่านไปเรื่อยๆ ดังนี้
ปาณาติปาตา เวรมณี สิกขาปะทัง สมาทิยามิ
อทินนาทานา เวรมณี สิกขาปะทัง สมาทิยามิ
อะพรหมจริยา เวรมณี สิกขาปะทัง สมาทิยามิ
มุสาวาทา เวรมณี สิกขาปะทัง สมาทิยามิ
สุราเมรยะมัชชะปมาทัฏฐานา เวรมณี สิกขาปะทัง สมาทิยามิ
วิกาละโภชนา เวรมณี สิกขาปะทัง สมาทิยามิ
นัจจะคีตะวาทิตะวิสูกะทัสสนา เวรมณี สิกขาปะทัง สมาทิยามิ
มาลาคันธะวิเลปะนะธารณะมัณฑนะวิภูสะนัฏฐานา เวรมณี สิกขาปะทัง สมาทิยามิ
อุจจาสะยะนะมะหาสะยะนา เวรมณี สิกขาปะทัง สมาทิยามิ
ชาตะรูปะ ระชะตะ ปฏิคคหณา เวรมณี สิกขาปะทัง สมาทิยามิ
(พระจะกล่าว ๓ ครั้งว่า)
อิมานิ ทะสะ สิกขาปะทานิ สมาทิยามิ (เสร็จแล้วพึงกราบลง ๑ หน แล้วยืนขึ้นว่าดังนี้)
วันทามิ ภันเต สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต
มะยา กะตัง ปุญญัง สามินา อะนุโมทิตัพพัง
สามินา กะตัง ปุญญัง มัยหัง ทาตัพพัง
สาธุ สาธุ อะนุโมทามิ (คุกเข่าลงกราบ ๓ ครั้ง)

ต่อจากนั้นให้รับบาตรอุ้มเข้าไปหาพระอุปัชฌาย์ในสังฆสันนิบาต วางไว้ข้างตัวด้านซ้าย รับเครื่องไทยทานถวายท่านแล้วกราบ ๓ ครั้ง เสร็จแล้วยืนขึ้นประนมมือกล่าวดังนี้
อุกาสะ วันทามิ ภันเต สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต
มะยา กะตัง ปุญญัง สามินา อะนุโมทิตัพพัง
สามินา กะตัง ปุญญัง มัยหัง ทาตัพพัง
สาธุ สาธุ อะนุโมทามิ
อุกาสะ การุญญัง กัตตะวา นิสสะยัง เทถะ เม ภันเต
(นั่งคุกเข่า)
อะหัง ภันเต นิสสะยัง ยาจามิ
ทุติยัมปิ อะหัง ภันเต นิสสะยัง ยาจามิ
ตะติยัมปิ อะหัง ภันเต นิสสะยัง ยาจามิ
(กล่าว ๓ ครั้งว่า)
อุปัชฌาโย เม ภันเต โหหิ

พระอุปัชฌาย์จะกล่าวรับว่า โอปายิกัง ปะฏิรูปัง ปาสาทิเกนะ สัมปะเทหิ ผู้บวชพึงรับว่า อุกาสะ สัมปะฏิจฉามิ ๓ ครั้งแล้วว่าดังนี้
(กล่าว ๓ ครั้งว่า)
อัชชะตัคเคทานิ เถโร มัยหัง ภาโร อะหัมปิ เถรัสสะ ภาโร (เสร็จแล้วยืนขึ้นว่าดังนี้)
วันทามิ ภันเต สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต
มะยา กะตัง ปุญญัง สามินา อะนุโมทิตัพพัง
สามินา กะตัง ปุญญัง มัยหัง ทาตัพพัง
สาธุ สาธุ อะนุโมทามิ (คุกเข่าลงกราบ ๓ ครั้ง)
                                  
ลำดับต่อไปพระอุปัชฌาย์หรือพระอาจารย์จะเอาบาตรมีสายโยคคล้องตัวผู้ขอบวช แล้วบอกบาตรและจีวร ผู้บวชก็รับเป็นทอดๆไปดังนี้ 
อะยันเต ปัตโต
อะยัง สังฆาฏิ
อะยัง อุตตะราสังโค
อะยัง อันตะระวาสะโก 
(รับว่า) อามะ ภันเต
(รับว่า) อามะ ภันเต
(รับว่า) อามะ ภันเต
(รับว่า) อามะ ภันเต
จากนั้นพระอาจารย์ท่านจะบอกให้ออกไปข้างนอกว่า คัจฉะ อะมุมหิ โอกาเส ติฏฐาหิ ผู้บวชก็ถอยออกไปยืนอยู่ในที่ที่กำหนดไว้ (ส่วนใหญ่จะเป็นบริเวณทางเข้าโบสถ์) ต่อจากนี้พระอาจารย์จะสวดถามอันตรายิกธรรม ให้รับ นัตถิ ภันเต ๕ ครั้ง และต่อด้วย อามะ ภันเต อีก ๘ ครั้งดังต่อไปนี้ 
พระจะถามว่า ผู้บวชกล่าวรับว่า
กุฏฐัง
คัณโฑ นัตถิ ภันเต
กิลาโส นัตถิ ภันเต
โสโส นัตถิ ภันเต
อะปะมาโร
มะนุสโสสิ๊
ปุริโสสิ๊
ภุชิสโสสิ๊
อะนะโณสิ๊
นะสิ๊ ราชะภะโฏ
อะนุญญาโตสิ๊ มาตาปิตูหิ
ปะริปุณณะวีสะติวัสโสสิ๊
ปะริปุณณันเต ปัตตะจีวะรัง อามะ ภันเต
กินนาโมสิ
โก นามะ เต อุปัชฌาโย 
นัตถิ ภันเต
นัตถิ ภันเต
นัตถิ ภันเต
นัตถิ ภันเต
นัตถิ ภันเต
อามะ ภันเต
อามะ ภันเต
อามะ ภันเต
อามะ ภันเต
อามะ ภันเต
อามะ ภันเต
อามะ ภันเต
อามะ ภันเต
อะหัง ภันเต ...*(ชื่อพระใหม่) นามะ
อุปัชฌาโย เม ภันเต อายัสสะมา...
*หมายเหตุ ผู้บวชจะต้องทราบชื่อทางพระที่พระตั้งให้ใหม่ก่อนวันบวชและต้องจำชื่อพระอุปัชฌาย์ให้ได้ด้วย
เสร็จแล้วกลับเข้ามาข้างในที่ประชุมสงฆ์ กราบลงตรงหน้าพระอุปัชฌาย์ ๓ ครั้ง นั่งคุกเข่าประนมมือเปล่งวาจาขออุปสมบทดังนี้
สังฆัมภันเต อุปะสัมปะทัง ยาจามิ
อุลลุมปะตุ มัง ภันเต สังโฆ อะนุกัมปัง อุปาทายะ
ทุติยัมปิ ภันเต สังฆัง อุปะสัมปะทัง ยาจามิ
อุลลุมปะตุ มัง ภันเต สังโฆ อะนุกัมปัง อุปาทายะ
ตะติยัมปิ ภันเต สังฆัง อุปะสัมปะทัง ยาจามิ
อุลลุมปะตุ มัง ภันเต สังโฆ อะนุกัมปัง อุปาทายะ
ต่อมาพระอาจารย์สวดสมมติตนถามอันตรายิกธรรม ผู้บวชก็รับว่า นัตถิ ภันเต ๕ ครั้ง และ อามะ ภันเต ๘ ครั้ง บอกชื่อพระใหม่ของตัวเอง และชื่อพระอุปัชฌาย์แบบที่ผ่านมาอย่างละหนึ่งครั้ง เสร็จแล้วก็นั่งฟังพระสวดกรรมวาจาอุปสมบทไปจนจบ พอจบแล้วท่านก็จะเอาบาตรออกจากตัว ให้กราบลง ๓ ครั้ง นั่งพับเพียบฟังพระอุปัชฌาย์บอกอนุศาสน์ไปจนจบ แล้วก็กล่าวรับว่า อามะ ภันเต เสร็จพิธีก็กราบพระอุปัชฌาย์ ๓ ครั้ง ถ้ามีเครื่องไทยทานก็ให้รับไทยทานถวายพระอันดับ เวลากรวดน้ำก็ให้ตั้งใจรำลึกถึงผู้มีพระคุณอุทิศส่วนกุศลแด่ท่าน ขั้นตอนต่อไปก็นั่งฟังพระท่านอนุโมทนาต่อไปจนจบเป็นอันเสร็จพิธี
ขั้นตอนและบทที่ต้องท่องจำใช้ในพิธีบวชแบบธรรมยุต (เอสาหัง)
รับผ้าไตรอุ้มประนมมือแล้วเดินเข้าไปในที่ประชุมสงฆ์ในพิธี (สังฆนิบาต) แล้ววางผ้าไตรไว้ข้างตัวด้านซ้าย รับเครื่องสักการะถวายพระอุปัชฌาย์ กราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์ ๓ ครั้ง แล้วอุ้มผ้าไตรประนมมือยืนขึ้นเปล่งวาจาขอบรรพชาว่า
เอสาหัง ภันเต สุจิระปะรินิพพุตัมปิ
ตัง ภะคะวันตัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัญจะ ภิกขุสังฆัญจะ
ละเภยยาหัง ภันเต
ตัสสะ ภะคะวะโต ธัมมะวินะเย ปัพพัชชัง
ละเภยยัง อุปะสัมปะทัง
ทุติยัมปาหัง ภันเต สุจิระปะรินิพพุตัมปิ
ตัง ภะคะวันตัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัญจะ ภิกขุสังฆัญจะ
ละเภยยาหัง ภันเต
ตัสสะ ภะคะวะโต ธัมมะวินะเย ปัพพัชชัง
ละเภยยัง อุปะสัมปะทัง
ตะติยัมปาหัง ภันเต สุจิระปะรินิพพุตัมปิ
ตัง ภะคะวันตัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัญจะ ภิกขุสังฆัญจะ
ละเภยยาหัง ภันเต
ตัสสะ ภะคะวะโต ธัมมะวินะเย ปัพพัชชัง
*ละเภยยัง อุปะสัมปะทัง
อะหัง ภันเต ปัพพัชชัง ยาจามิ อิมานิ กาสายานิ วัตถานิ คะเหตะวา
ปัพพาเชถะ มัง ภันเต อะนุกัมปัง อุปาทายะ
ทุติยัมปิ อะหัง ภันเต ปัพพัชชัง ยาจามิ อิมานิ กาสายานิ วัตถานิ คะเหตะวา
ปัพพาเชถะ มัง ภันเต อะนุกัมปัง อุปาทายะ
ตะติยัมปิ อะหัง ภันเต ปัพพัชชัง ยาจามิ อิมานิ กาสายานิ วัตถานิ คะเหตะวา
ปัพพาเชถะ มัง ภันเต อะนุกัมปัง อุปาทายะ
*หมายเหตุ ถ้าบวชเป็นสามเณรให้ละคำว่า ละเภยยัง อุปะสัมปะทัง ออก
พระอุปัชฌาย์รับเอาผ้าไตรจากผู้บวชวางไว้ตรงหน้าตัก ให้โอวาทและบอก ตะจะปัญจะกะ กัมมัฏฐาน แล้วให้ว่าตามไปทีละบท โดยอนุโลม (ไปข้างหน้า) และปฏิโลม (ทวนกลับ) ดังนี้
เกสา โลมา นะขา ทันตา ตะโจ (อนุโลม)
ตะโจ ทันตา นะขา โลมา เกสา (ปฏิโลม)
พระอุปัชฌาย์ชักอังสะออกจากไตรมาสวมให้ผู้บวช แล้วสั่งให้ออกไปครองผ้าครบไตรจีวรตามระเบียบ ครั้นเสร็จแล้วเข้าไปหาพระอาจารย์ รับเครื่องสักการะถวายท่านแล้วกราบ ๓ ครั้ง นั่งคุกเข่าเปล่งวาจาขอสรณะและศีลดังนี้
อะหัง ภันเต สะระณะสีลัง ยาจามิ
ทุติยัมปิ อะหัง ภันเต สะระณะสีลัง ยาจามิ
ตะติยัมปิ อะหัง ภันเต สะระณะสีลัง ยาจามิ
(พระอาจารย์กล่าวคำนมัสการให้ผู้บรรพชาว่าตามดังนี้)
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (๓ จบ)
พระอุปัชฌาย์จะกล่าวว่า เอวัง วะเทหิ หรือ ยะมะหัง วะทามิ ตัง วะเทหิ
ให้รับว่า อามะ ภันเต แล้วท่านจะว่านำสรณคมน์ก็ให้ว่าตามดังนี้
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
พอจบแล้วทางพระอุปัชฌาย์จะบอกว่า ติสะระณะคะมะนัง นิฏฐิตัง ก็ให้รับว่า อามะ ภันเต ต่อจากนั้นก็สมาทานสิกขาบท ๑๐ ประการโดยว่าตามท่านไปเรื่อยๆ ดังนี้
ปาณาติปาตา เวรมณี
อทินนาทานา เวรมณี
อะพรหมจริยา เวรมณี
มุสาวาทา เวรมณี
สุราเมรยะมัชชะปมาทัฏฐานา เวรมณี
วิกาละโภชนา เวรมณี
นัจจะคีตะวาทิตะวิสูกะทัสสนา เวรมณี
มาลาคันธะวิเลปะนะธารณะมัณฑนะวิภูสะนัฏฐานา เวรมณี
อุจจาสะยะนะมะหาสะยะนา เวรมณี
ชาตะรูปะ ระชะตะ ปฏิคคหณา เวรมณี
(และกล่าว ๓ ครั้งว่า)
อิมานิ ทะสะ สิกขาปะทานิ สมาทิยามิ (เสร็จแล้วรับบาตรอุ้มเข้าไปหาพระอุปัชฌาย์ในที่ประชุมสงฆ์ วางไว้ข้างตัวด้านซ้าย รับเครื่องสักการะถวายท่านแล้วกราบ ๓ ครั้ง นั่งคุกเข่าประนมมือกล่าวดังนี้)
อะหัง ภันเต นิสสะยัง ยาจามิ
ทุติยัมปิ อะหัง ภันเต นิสสะยัง ยาจามิ
ตะติยัมปิ อะหัง ภันเต นิสสะยัง ยาจามิ
อุปัชฌาโย เม ภันเต โหหิ (ตรงนี้ว่า ๓ ครั้ง)
พระอุปัชฌาย์จะกล่าวว่า โอปายิกัง ปะฏิรูปัง ปาสาทิเกนะ สัมปาเทหิ ให้รับว่า สาธุ ภันเต ทุกครั้งไป
อัชชะตัคเคทานิ เถโร มัยหัง ภาโร อะหัมปิ เถรัสสะ ภาโร (กล่าวตรงนี้ ๓ ครั้ง เสร็จแล้วกราบลง ๓ ครั้ง)
พระอาจาย์จะเอาสายคล้องตัวผู้บวช บอกบาตรและจีวรก็ให้ผู้บวชรับว่า อามะ ภันเต ๔ ครั้งดังนี้
อะยันเต ปัตโต (รับว่า) อามะ ภันเต
อะยัง สังฆาฏิ (รับว่า) อามะ ภันเต
อะยัง อุตตะราสังโค (รับว่า) อามะ ภันเต
อะยัง อันตะระวาสะโก (รับว่า) อามะ ภันเต
จากนั้นพระอาจารย์ท่านจะบอกให้ออกไปข้างนอกว่า คัจฉะ อะมุมหิ โอกาเส ติฏฐาหิ ผู้บวชก็ถอยออกไปยืนอยู่ในที่ที่กำหนดไว้ (ส่วนใหญ่จะเป็นบริเวณทางเข้าโบสถ์) ต่อจากนี้พระอาจารย์จะสวดถามอันตรายิกธรรม ให้รับ นัตถิ ภันเต ๕ ครั้ง และต่อด้วย อามะ ภันเต อีก ๘ ครั้งดังต่อไปนี้ 
พระจะถามว่า ผู้บวชกล่าวรับว่า
กุฏฐัง
คัณโฑ นัตถิ ภันเต
กิลาโส นัตถิ ภันเต
โสโส นัตถิ ภันเต
อะปะมาโร
มะนุสโสสิ๊
ปุริโสสิ๊
ภุชิสโสสิ๊
อะนะโณสิ๊
นะสิ๊ ราชะภะโฏ
อะนุญญาโตสิ๊ มาตาปิตูหิ
ปะริปุณณะวีสะติวัสโสสิ๊
ปะริปุณณันเต ปัตตะจีวะรัง อามะ ภันเต
กินนาโมสิ
โก นามะ เต อุปัชฌาโย 
นัตถิ ภันเต
นัตถิ ภันเต
นัตถิ ภันเต
นัตถิ ภันเต
นัตถิ ภันเต
อามะ ภันเต
อามะ ภันเต
อามะ ภันเต
อามะ ภันเต
อามะ ภันเต
อามะ ภันเต
อามะ ภันเต
อามะ ภันเต
อะหัง ภันเต ...*(ชื่อพระใหม่) นามะ
อุปัชฌาโย เม ภันเต อายัสสะมา...
*(ชื่อพระอุปัชฌาย์) นามะ
*หมายเหตุ ผู้บวชจะต้องทราบชื่อทางพระที่พระตั้งให้ใหม่ก่อนวันบวชและต้องจำชื่อพระอุปัชฌาย์ให้ได้ด้วย
เสร็จแล้วกลับเข้ามาข้างในที่ประชุมสงฆ์ กราบลงตรงหน้าพระอุปัชฌาย์ ๓ ครั้ง นั่งคุกเข่าประนมมือเปล่งวาจาขออุปสมบทดังนี้
สังฆัมภันเต อุปะสัมปะทัง ยาจามิ
อุลลุมปะตุ มัง ภันเต สังโฆ อะนุกัมปัง อุปาทายะ
ทุติยัมปิ ภันเต สังฆัง อุปะสัมปะทัง ยาจามิ
อุลลุมปะตุ มัง ภันเต สังโฆ อะนุกัมปัง อุปาทายะ
ตะติยัมปิ ภันเต สังฆัง อุปะสัมปะทัง ยาจามิ
อุลลุมปะตุ มัง ภันเต สังโฆ อะนุกัมปัง อุปาทายะ
ถ้ากล่าวพร้อมกันให้เปลี่ยนคำว่า ยาจามิ เป็น ยาจามะ และเปลี่ยน มัง เป็น โน
ต่อมาพระอาจารย์สวดสมมติตนถามอันตรายิกธรรม ผู้บวชก็รับว่า นัตถิ ภันเต ๕ ครั้ง และ อามะ ภันเต ๘ ครั้ง บอกชื่อพระใหม่ของตัวเอง และชื่อพระอุปัชฌาย์แบบที่ผ่านมาอย่างละหนึ่งครั้ง เสร็จแล้วก็นั่งฟังพระสวดกรรมวาจาอุปสมบทไปจนจบ พอจบแล้วท่านก็จะเอาบาตรออกจากตัว ให้กราบลง ๓ ครั้ง นั่งพับเพียบฟังพระอุปัชฌาย์บอกอนุศาสน์ไปจนจบ แล้วก็กล่าวรับว่า อามะ ภันเต เสร็จพิธีก็กราบ ๓ ครั้ง ถ้ามีเครื่องไทยทานก็ให้รับไทยทานถวายพระอันดับ เวลากรวดน้ำก็ให้ตั้งใจรำลึกถึงผู้มีพระคุณอุทิศส่วนกุศลแด่ท่าน ขั้นตอนต่อไปก็นั่งฟังพระท่านอนุโมทนาต่อไปจนจบเป็นอันเสร็จพิธี

บทบัญญัติข้อห้ามและศีลของสมณเพศ

วันศุกร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

พิธีทำบุญวันอาสาฬบูชา

วันอาสาฬหบูชา 


       วันอาสาฬหบูชา ตรงกับ วันเพ็ญ เดือน ๘ ก่อนปุริมพรรษา (ปุริมพรรษาเริ่ม ตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ในปีที่ไม่มีอธิกมาสเป็นต้นไป ถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑) ๑ วัน เป็นวันคล้ายวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา คือ เทศน์กัณฑ์แรก ชื่อว่าธัมมจักกัปปวัตตนสูตร โปรดพระปัญจวัคคีย์ ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมือง พาราณสี ในปีแรกที่ทรงตรัสรู้และเพราะผลของพระธรรมเทศนากัณฑ์นี้เป็นเหตุให้ท่าน พระโกณฑัญญะในจำนวนพระปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ได้ธรรมจักษุ (โสดาปัตติมรรค หรือ โสดาปัตติมรรคญาณ คือญาณที่ทำให้สำเร็จเป็นโสดาบัน) ดวงตาเห็นธรรม คือ ปัญญา รู้เห็นความจริงว่า สิ่งใดก็ตามมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงล้วนมีความดับไป เป็นธรรมดา แล้วขอบรรพชาอุปสมบทต่อพระองค์ เป็นพระอริยสงฆ์องค์แรกของ พระพุทธศาสนา และทำให้พระรัตนตรัยครบองค์ ๓ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ 

       ในเมื่อวันนี้ของทุก ๆ ปี เวียนมาถึงพุทธศาสนิกชน จึงนิยมทำการบูชาเป็นพิเศษ และ พุทธศาสนิกชนในที่บางแห่ง ยังตั้งชื่อวันอาสาฬหบูชานี้ว่า "วันพระสงฆ์" ก็มี อาสาฬหะ คือ เดือน ๘ อาสาฬหบูชา คือ การบูชาพระในวันเพ็ญเดือน ๘ ความสำคัญ ของวันเพ็ญเดือน ๘ นี้ มีอยู่อย่างไร จะได้นำพุทธประวัติตอนหนึ่งมาเล่าต่อไปนี้ นับแต่วันที่สมเด็จพระพุทธองค์ได้ตรัสรู้ คือ ในวันเพ็ญเดือน ๖ พระองค์ประทับเสวยวิ มุตติสุขในบริเวณโพธิมัณฑ์นั้น ตลอด ๗ สัปดาห์ คือ


- สัปดาห์ที่ ๑ คงประทับอยู่ที่ควงไม้อสัตถะอันเป็นไม้มหาโพธิ์ เพราะเป็นที่ตรัสรู้ ทรงใช้ เวลาพิจรณาปฏิจจสมุปปาทธรรมทบทวนอยู่ตลอด ๗ วัน

- สัปดาห์ที่ ๒ เสด็จไปทางทิศอีสานของต้นโพธิ์ ประทับยืนกลางแจ้งเพ่งดูไม้มหาโพธิ์โดย ไม่กระพริบพระเนตรอยู่ในที่แห่งเดียวจนตลอด ๗ วัน ที่ที่ประทับยืนนั้นปรากฎเรียกในภายหลังว่า "อนิสิมสสเจดีย์"

- สัปดาห์ที่ ๓ เสด็จไปประทับอยู่ในที่กึ่งกลางระหว่างอนิมิสสเจดีย์ กับต้นมหาโพธิ์แล้วทรง จงกรมอยู่ ณ ที่ตรงนั้นตลอด ๗ วัน ซึ่งต่อมาเรียกที่ตรงนั้นว่า "จงกรมเจดีย์"

- สัปดาห์ที่ ๔ เสด็จไปทางทิศพายัพของต้นมหาโพธิ์ ประทับนั่งขัดบัลลังก์พิจารณาพระอภิ ธรรมอยู่ตลอด ๗ วัน ที่ประทับขัดสมาธิเพชร ต่อมาเรียกว่า"รัตนฆรเจดีย์"

- สัปดาห์ที่ ๕ เสด็จไปทางทิศบูรพาของต้นมหาโพธิ์ประทับที่ควงไม้ไทรชื่ออชาปาลนิโครธ อยู่ ตลอด ๗ วัน ในระหว่างนั้น ทรงแก้ปัญหาของพราหมณ์ผู้หนึ่งซึ่งทูลถามในเรื่องความเป็นพราหมณ์

- สัปดาห์ที่ ๖ เสด็จไปทางทิศอาคเนย์ของต้นมหาโพธิ์ ประทับที่ควงไม้จิกเสวยวิมุตติสุขอยู่ ตลอด ๗ วัน ฝนตกพรำตลอดเวลา พญานาคมาวงขดล้อมพระองค์และแผ่พังพานบังฝนให้พระองค์ทรงเปล่งพระอุทานสรรเสริญความสงัดและความไม่เบียดเบียนกันว่าเป็นสุบในโลก

- สัปดาห์ที่ ๗ เสด็จย้ายสถานที่ไปทางทิศใต้ของต้นมหาโพธิ์ ประทับที่ควงไม้เกดเสวยวิมุตติ สุขตลอด ๗ วัน มีพาณิช ๒ คน ชื่อ ตปุสสะ กับ ภัลลิกะเดินทางจากอุกกลชนบทมาถึงที่นั้น ได้เห็นพระพุทธองค์ประทับอยู่ จึงนำข้าวสัตตุผงข้าวสัตตุก้อน ซึ่งเป็นเสบียงกรังของตนเข้าไปถวายพระองค์ทรงรับเสวยเสร็จแล้ว สองพาณิชก็ประกาศตนเป็นอุบาสก นับเป็นอุบาสกคู่แรกในประวัติกาลทรงพิจารณาสัตว์โลกเมื่อล่วงสัปดาห์ที่ ๗ แล้ว พระองค์เสด็จกลับมาประทับที่ควงไม้ไทรชื่ออชาปาลนิโครธอีก ทรงคำนึงว่า ธรรมที่พระองค์ตรัสรู้นี้ ลึกซึ้งมาก ยากที่สัตว์อื่นจะรู้ตาม จีงท้อพระทัยที่สอนสัตว์ แต่อาศัยพระกรุณาเป็นที่ตั้ง ทรงเล็งเห็นว่าโลกนี้ผู้ที่พอจะรู้ตามได้ก็คงมี ตอนนี้แสดงถึงบุคคล ๔ เหล่า เปรียบกับดอกบัว ๔ ประเภท คือ

๑. อุคฆติตัญญู ได้แก่ ผู้ที่มีอุปนิสัยสามารถรู้ธรรมวิเศษได้ทันทีทันใดในขณะที่มีผู้สอนสั่ง สอนเปรียบเทียบ เหมือนดอกบัวที่โผล่ขึ้นพ้นน้ำแล้ว พร้อมที่จะบานในเมื่อได้รับแสงพระอาทิตย์ในวันนั้น

๒. วิปัจจิตัญญู ได้แก่ ผู้ที่สามารถจะรู้ธรรมวิเศษได้ ต่อเมื่อท่านขยายความย่อให้พิสดารออกไปเปรียบเหมือนดอกบัวที่ตั้งอยู่เสมอระดับน้ำ จักบานในวันรุ่งขี้น

๓. เนยยะ ได้แก่ ผู้ที่พากเพียรพยายาม ฟัง คิด ถาม ท่องอยู่เสมอไม่ทอดทิ้ง จึงได้รู้ธรรม วิเศษ เปรียบเหมือนดอกบัวที่ยังไม่โผล่ขึ้นจากน้ำ ได้รับการหล่อเลี้ยงจากน้ำ แต่จะโผล่แล้วบานขี้นในวันต่อๆ ไป

๔. ปทปรมะ ได้แก่ ผู้ที่แม้ฟัง คิด ถาม ท่อง แล้วก็ไม่สามารถรู้ธรรมวิเศษได้ เปรียบเหมือน ดอกบัวที่อยู่ใต้น้ำติดกับเปือกตม รังแต่จะเป็นภักษาหารแห่งปลาและเต่า เมื่อเล็งเห็นเหตุนี้ จึงตกลงพระทัยจะสอน ทรงนึกถึงผู้ที่ควรโปรดก่อนคือ อาฬารดาบส กับ อุทกดาบส ท่านเหล่านี้ก็หาบุญไม่เสียแล้ว จะมีอยู่ก็แต่ปัญจวัคคีย์ จีงทรงตัดสินพระทัยว่า ควรโปรดปัญจวัคคีย์ก่อน แล้วก็เสด็จออกเดินไปจากควงไม้ไทรนั้น มุ่งพระพักตร์เสด็จไปยังป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี การที่เสด็จเดินทางจากตำบลพระศรีมหาโพธิ์ จนกระทั่งถึงกรุงพาราณสีเช่นนี้ แสดงให้เห็น เพระวิริยอุตสาหะอันแรงกล้าเป็นการตั้งพระทัยแน่วแน่ที่จะประทานปฐมเทศนาแก่ปัญจวัคคีย์เป็นพวกแรกอย่างแทัจริง หนทางระหว่างตำบลพระศรีมหาโพธิ์ถึงพาราณสีนั้น ในปัจจุบัน ถ้าไปทางรถไฟก็เป็นเวลา ๗-๘ชั่วโมง การเสด็จดำเนินด้วยพระบาทเปล่า อาจใช้เวลาตั้งหลายวัน แต่ปรากฏว่าพอตอนเย็นขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนอาสาฬหะนั้นเอง

พระพุทธองค์ก็เสด็จถึงป่าอิสิปตนมฤคทายวันแขวงเมืองพาราณสีอันเป็นที่อยู่แห่งปัจจวัคคีย์พอเสด็จ เข้าราวป่าพวกปัญจจวัคคีย์นั้นได้เห็นจึงนัดหมายกันว่า จะไม่ไหว้ ไม่ลุกรับ และไม่รับบาตรจีวรจะตั้งไว้ให้เพียงอาสนะเท่านั้น เพราะเข้าใจว่าพระองค์ กลายเป็นคนมีความมักมากหมดความเพียรเสียแล้ว พอพระองค์เสด็จถึง ต่างก็พูดกับพระองค์โดยไม่เคารพพระองค์ตรัสห้ามและทรงบอกว่าพระองค์ตรัสรู้แล้วจะแสดงธรรมสั่งสอนให้ฟังพราหมณ์ทั้ง ๕ ก็พากันคัดค้านลำเลิกด้วยถ้อยคำต่างๆ ที่สุดพระองค์จึงทรงแจงเตือนให้รำลึกว่า พระองค์เคยกล่าวเช่นนี้มาในหนหลังบ้างหรือ ? พราหมณ์ทั้ง๕ ระลึกได้ ต่างก็สงบตั้งใจฟังธรรมทันที
ค่ำวันนั้น พระองค์ประทับแรมอยู่กับพราหมณ์ทั้ง ๕ รุ่งขี้นวันเพ็ญแห่งเดือนอาสาฬหะ พระองค์ทรงเริ่มแสดงธัมมะ-จักกัปปวัตตนสูตร นับเป็นเทศนากัณฑ์แรกโปรดปัญจวัคคีย์นั้น โดยใจความคือทรงยกที่สุด ๒ ฝ่าย ได้แก่ การประกอบตนให้ลำบากด้วยการทรมานกาย และการไม่ประกอบตนให้เพลิดเพลินในกามสุข ทั้ง ๒ นี้นับว่า เป็นของเลวทราม ไม่ควรเสพเฉพาะทางสายกลางเท่านั้น เป็นข้อปฏิบัติที่สมควร แล้วทรงแสดงทางสายกลางคือ อริยมรรค ๘ ประการ ได้แก่

            ๑. สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบ
            ๒. สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ
            ๓. สัมมาวาจา เจรจาชอบ
            ๔. สัมมากัมมัตนะ ทำการงานชอบ
            ๕. สัมมอาชีวะ เลี้ยงชีพชอบ
             ๖. สัมมาวายามะ เพียรชอบ
            ๗. สัมมาสติ ระลึกชอบ
            ๘. สัมมาสมาธิ ตั้งใจชอบ


สรุปด้วยอริยสัจ ๔ ได้แก่

           ๑. ทุกข์ความไม่สบายกายไม่สบายใจ
           ๒. สมุทัยเหตุให้เกิดทุกข์
           ๓. นิโรธความดับทุกข์
           ๔. มรรค ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์

ชี้ให้เห็นโดยปริวรรตและอาการต่างๆ ว่า เมื่อรู้แล้วอาจยืนยันได้ว่า ตรัสรู้โดยชอบถึงความ หลุดพ้นและสุดชาติสุดภพแน่นอนขณะที่พระองค์ทรงแสดงธรรมนี้อยู่ท่านโกณฑัญญะได้ส่องญาณไปตามจนเกิด "ธรรมจักษุ" คือดวงตาเห็นธรรมขึ้นทางปัญญาพระองค์ทรงทราบจึงเปล่งพระอุทานว่า "อัญญสิๆ""อัญญสิๆ"(โกณฑัญญะรู้แล้วๆ)เพราะพระองค์ทรงอุทานนี้ภายหลังท่านโกณฑัญญะจึงได้นามใหม่ว่า "อัญญาโกณฑัญญะ" แต่นั้นก็ทูลขอบรรพชาพระองค์ประทานอนุญาตด้วยเอหิภิขุอุปสัมปทาน นับเป็นพระสงฆ์องค์แรกในพระศาสนาที่บวชตามพระพุทธองค์ ตามพุทธประวัติที่เล่ามานี้ จะเห็นว่า วันอาสาฬหบูชามีความสำคัญ คือ

๑. เป็นวันแรกที่พระพุทธเจ้าทรงประกาศพระศาสนา
๒.เป็นวันแรกที่พระบรมศาสดาทรงแสดงพระธัมมจักกัปปวัตตนสูตรประกาศสัจจธรรมอันเป็นองค์แห่งสัมมาสัมโพธิญาณ
๓.เป็นวันที่พระอริยสงฆ์สาวกองค์แรกบังเกิดขึ้นในโลก คือ พระอัญญาโกณฑัญญะ ได้รับประทานเอหิภิขุอุปสัมปทาในวันนั้น
๔. เป็นวันแรกที่บังเกิดพระสังฆรัตนะสมบูรณ์เป็นพระรัตนตรัย คือ พระพุทธรัตนะพระธรรมรัตนะพระสังฆรัตนะ

การถือปฏิบัติวันอาสาฬหบูชาในประเทศไทย
พิธีวันอาสาฬหบูชาเริ่มกำหนดเป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนาขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย เมื่อพุทธศักราช ๒๕๐๑ โดยพระธรรมโกศาจารย์ (ชอบ อนุจารี) ครั้งดำรงตำแหน่งสังฆมนตรีช่วยว่าการองค์การศึกษาได้เสนอคณะสังฆมนตรี ให้เพิ่มวันศาสนพิธีทำพุทธบูชาขึ้น อีกวันหนึ่ง คือ วันธรรมจักร หรือวันอาสาฬหบูชา ด้วยเป็นวันคล้ายวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมจักกัปปวัตนสูตร คณะสังฆมนตรีลงมติรับหลักการให้เพิ่มวันอาสาฬหบูชาและให้ถือเป็นหลักปฏิบัติในเวลาต่อมา โดยออกเป็นประกาศคณะสงฆ์ เรื่อง กำหนดวันสำคัญทางศาสนา เมื่อวันที่ ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๐๑ และในวันเดียวกันนั้นได้มีประกาศสำนักสังฆนายก กำหนดระเบียบปฏิบัติในพิธีอาสาฬหบูชาขึ้นไว้ให้วัดทุกวัดถือปฏิบัติทั่วกัน กล่าวคือก่อนถึงวันอาสาฬหบูชา ๑ สัปดาห์ให้เจ้าอาวาสแจ้งแก่พระภิกษุสามเณรตลอดจนศิษย์วัด คนวัดช่วยกันปัดกวาด ปูลาดอาสนะ จัดตั้งเครื่องสักการะให้ประดับธงธรรมจักรรอบพระอุโบสถตลอดวัน ทั้งเวลาเช้าและเวลาบ่ายให้มีการฟังธรรมตามปกติ เวลาค่ำให้ภิกษุสามเณร อุบาสก อุบาสิกา มาประชุมพร้อมกันที่หน้าพระอุโบสถ หรือพระเจดีย์ จุดธูปเทียนแล้วถือรวมกับดอกไม้ยืนประนมมือสำรวมจิตโดยพระสงฆ์ผู้เป็นประธานนำกล่าวคำบูชาจบแล้วทำประทักษิณ

ครั้นแล้วให้ภิกษุสามเณรเข้าไปบูชาพระรัตนตรัยทำวัตรค่ำแล้วสวดธรรมจักรกัปปวัตนสูตร จบแล้วให้อุบาสก อุบาสิกาทำวัตรค่ำต่อจากนั้น ให้พระสังฆเถระแสดงพระธรรมเทศนาธรรมจักรกัปปวัตนสูตรแล้วให้พระภิกษุสามเณรสวดธรรมจักรกัปปวัตนสูตรทำนองสรภัญญะเพื่อเจริญศรัทธาปสาทะของพุทธศาสนิกชนจบแล้วให้เป็นโอกาสของพุทธศาสนิกชนเจริญภาวนามัยกุศล มีสวดมนต์สนทนาธรรม บำเพ็ญสมถะและวิปัสสนา เป็นต้น ตามควรแก่อัธยาศัยให้ใช้เวลาทำพิธีอาสาฬหบูชาไม่เกิน เวลา ๒๔.๐๐ น. และได้มีการทำพิธีอาสาฬหบูชาอย่างกว้างขวาง นับแต่นั้นมาทางราชการได้มีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีให้มีการชักธงชาติ ถวายเป็นพุทธบูชาในวันนี้ด้วย


เมื่อวันอาสาฬหบูชาซึ่งตรงในวันเดียวกันได้เวียนมาบรรจบอีกครั้งหนึ่งในรอบปี คือ เวียนมาบรรจบในวันเพ็ญอาสาฬหบูชาเดือน ๘ ของไทยเรา ชาวพุทธทั่วโลกจึงประกอบพิธีสักการบูชา การประกอบพิธีในวันอาสาฬหบูชาแบ่งออกเป็น 3 พิธีคือ
          ๑.พิธีหลวง (พระราชพิธี)
          ๒. พิธีราษฎร์ (พิธีของประชาชนทั่วไป)
          ๓. พิธีของพระสงฆ์ (คือพิธีที่พระสงฆ์ประกอบศาสนกิจเนื่องในวันสำคัญวันนี้)

การประกอบพิธีและบทสวดมนต์ในวันอาสาฬหบูชาก็ปฏิบัติเช่นเดียวกับการประกอบพิธีในวันวิสาขบูชา 

พิธีทำบุญวันวิสาขบูชา

วันวิสาขบูชา



       วันวิสาขบูชา เป็นวันที่สมเด็จพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน ซึ่งเกิดขึ้นในวันและเดือนเดียวกัน คือ ในวันเพ็ญ(ขึ้น ๑๕ ค่ำ) เดือนหก หรือเดือนเวสาขะ พระจันทร์เสวยวิสาขฤกษ์ เหตุการณ์ดังกล่าวนี้ได้เกิดขึ้นเมื่อกว่าสองพันห้าร้อยปีมาแล้ว ในห้วงระยะเวลาที่ต่างกันคือ
                                       
        ครั้งแรก เมื่อพระพุทธเจ้าประสูติเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ โอรสพระเจ้าสุทโธธนะ และ พระนาง สิริมหามายา แห่งกรุงกบิลพัสดุ์ โดยประสูติที่ป่าลุมพินีวัน ณ เขตแดนรอยต่อระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์ของฝ่ายพระราชบิดา กับกรุงเทวทหะของฝ่ายพระราชมารดา
                                       
        ครั้งที่สอง เกิดเมื่อเจ้าชายสิทธัตถะ ออกทรงผนวชได้ ๖ ปี พระชนมายุ ๓๕ พรรษา ได้ตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ เป็นอรหันตพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ณ ริ่มฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ประเทศมคธ ปัจจุบันคือที่ตั้งพุทธคยา
                                      
        ครั้งที่สาม เกิดเมื่อพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จดับขันธปรินิพพาน เมื่อ
พระชนมายุ ๘๐ พรรษา ณ เมืองกุสินารา

        เหตุการณ์สำคัญทั้งสามประการนี้ เกิดขึ้นในวันและเดือนเดียวกัน ทางจันทรคติ ซึ่งนับวันขึ้นแรม ตามวิถีการโคจรของดวงจันทร์ เป็นหลักในการกำหนดวัน เดือน และปีซึ่งยังคงใช้กันมาอยู่จนถึงทุกวันนี้ ควบคู่กันไปกับการกำหนดวัน เดือน และปีทางสุริยคติ ซึ่งเป็นไปตามวิถีการโคจรของดวงอาทิตย์ นับเป็นเรื่องอัศจรรย์ ซึ่งยังไม่เคยมีการประจวบกันเช่นนี้แก่ผู้หนึ่งผู้ใด และเหตุการณ์หนึ่งเหตุการณ์ใดมาก่อนจนตราบเท่าปัจจุบันแต่ความอัศจรรย์ดังกล่าว ก็ยังไม่เทียบเท่ากับการอุบัติของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าขึ้นมาในโลก และได้ทรงประดิษฐานพระพุทธศาสนาเพื่ออนุเคราะห์โลกให้เกิดประโยชน์สุขแก่มนุษยชาติและสัตว์โลกทั้งมวล
วันวิสาขบูชาจึงนับว่าเป็นวันสำคัญสูงสุดในพระพุทธศาสนา เป็นวันที่ก่อให้เกิดพระพุทธเจ้า ผู้ตรัสรู้พระธรรมและนำมาสั่งสอนแก่สรรพสัตว์ และพระสงฆ์สาวกผู้สืบพระศาสนาต่อมาจนถึงปัจจุบัน


ในวันนี้พุทธศาสนิกชนต่างพากันน้อมระลึกถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ ด้วยการไปชุมนุมตามพระอารามต่าง ๆ เพื่อกระทำการบูชาปูชนียวัตถุอันได้แก่ พระธาตุเจดีย์หรือพระพุทธปฏิมา ที่เป็นพระประธานในพระอุโบสถอย่างใดอย่างหนึ่ง ด้วยเครื่องบูชามีดอกไม้ ธูปเทียน เป็นต้น เริ่มด้วยการสรรเสริญคุณพระรัตนตรัย ด้วยบทสวดมนตร์ตามลำดับดังนี้คือ
บทสรรเสริญ พระพุทธคุณ ด้วยบท " อิติปิโสภควา อรหังสัมมาสัมพุทโธ...พุทโธภควาติ "
บทสรรเสริญ พระธรรมคุณ ด้วยบท " สวากขาโต ภควตาธัมโม...วิญญูหิติ "
บทสรรเสริญ พระสังฆคุณ ด้วยบท " สุปฏิปันโน ภควโตสาวกสังโฆ...โลกัสสาติ "
จากนั้นก็จะกระทำ ประทักษิณ หรือที่เรียกว่า เวียนเทียน รอบพระธาตุเจดีย์ หรือพระพุทธปฎิมาในพระอุโบสถ ด้วยการเดินเวียนขวาสามรอบ รอบแรกจะสวดบทสรรเสริญพระพุทธคุณ รอบที่สองจะสวดบทสรรเสริญพระธรรมคุณ และรอบที่สามสวดบทสรรเสริญพระสังฆคุณ เมื่อครบ ๓ รอบแล้วจึงนำดอกไม้ ธูป เทียน ไปบูชาพระธาตุเจดีย์ หรือพระพุทธรูปในพระอุโบสถ ณ ที่บูชาอันควรเป็นอันเสร็จพิธีเวียนเทียนจากนั้นก็จะมีการแสดงพระธรรมเทศนาในพระอุโบสถ ซึ่งปกติจะมีเทศน์ ปฐมสมโพธิ ซึ่งเป็นเรื่องพระพุทธประวัติตั้งแต่ประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน พิธีเริ่มตั้งแต่ประชุมฟังพระทำวัตรสวดมนต์ แล้วจึงฟังเทศน์ซึ่งจะมีไปตลอดรุ่ง วันวิสาขบูชาจึงเป็นวันที่พุทธศาสนิกชน ได้บำเพ็ญประโยชน์ตน และสืบต่อพระพุทธศาสนา ให้ดำรงคงอยู่อย่างถูกต้องตรงทาง เพื่อประโยชน์สุขของตนและของผู้อื่นตลอดชั่วกาลนาน



ที่เราเรียกว่าวันวิสาขบูชานั้น เพราะเป็นวันตรงกับวันเพ็ญ (วันกลางเดือนพระจันทร์เต็มดวง) เดือนวิสาขบูชาซึ่งตรงกับเดือน ๖ ของไทย วันกลางเดือน ๖ เป็นวันที่พระจันทร์เสวยวิสาขฤกษ์ ถ้าเป็นปีที่มีอธิกมาส คือมีเดือน ๘ สองหน ก็เลื่อนไปเป็นวันเพ็ญ (วันกลางเดือน) เดือน ๗

วันวิสาขบูชาเป็นวันที่พุทธศาสนิกชนทั้งหลายถือเอาความอัศจรรย์ ๓ ประการที่เกิดขึ้นในวาระเดียวกัน แต่ละประการได้เกิดขึ้นในโอกาสต่างกัน เป็นหลักการใหญ่เมื่อวันเช่นนี้เวียนมาถึงรอบปี พุทธศาสนิกชนจึงประกอบพิธีสักการะบูชาเป็นการยิ่งใหญ่ ความอัศจรรย์ทั้ง ๓ ประการที่เกิดในวันวิสาขบูชา ได้แก่



๑. เป็นวันที่พระพุทธเจ้าประสูติ พระพุทธเจ้าพระมหาบุรุษของโลก ทรงเป็นเอกอัครบุรุษประสูติมาในโลกเพื่อบำเพ็ญประโยชน์สุขและเกื้อกูลแก่ปวงชนเป็นจำนวนมาก พระพุทธเจ้าประสูติมาเป็นแสงสว่างเป็นดวงประทีปของโลก ในทางเผยแผ่สัจธรรมเพื่อความสงบร่มเย็นของชาวโลก พระพุทธเจ้าประสูติขึ้นมาเพื่ออนุเคราะห์ชาวโลกเพื่อบำเพ็ญประโยชน์เกื้อกูลและความสุขสงบของเทวดาและมนุษย์ทั่วไป อันมีประวัติว่า

เมื่อพระนางสิริมหามายา พระมเหสีของพระเจ้าสุทโธทนะ แห่งกรุงกบิลพัสดุ์ ทรงพระครรภ์แก่จวนจะประสูติ พระนางได้รับพระบรมราชานุญาต จากพระสวามี ให้แปรพระราชฐานไปประทับ ณ กรุงเทวทหะ ซึ่งเป็นพระนครเดิมของพระนาง เพื่อประสูติในตระกูลของพระนางตามประเพณีนิยมในสมัยนั้น ขณะเสด็จแวะพักผ่อนพระอิริยาบถใต้ต้นสาละ ณ สวนลุมพินีวัน พระนางก็ได้ประสูติพระโอรส ณ ใต้ต้นสาละนั้น ซึ่งตรงกับวันเพ็ญเดือน ๖ ก่อนพุทธศักราช ๘๐ ปี ครั้นพระกุมารประสูติได้ ๕ วันก็ได้รับการถวายพระนามว่า "สิทธัตถะ"

๒. เป็นวันที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้อนุตตรสัมโพธิญาณ การตรัสอริยสัจสี่ คือของจริงอันประเสริฐ ๔ ประการของพระพุทธเจ้าเป็นการตรัสรู้อันยอดเยี่ยม ไม่มีผู้เสมอเหมือน วันตรัสของพระพุทธเจ้าจึงจัดเป็นวันสำคัญ เพราะเป็นวันที่ให้เกิดมีพระพุทธเจ้าขึ้นในโลกชาวพุทธทั่วไป จึงเรียกวันวิสาขบูชาว่า วันพระพุทธ (เจ้า) อันมีประวัติว่าพระมหาบุรุษทรงบำเพ็ญเพียรต่อไป ที่ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์นั้น ทรงเริ่มบำเพ็ญสมาธิให้เกิดในพระทัย เรียกว่าการเข้า "ฌาน" เพื่อให้บรรลุ "ญาณ" จนเวลาผ่านไปจนถึง ...
ยามต้น : ทรงบรรลุ "ปุพเพนิวาสานุติญาณ " คือทรงระลึกชาติในอดีตทั้งของตนเองและผู้อื่น
ยามสอง : ทรงบรรลุ "จุตูปปาตญาณ " คือการรู้แจ้งการเกิดและดับของสรรพสัตว์ทั้งหลาย
ยามสาม : ทรงบรรลุ "อาสวักขญาณ" คือรู้วิธีกำจัดกิเลสด้วย อริยสัจ ๔ ( ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค )ได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในคืนวันเพ็ญเดือน ๖ ซึ่งขณะนั้นพระพุทธองค์มีพระชนมายุได้ ๓๕ พรรษา

๓. วันที่พระพุทธเจ้าเสด็จเข้าสู่ปรินิพพาน (ดับสังขารไม่กลับมาเกิดสร้างชาติ สร้างภพอีกต่อไป) การปรินิพพานของพระพุทธเจ้า ก็ถือเป็นวันสำคัญของชาวพุทธทั่วโลกเพราะชาวพุทธทั่วโลกได้สูญเสียดวงประทีปของโลก เป็นการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่และครั้งสำคัญชาวพุทธทั่วไปมีความเศร้าสลดเสียใจและอาลัยสุดจะพรรณนา อันมีประวัติว่าเมื่อพระพุทธองค์ได้ตรัสรู้และแสดงธรรมมาเป็นเวลานานถึง ๔๕ ปี ซึ่งมีพระชนมายุได้ ๘๐ พรรษา ได้ประทับจำพรรษา ณ เวฬุคาม ใกล้เมืองเวสาลี แคว้นวัชชี ในระหว่างนั้นทรประชวรอย่างหนัก ครั้นเมื่อถึงวันเพ็ญเดือน ๖ พระพุทธองค์กับพระภิกษุสงฆ์ทั้งหลาย ก็ไปรับภัตตาหารบิณฑบาตที่บ้านนายจุนทะ ตามคำกราบทูลนิมนต์ พระองค์เสวยสุกรมัททวะที่นายจุนทะตั้งใจทำถวาย ก็เกิดอาพาธลง แต่ทรงอดกลั้นมุ่งเสด็จไปยังเมืองกุสินารา ประทับ ณ ป่าสาละ เพื่อเสด็จดับขันธุ์ปรินิพพาน ในราตรีนั้น ได้มีปริพาชกผู้หนึ่ง ชื่อสุภัททะขอเข้าเฝ้า และได้อุปสมบทเป็นพระพุทธสาวกองค์สุดท้าย เมื่อถึงยามสุดท้ายของคืนนั้น พระพุทธองค์ก็ทรงประทานปัจฉิมโอวาทว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลายอันว่าสังขารทั้งหลายย่อมมีความเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจงยังกิจทั้งปวงอันเป็นประโยชน์ของตนและประโยชน์ของผู้อื่นให้บริบูรณ์ด้วยความไม่ประมาทเถิด " หลังจากนั้นก็เสด็จเข้าดับขันธุ์ปรินิพพาน ในราตรีเพ็ญเดือน ๖ นั้น

พุทธกิจ ๕ ประการ 
1. ตอนเช้า เสด็จออกบิณฑบาตโปรดสัตว์ คือเสด็จไปโปรดจริงเพราะทรงพิจารณาเห็นตอนจวนสว่างแล้ว่าวันนี้มีใครบ้างที่ควรไปโปรดทรงสนทนา
หรือแสดงธรรมให้ละความเห็นผิดบ้าง ทรงส่งเสริมผู้ปฏิบัติชอบอยู่แล้วให้ปฏิเสธชอบบ้าง เป็นต้น
๒. ตอนบ่าย ทรงแสดงธรรมเทศนาแก่ประชาชนที่มาเฝ้า ณ ที่ประทับ ซึ่งปรากฏว่าไม่วาพระองค์จะประทับอยู่ที่ใด ประชาชนทุกหมู่ทุกเหล่าตลอดถึง
ผู้ปกครอง นครแคว้นจะชวนกันมาเฝ้าเพื่อสดับตับพระธรรมเทศนาทุกวันมิได้ขาด
๓. ตอนเย็น ทรงเเสดงโอวาทแก่ภิกษุสงฆ์ทั้งมวลที่อยู่ประจำ ณสถานที่นั้นบางวันก็มีภิกษุจากที่อื่นมาสมทบด้วยเป็นจำนวนมาก
๔. ตอนเที่ยงคืน ทรงแก้ปัญหาหรือตอบปัญหาเทวดา หมายถึง เทพพวกต่าง ๆ หรือกษัตริย์ซึ่งเป็นสมมติเทพผู้สงสัยในปัญหาและปัญหาธรรม
๕. ตอนเช้ามืด จนสว่างทรงพิจารณาสัตว์โลกที่มีอุปนิสัยที่พระองค์จะเสด็จไปโปรดได้แล้วเสด็จไปโปรดโดยการไปบิณฑบาตดังกล่าวแล้วในข้อ ๑โดยนัยดังกล่าวมานี้พระพุทธองค์ทรงมีเวลาว่าอยู่เพียงเล็กน้อยตอนเช้าหลังเสวยอาหารเช้าแล้วแต่ก็เป็นเวลาที่ต้องทรงต้อนรับอาคันตุกะ ผู้มาเยือนอยู่เนือง ๆ เสวยน้อย บรรทมน้อย แต่ทรงบำเพ็ญพุทธกิจมาก ตลอดเวลา ๔๕ พรรษานั้นเองประชาชนชาวโลกระลึกถึงพระคุณของพระองค์ดังกล่าวมาโดยย่อนี้ จึงถือเอาวันประสูติตรัสรู้และปรินิพพานของพระองค์เป็นวันสำคัญ จัดพิธีวิสาขบูชาขึ้นในทุกประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนา


ธรรมเนียมการปฏิบัติในวันวิสาขบูชา 
เมื่อวันวิสาขบูชาเวียนมาถึงในรอบปี พุทธศาสนาชนไม่ว่าจะเป็นบรรพชิต (พระสงฆ์ สามเณร) หรือ ฆราวาส (ผู้ครองเรือน) ทั่วไป จะร่วมกันประกอบพิธีเป็นการพิเศษทำการสักการบูชาเพื่อน้อมรำลึกถึงพระกรุณา พระปัญญาคุณ และพระวิสุทธิคุณ ของพระพุทธเจ้าผู้เป็นดวงประทีปโลก เมื่อวันวิสาขบูชา ซึ่งตรงในวันเดียวกันได้เวียนมาบรรจบอีกครั้งหนึ่งในรอบปี คือ เวียนมาบรรจบในวันเพ็ญวิสาขบูชา กลางเดือน 6 ประมาณเดือนพฤษภาคม หรือมิถุนายนของไทยเรา ชาวพุทธทั่วโลกจึงประกอบพิธีสักการบูชา การประกอบพิธีในวันวิสาขบูชา แบ่งออกเป็น ๓ พิธี คือ
            ๑.พิธีหลวง (พระราชพิธี)
            ๒. พิธีราษฎร์ (พิธีของประชาชนทั่วไป)
            ๓. พิธีของพระสงฆ์ (คือพิธีที่พระสงฆ์ประกอบศาสนกิจเนื่องในวันสำคัญวันนี้)

การประกอบพิธีและบทสวดมนต์ในวันวิสาขบูชา ก็ปฏิบัติเช่นเดียวกับการประกอบพิธีในวันมาฆบูชา 

พิธีทำบุญวันมาฆบูชา

วันมาฆบูชา 


ความหมาย
วันมาฆบูชาหมายถึง การบูชา ในวันเพ็ญเดือน ๓ เนื่องในโอกาสคล้าย วันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์

ความสำคัญ
วันมาฆบูชา เป็นวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ มีเหตุการณ์อัศจรรย์ที่ พระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้าจำนวน ๑,๒๕๐ รูปมาเฝ้าพระพุทธเจ้า ณ วัดเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ โดยมิได้นัดหมายกันพระสงฆ์ ทั้งหมดเป็นพระอรหันต์ ผู้ได้อภิญญา ๖และเป็นผู้ที่ได้รับการอุปสมบท โดยตรงจากพระพุทธเจ้า ในวันนี้พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ ในที่ประชุมสงฆ์เหล่านั้น ซึ่งเป็นทั้งหลักการอุดมการณ์และวิธีการปฏิบัติที่ นำไปใช้ได้ทุกสังคม มีเนื้อหา โดยสรุปคือให้ละความชั่วทุกชนิด ทำความดี ให้ถึงพร้อมและทำจิตใจให้ผ่องใส

ประวัติความเป็นมา
๑. ส่วนที่เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า
หลังจากพระพุทธเจ้าตรัสรู้ได้ ๙ เดือนขณะนั้นเมื่อเสร็จพุทธกิจแสดงธรรมที่ถ้ำสุกรขาตาแล้ว เสด็จมาประทับที่วัดเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ ประเทศอินเดียในปัจจุบัน วันนั้นตรงกับวันเพ็ญ เดือนมาฆะหรือเดือน ๓ในเวลาบ่ายพระอรหันต์สาวกของพระพุทธเจ้า มาประชุม พร้อมกัน ณ ที่ประทับของพระพุทธเจ้า นับเป็นเหตุอัศจรรย์ ที่มีองค์ประกอบสำคัญ ๔ ประการ คือ
          ๑. วันนั้นเป็นวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓
          ๒. พระสงฆ์จำนวน ๑,๒๕๐ รูป มาประชุมพร้อมกันโดยมิได้ นัดหมาย
          ๓. พระสงฆ์ทั้งหมดเป็นพระอรหันต์ผู้ได้อภิญญา ๖
          ๔. พระสงฆ์ทั้งหมดเป็นผู้ได้รับการอุปสมบท โดยตรงจาก พระพุทธเจ้า
เพราะเหตุที่มีองค์ประกอบสำคัญดังกล่าว จึงมีชื่อเรียก อีกอย่างหนึ่งว่า วันจาตุรงคสันนิบาต และในโอกาสนี้พระพุทธเจ้า ได้แสดงโอวาทปาติโมกข์ ในที่ประชุมสงฆ์เหล่านั้น ซึ่งถือได้ว่าเป็นการประกาศหลักการอุดมการณ์และวิธีการปฏิบัติทางพระพุทธศาสนา

การถือปฏิบัติวันมาฆบูชาในประเทศไทย
พิธีวันมาฆบูชานี้ เดิมทีเดียวในประเทศไทยไม่เคยทำมาก่อนพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงอธิบายไว้ว่าเกิดขึ้น
ในสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยทรงถือตามแบบของโบราณบัณฑิตที่ได้นิยมกันว่า วันมาฆะบูรณมี พระจันทร์เสวยฤกษ์มาฆะเต็มบริบูรณ์เป็นวันที่พระอรหันต์สาวกของ พระพุทธเจ้า ๑,๒๕๐ รูป ได้ประชุมกันพร้อมด้วยองค์ ๔ ประการ เรียกว่า จาตุรงคสันนิบาตพระพุทธเจ้าได้ตรัสเทศนาโอวาทปาติโมกข์ ในที่ประชุมสงฆ์เป็นการประชุมใหญ่ และเป็นการอัศจรรย์ในพระพุทธศาสนา นักปราชญ์
จึงถือเอาเหตุนั้นประกอบการสักการบูชาพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์สาวก ๑,๒๕๐ รูปนั้น ให้เป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใสการประกอบพิธีมาฆะบูชา ได้เริ่มในพระบรมมหาราชวังก่อน
ในสมัยรัชกาลที่ ๔ มีพิธีการพระราชกุศลในเวลาเช้า พระสงฆ์ วัดบวรนิเวศวิหารและวัดราชประดิษฐ์ ๓๐ รูป ฉันในพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เวลาค่ำ เสด็จออกทรงจุดธูปเทียนเครื่อง มนัสการแล้ว พระสงฆ์สวดทำวัตรเย็นเสร็จแล้ว สวดมนต์ต่อไปมี สวดคาถาโอวาทปาติโมกข์ด้วย สวดมนต์จบทรงจุดเทียนรายตามราวรอบพระอุโบสถ ๑,๒๕๐ เล่ม มีการประโคมอีกครั้งหนึ่งแล้วจึงมีการเทศนา โอวาทปาติโมกข์ ๑ กัณฑ์เป็นทั้งเทศนาภาษาบาลีและภาษาไทย เครื่องกัณฑ์ มีจีวรเนื้อดี ๑ ผืน เงิน ๓ ตำลึง และขนมต่าง ๆ เทศนาจบพระสงฆ์ ซึ่งสวดมนต์ ๓๐ รูป สวดรับการประกอบพระราชกุศลเกี่ยวกับวันมาฆบูชาในสมัยรัชกาลที่ ๔ นั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จะเสด็จออกประกอบพิธีด้วยพระองค์เองทุกปีมิได้ขาด สมัยต่อมามีการเว้นบ้าง
เช่น รัชกาลที่ ๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จออกเองบ้าง มิได้ เสด็จออกเองบ้างเพราะมักเป็นเวลาที่ประสบกับเวลาเสด็จประพาส หัวเมืองบ่อย ๆ หากถูกคราวเสด็จไปประพาสบางปะอินหรือพระพุทธบาท พระพุทธฉาย พระปฐมเจดีย์
พระแท่นดงรัง ก็จะทรงประกอบพิธีมาฆบูชา ในสถานที่นั้น ๆ ขึ้นอีก ส่วนหนึ่งต่างหากจากในพระบรมมหาราชวังเดิมทีมีการประกอบพิธีในพระบรมมหาราชวัง ต่อมาก็ขยายออกไป ให้พุทธบริษัทได้ปฏิบัติตามอย่างเป็นระบบสืบมาจนปัจจุบัน
มีการบูชา ด้วยการเวียนเทียน และบำเพ็ญกุศลต่าง ๆ ส่วนกำหนดวันประกอบพิธีมาฆบูชานั้น ปกติตรงกับวันเพ็ญเดือน ๓ หากปีใด
เป็นอธิกมาส คือ มีเดือน ๘ สองหนจะเลื่อนไปตรงกับวันเพ็ญเดือน ๔

หลักธรรมที่ควรนำไปปฏิบัติ
หลักธรรมที่ควรนำไปปฏิบัติได้แก่ โอวาทปาติโมกข์ หมายถึง หลักคำสอนคำสำคัญของพระพุทธศาสนาอันเป็นไปเพื่อป้องกัน และแก้ปัญหาต่าง ๆ ในชีวิตเป็นไปเพื่อความหลุดพ้น หรือคำสอน อันเป็นหัวใจพระพุทธศาสนา หลักธรรมประกอบด้วย หลักการ ๓ อุดมการณ์ ๔ วิธีการ ๖ ดังนี้

หลักการ ๓
๑. การไม่ทำบาปทั้งปวง ได้แก่การงดเว้น การลด ละเลิก ทำบาปทั้งปวง ซึ่งได้แก่ อกุศลกรรมบถ ๑๐ ทางแห่งความชั่ว มีสิบประการ อันเป็น
ความชั่วทางกาย ทางวาจา และทางใจ ความชั่วทางกาย ได้แก่ การฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์
การประพฤติ ผิดในกาม
ความชั่วทางวาจา ได้แก่ การพูดเท็จ การพูดส่อเสียด
การพูดเพ้อเจ้อ
ความชั่วทางใจ ได้แก่ การอยากได้สมบัติของผู้อื่น การผูกพยาบาท และความเห็นผิดจากทำนองคลองธรรม

๒. การทำกุศลให้ถึงพร้อม ได้แก่ การทำความดีทุกอย่างซึ่งได้แก่ กุศลกรรมบถ ๑๐ เป็นแบบของการทำฝ่ายดีมี ๑๐ อย่าง อันเป็นความดีทางกาย ทางวาจาและทางใจ
ความดีทางกาย ได้แก่ การไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ทำร้ายเบียดเบียนผู้อื่นมีแต่ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน การไม่ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ มาเป็นของตน มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และการไม่ประพฤติผิดในกาม
การทำความดีทางวาจา ได้แก่ การไม่พูดเท็จ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดคำหยาบ และไม่พูดเพ้อเจ้อพูดแต่คำจริง พูดคำอ่อนหวานพูดคำให้เกิดความสามัคคีและพูดถูกกาลเทศะ
การทำความดีทางใจ ได้แก่ การไม่โลภอยากได้ของของผู้อื่นมีแต่คิดเสียสละการไม่ผูกอาฆาตพยาบาทมีแต่คิดเมตตาและ
ปราถนาดีและมีความเห็นความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม เช่น เห็นว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว

๓. การทำจิตให้ผ่องใส ได้แก่ การทำจิตของตนให้ผ่องใส ปราศจากนวรณ์ซึ่งเป็นเครื่องขัดขวางจิตไม่ให้เข้าถึงความสงบ มี ๕ ประการ ได้แก่
           ๑. ความพอใจในกาม (กามฉันทะ)
          ๒. ความอาฆาตพยาบาท (พยาบาท)
          ๓. ความหดหู่ท้อแท้ ง่วงเหงาหาวนอน (ถีนะมิทธะ)
          ๔. ความฟุ้งซ่าน รำคาญ (อุทธัจจะกุกกุจจะ) และ
          ๕. ความลังเลสงสัย (วิกิจฉา) เช่น สงสัยในการทำความดีความชั่ว ว่ามีผลจริงหรือไม่ วิธีการทำจิตให้ผ่องใส ที่แท้จริงเกิดขึ้นจากการละบาปทั้งปวง
ด้วยการถือศืลและบำเพ็ญกุศล ให้ถึงพร้อมด้วยการปฏิบัติสมถะและวิปัสสนา จนได้บรรลุอรหัตผล อันเป็นความผ่องใสที่แท้จริง

อุดมการณ์ ๔
๑. ความอดทน ได้แก่ ความอดกลั้น ไม่ทำบาปทั้งทางกาย วาจา ใจ
๒. ความไม่เบียดเบียน ได้แก่ การงดเว้นจากการทำร้าย รบกวน หรือ เบียดเบียนผู้อื่น
๓. ความสงบ ได้แก่ ปฏิบัติตนให้สงบทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ
๔. นิพพาน ได้แก่ การดับทุกข์ ซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนาเกิดขึ้นได้จาการดำเนินชีวิตตามมรรคมีองค์ ๘

วิธีการ ๖
          ๑. ไม่ว่าร้าย ได้แก่ ไม่กล่าวให้ร้ายหรือ กล่าวโจมตีใคร
          ๒. ไม่ทำร้าย ได้แก่ ไม่เบียดเบียนผู้อื่น
          ๓. สำรวมในปาติโมกข์ ได้แก่ ความเคารพระเบียบวินัย กฎกติกา กฎหมาย รวมทั้งขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีของสังคม
          ๔. รู้จักประมาณ ได้แก่ รู้จักความพอดีในการบริโภคอาหารหรือการใช้สอยสิ่งต่าง ๆ
          ๕. อยู่ในสถานที่ที่สงัด ได้แก่ อยู่ในสถานที่สงบมีสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม
          ๖. ฝึกหัดจิตใจให้สงบ ได้แก่ฝึกหัดชำระจิตให้สงบมีสุขภาพคุณภาพและประสิทธิ
ภาพที่ดี 

พิธีทำบุญวันออกพรรษา

วันออกพรรษา


      วันออกพรรษา เป็นวันที่พุทธบริษัททั้งชาววัดและชาวบ้าน ได้พร้อมใจกันกระทำบุญกุศลต่าง ๆ ตามคติประเพณีที่เคยประพฤติปฏิบัติสืบ ๆ กันมาแต่โบราณกาล เช่นมีการตักบาตรเทโว หรือเรียกตักบาตรดาวดึงส์ เป็นต้น "วันออกพรรษา" มีสาเหตุเนื่องมาจาก "วันเข้าพรรษา" ที่มีมาแล้วเมื่อวันแรม ๑ ค่ำเดือน ๘ อันเป็นวันที่พระภิกษุทั้งหลายอธิษฐานใจเข้าอยู่พรรษาครบไตรมาส คือ ๓ เดือน ตามพระพุทธบัญญัติ โดยไม่ไปค้างแรมค้างคืนนอกสถานที่ที่ท่านตั้งใจอยู่ไว้ เมื่อมีวันเข้าพรรษาก็จำเป็นต้องมีวันออกพรรษา ซึ่งวันออกพรรษา ซึ่งวันออกพรรษาตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๑ (เพ็ญเดือน ๑๑) ของทุกปี วันออกพรรษา เป็นวันสุดท้ายแห่งการจำพรรษาของพระภิกษุสงฆ์ หมายถึงพระภิกษุสงฆ์ได้จำพรรษาครบกำหนดไตรมาส ตามพระพุทธบัญญัติแล้ว ท่านมีสิทธิ์ที่จะจาริกไปพักค้างคืนที่อื่นได้ ไม่ผิดพระพุทธบัญญัติและยังได้รับอานิสงส์ (ผลดี) คือ
          ๑.ไปไหนไม่ต้องบอกลา
          ๒.ไม่ต้องถือผ้าไตรครบชุด
          ๓. ลาภที่เกิดขึ้นแก่ท่านมีสิทธิ์รับได้
          ๔. มีโอกาสได้อนุโมทนากฐินและได้รับอานิสงส์คือได้รับการขยายเวลาของ
อานิสงส์นั้นออกไปอีก ๔ เดือน

อนึ่ง มีชื่อเรียกวันออกพรรษาอีกอย่างหนึ่งว่า " วันปวารณา หรือ วันมหาปวารณา" มีความหมายว่าพระภิกษุทั้งหลายทั้งพระผู้ใหญ่และพระผู้น้อยต่างเปิดโอกาสอนุญาตแก่กันและกัน ให้ว่ากล่าวตักเตือนกันได้มีคำกล่าวปวารณาเป็นภาษาลี ว่า "สังฆัมภันเต ปะวาเรมิ ทิฎเฐนะ วา สุเตนะ วาปะริสังกายะ วา วะทันตุ มัง อายัส์มันโต อะนุกัทปัง อุปาทายะ ปัสสันโต ปฎิกะริสสามิ"

แปลว่า ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ กระผมขอปวารณาต่อสงฆ์ ด้วยได้เห็นหรือได้ฟังก็ตาม ขอท่านทั้งหลายโปรดอนุเคราะห์ ว่ากล่าวตักเตือนกระผมด้วย เมื่อกระผมมองเห็นแล้ว จักประพฤติตัวเสียเลยใหม่ให้ดี

การที่พระท่านกล่าวปวารณา (ยอมให้ว่ากล่าวตักเตือน) กันไว้ ในเมื่อต่างองค์ต่างต้องจากกันไปองค์ละทิศละทางท่านเกรงว่าอาจมีข้อประพฤติปฏิบัติที่ไม่ดีไม่งามเกิดขึ้น โดยตัวท่านเองรู้เท่าไม่ถึงการณ์หรือมองไม่เห็นเหมือนผงเข้าตาตัวเอง แม้ผลจะอยู่ชิดติดกับลูกนัยน์ตา เราก็ไม่สามารถมองเห็นผลนั้นได้ จำเป็นต้องไหว้วานขอร้องผู้อื่นให้มาช่วยดูหรือต้องใช้กระจกส่องดู เพราะฉะนั้น พระท่านจึงใช้วิธีการกล่าวปวารณาตัดไว้เพื่อท่านรูปอื่นได้เห็นหรือแม้แต่ได้ยินได้ฟัง เรื่องดีไม่ดีไม่งามอะไรก็ตามให้กล่าวแนะนำตักเตือนได้โยไม่ต้องเกรงใจกันทั้งผู้ใหญ่และผู้น้อยด้วยเจตนาดีต่อกัน คือ พระผู้ใหญ่ก็กล่าวตักเตือนพระผู้น้อยได้และพระผู้มีอาวุโสน้อยก็สามารถกล่าวชี้แนะถึงข้อไม่ดีของพระผู้ใหญ่ได้เช่นกัน โดยที่พระผู้ใหญ่คือผู้มีอาวุโสท่านก็มิได้สำคัญตนผิดคิดว่าท่านทำอะไรแล้วถูกไปหมดทุกอย่าง

การกล่าวปวารณา เท่ากับเป็นการช่วยระมัดระวังข้อประพฤติปฏิบัติที่ไม่ดีของพระรูปหนึ่ง ซึ่งเป็นจุดน้อยๆ นี้ที่จะลุกลามก่อความเสื่อมเสียไปถึงพระหมู่มาก และลุกลามไปถึงพระพุทธศาสนาอันเป็นจุดศูนย์ที่ใหญ่ได้ ท่านจึงใช้วิธีป้องกันไว้ก่อน ดีกว่าการแก้ไขในภายหลัง

ตัวอย่าง วันออกพรรษาหรือวันมหาปวารณาที่พระภิกษุทั้งหลายกระทำเช่นนี้ เป็นเครื่องมือชี้ให้เห็นวิธีการคอยสังวร คือ ตามระวัง ไม่ประมาท ไม่ยอมให้ความเลวร้ายเกิดขึ้นได้ เหมือล้อมรั้วไว้ก่อนที่วัวจะหายไม่ว่าจะอยู่ในเทศกาลเข้าพรรษาหรือออกพรรษา พระท่านจะประพฤติดี ปฏิบัติชอบตามระบอบของพระธรรมวินัยอยู่ตลอดเวลา

ส่วนพิธีของฆราวาสนั้นควรจะนำเอาพิธีปวารณาของพระท่านมาใช้ดูบ้าง ซึ่งจะมีผลดีที่เกิดขึ้นแก่กลุ่มชนที่อยู่รวมกัน ไม่ว่าครอบครัวและสังคมต่าง ๆ และมีพิธีกรรมของฆราวาสที่เกี่ยวเนื่องกันในวันออกพรรษานี้ก็ได้แก่การบำเพ็ญบุญกุศลต่าง ๆ เช่น การทำบุญตักบาตร รักษาศีล ฟังธรรม ณ วัดที่อยู่ใกล้เคียง

มีการทำบุญอันเป็นประเพณีที่นิยมกระทำกันมานานแล้วในวันออกพรรษา ซึ่งเรียกว่า " ตักบาตรเทโว" หรือเรียกชื่อเต็มตามคำพระว่า "เทโวโรหนะ" แปลว่าการหยั่งลงจากเทวโลก หรือการตักบาตรนี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "ตักบาตรดาวดึงส์" และการตักบาตรเทโวนี้ จะกระทำในวันขึ้น ๑๕ เดือน ๑๑ หรือวันแรม ๑ ค่ำเดือน ๑๑ ก็ได้สุดแท้แต่จะเห็นพร้อมกัน

การทำบุญตักบาตรเทโวนี้ ท่านจัดเป็นกาลนาน คือ หนึ่งปีมีหนึ่งครั้ง และการกระบุญเช่นนี้ โดยยึดถือว่าเป็นวันคล้ายกับวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากเทวโลก ตามตำนานกล่าวว่า

เมื่อก่อนพุทธศักดิ์ราช ๘๐ ปี พระพุทธเจ้าเสด็จขึ้นไปจำพรรษา ณ บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อทรงเทศนา "พระสัตตปรณาภิธรรม" คือพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ โปรดพระพุทธมารดา (ซึ่งทรงบังเกิดอยู่ในสวรรคชั้นดุสิต)

 ครั้นครบกำหนดการทรงจำพรรษาครบ ๓ เดือนพระพุทธเจ้าทรงปวารณาพระวัสสาแล้วเสด็จลงจากดาวดึงส์เทวโลกมาสู่มนุษย์โลก ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๑ โดย เสด็จลงทางบันไดแก้วทิพย์ ซึ่งตั้งระหว่างกลางของนับไดทองทิพย์อยู่เบื้องขวาบันไดเงินทิพย์อยู่เบื้องซ้ายและหัวบันไดทิพย์ที่เทวดาเนรมิตขึ้นทั้ง ๓ พาด บนยอดเขาพระสิเนรุราช อันเป็นที่ตั้งแห่งสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ส่วนเชิงบันไดตั้งอยู่บนแผ่นศิลาใหญ่ใกล้ประตูเมืองสังกัสสนครและสถานที่นั้นประชาชนถือว่าเป็นศุภนิมิตรสร้างพระเจดีย์ขึ้นเป็น "พุทธบูชานุสาวรีย์" เรียกว่า "อจลเจดีย์"

อนึ่งในวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงมาสู่มนุษย์โลกนั้นประชาชนพร้อมกันไปทำบุญตักบาตรเป็นจำนวนมากสุดจะประมาณ พิธีที่กระทำกันในการตักบาตรเทโว ซึ่งถือตามประวัตินี้ก็เท่ากับทำบุญตักบาตร รับเสด็จพระพุทธเจ้าในคราวเสด็จลงมาจากเทวโลกนั่นเอง บางวัดจึงเตรียมการในคฤหัสถ์แต่งตัวเป็นเทวดาบ้าง เป็นพรหมบ้างแล้วอัญเชิญพระพุทธรูปขึ้นประดิษฐานบนบุษบกที่มีล้อเคลื่อนและมีบาตรตั้งอยู่ข้างหน้าพระพุทธรูปใช้คนลากนำหน้าพระสงฆ์ พวกทายกทายิกาตั้งแถวเรียงรายคอยใส่บาตรเป็นการกระทำให้ใกล้กับความจริงเพื่อเป็นการระลึกถึงพระพุทธเจ้า ส่วนอาหารที่นำมาทำบุญตักบาตรในวันนั้น มีข้าว กับข้าวต้มมัดใต้ ข้าวต้มลูกโยนที่ห่อด้วยใบมะพร้าวหรือใบลำเจียกไว้หางยาวและข้าวต้มลูกโยนนี้มี ประวัติมาตั้งแต่ครั้งพระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพราะตั้งใจอธิษฐานแล้วโยนไปให้ลงบาตรของพระพุทธเจ้า เนื่องจากมีคนมากเข้าไปใส่บาตรไม่ได้

ความมุ่งหมายของการปวารณากรรม
ปวารณากรรม มีความมุ่งหมายชัดเจนปรากฏอยู่ในคำที่สงฆ์ใช้ปวารณาซึ่งกันและกัน ดังนี้
      - เป็นกรรมวิธีลดหย่อนผ่อนคลายข้อขุ่นข้องคลางแคลงที่เกิดจากความระแวงสงสัย
ให้หมดไปในที่สุด

     - เป็นทางประสานรอยร้าว ที่เกิดจากผลกระทบกระทั่งในการอยู่ร่วมกันให้มีโอกาสกลับคืนดีด้วยการให้โอกาสได้ปรับความเข้าใจซึ่งกันและกัน

     - เป็นทางสร้างเสริมความสามัคคีในหมู่ให้กลมเกลียวอยู่ร่วมกันอย่างสนิทใจ

     - เป็นแนวปฏิบัติให้เกิดความเสมอภาคกันในการแสดงความคิดว่ากล่าวตักเตือนได้โดยไม่จำกัดด้วย ยศ ชั้น พรรษา วัย

     - ก่อให้เกิด "ภราดรภาพ" รู้สึกเป็นมิตรชิดเชื้อปรารถนาดี เอื้อเฟื้ออาทรเป็นพื้นฐานนำไปสู่พฤติกรรมอันพึงประสงค์ที่ดีงานคล้าย ๆ กัน เรียกว่า ศีลสามัญญุตา


พิธีตักบาตรเทโว(วันพระเจ้าเปิดโลก)
          มีปรากฎในอรรถกถาธรรมบทว่าในขณะนั้นพระพุทธเจ้าจำพรรษาอยู่ในนครสาวัตถี
ีพรรษาที่ ๒๕ ผู้คนในชมพูทวีปหันมาเลื่อมในพระพุทธศาสนาทำให้นักบวชของศาสนา
อิจฉาเพราะเขาเหล่านั้นเดือดร้อนในการขาดผู้ค้ำจุนดูแลและขาดลาภสักการะจึงทำการกลั่นแกล้ง พระพุทธศาสนาโดยประการต่าง ๆ โดยเฉพาะในเรื่องฤทธิ์พระองค์และเหล่าสาวกของพระองค์เองศาสนาอื่นปลุกปั่นจนพระองค์ทรงห้ามเหล่าสาวกทั้งหลายแสดงฤทธิ์ พระองค์ก็งดแสดงฤทธิ์เช่นกัน จึงทำให้ศาลามีจุดที่จะทำให้ศาสนาอื่น เช่น อาจารย์ทั้ง ๖ และศาสนาเชน ทำการโฆษณาชวนเชื่อว่าพระพุทธศาสนานั้นมีพระพุทธเจ้าและสาวกสิ้นฤทธิ์หมดแล้วอย่าไปนับถือเลยสู้พวกตนไม่ได้ยังมีฤทธิ์เหนือกว่าควรจะมานับถือพวกตนดีกว่าพระพุทธเจ้าทรงเห็นว่า ถือขืนปล่อยไว้เฉยต่อไป โดยไม่ตอบโต้บ้าง อาจเป็นผลเสียต่อพระพุทธศาสนา ดังนั้นวันเพ็ญอาสาฬหะ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ คือแสดงฤทธิ์เป็นคู่ ๆ ซึ่งก็มีปรากฎเพียงครั้งเดียวในครั้งนั้นทำให้ผู้คนที่เคลือบแครงสงสัยหันมานับถือศาสนาอย่างมั่นคงอีกครั้ง ในวันรุ่งขึ้นแรม ๑ ค่ำ เดือนอาสาฬหะ เป็นวันอธิฐานเข้าพรรษา พระพุทธเจ้าทรงประกาศจำพรรษาที่สรรค์ชั้นดาวดึงส์ ตามธรรมเนียมที่พระพุทธเจ้าทำกันมาเมื่อลาพระพุทธเจ้าทรงลาบริษัทแล้วก็เสด็จไป ณ ดาวดึงส์เทวโลกเพื่อโปรดพุทธมารดาด้วยพระอภิธรรม ๗ พอครบเวลา ๓ เดือนของการโปรดพระพุทธมารดาด้วยพระอภิธรรมทั้ง ๗ ในวันเพ็ญเดือน ๑๑ ก็เสด็จกลับลงมายังโลกมนุษย์ ณ ที่ประตูเมือง สังกัสสนคร ท้าวสักกเทวราชพร้อมด้วยบริวารตามลงมาเสด็จทางบันใดสวรรค์จนถึงขั้นพิภพ พระพุทธเจ้าทรงใช้อิทธิฤทธิ์บรรดาลให้โลกทั้ง ๓ มี เทวโลก , มนุษย์โลก , สัตว์นรก มองเห็นกันทั้งหมด จึงเรียกวันนั้นว่า วันพระเจ้าเปิดโลกพอวันรุ่งขึ้นเป็นวันแรม ๑ ค่ำเดือน ๑๑ ผู้คนในชมพูทวีปพากันมาใส่บาตรพระสงค์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข การตักบาตรในครั้งนั้นไได้นัดหมายกันมาก่อนเลยต่างคนก็ต่างมาด้วยศรัทธาจึงทำให้คนมามากมาย เมื่อมีมามากทำให้ไม่ถึงบาตรพระภิกษุสงฆ์ จึงเอาข้าวของตนห่อหรือปั้นเป็นก้อน โยนใส่บาตรพระด้วยเหตุนี้ต่อมาภายหลังจึงนิยมทำข้าวต้มลูกโยนใส่บาตรพระใน
วันเทโวณหณะ


พิธีตักบาตรเทโวโรหณะในสมัยปัจจุบัน
ตอนรุ่งอรุณของวันตักบาตรเทโว พระภิกษุสามเณรลงทำวัตรในพระอุโบสถ พอพระอาทิตย์ขึ้นก็สมมติว่า พระลงมาจากบันใดสวรรค์ บางที่ก็มีดนตรีบรรเลงเพลงไทยเดิม สมมุติว่าเป็นพวกเทวดาบรรเลง ขับกล่อมตามส่งพระพุทธเจ้า ยังมีพวกแฟนตาซีอีก แต่งเป็นพวกยักษ์ เทวดา พระอินทร์ พรหม นางเทพธิดา นำหน้าขบวนพระภิกษุสามเณร ชาวบ้านก็จะใส่บาตรด้วยอาหารหวาน อาหารคาว ข้าวต้มลูกโยน ข้าวต้มมัดจึงเป็นสัญลักษณ์ของพิธีนี้


ภาคกลาง 
จังหวัดนครปฐม ที่พระปฐมเจดีย์ พระภิกษุสามเณรจะมารวมกันที่องค์พระปฐมเจดีย์ แล้วก็เดินลงมาจากบันใดนาคหน้าวิหารพระร่วง สมมติว่าพระเดินลงมาจากบันใดสวรรค์ชาวบ้านก็คอยใส่บาตร

จังหวัดอุทัยธานีซึ่งตั้งอยู่บนยอดเขาสูง ณ วัดสะแกกรัง พระภิกษุจะเดินลงมาจากเขารับบิณฑบาตรจากชาวบ้าน อนึ่ง ขบวนพระภิกษุสงฆ์นั้นที่ลงมาจากบันใดนั้นนิยมให้มีพระพุทธรูป นำหน้าสมมติว่าเป็นพระพุทธเจ้าจะใช้พระปางอุ้มบาตร ห้ามมาร ห้ามสมุทร รำพึง ถวายเนตรหรือปางลีลา โดยตั้งบนรถ หรือตั้งบนคานหาม มีที่ตั้งบาตรสำหรับอาหารบิณฑบาตร

สำหรับบางที่ไม่นิยมตักบาตรเทโว แต่นิยมตักบาตรตอนเช้าถวายอาหารพระภิกษุแล้ว ฟังเทศน์รักษา อุโบสถศีล

สำหรับที่นิยมตักบาตรเทโว จะทำบุญเป็น ๒ วันคือวันออกพรรษากับวันเทโว ในวันแรม 1 ค่ำเดือน ๑๑ ในวันออกพรรษานั้น ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ก็มีการฟังเทศน์ตอนสาย และรักษาอุโบสถศีล


ภาคใต้ 
ประเพณีชักพระ (พระพุทธรูป) ทางภาคใต้เรียกว่า พิธีลากพระมีสองกรณี คือ ชักพระทางบก และชักพระทางน้ำ

ถึงแม้ภาคนี้จะมีความแตกต่างไปจากภาคอื่น ภาคใต้ ก็มีจุดประสงค์ปรารภเหตุ การเสด็จลงมาของพระพุทธเจ้าจากเทวโลกมาถึงพื้นโลก ในวันปวารณาออกพรรษาเช่นเดียวกัน ก็จัดให้มีประเพณีแห่พระพุทธรูป ในวันแรม 1 ค่ำเดือน ๑๑ จึงนำมากล่าวในที่นี้ด้วยประเพณีชักพระ มี ๒ ประเภท คือ ชักพระทางบก กับชักพระทางน้ำ

พิธีชักพระทางบก 
จังหวัดนครศรีธรรมราช ก่อนวันชักพระ ๒ วันจะมีพิธีใส่บาตรหน้าล้อ นอกจากอาหารคาวหวาน ยังมีสิ่งที่เป็นสัญลักษณ์ของงาน " ปัด" คือข้าวต้มผัด น้ำกะทิห่อด้วยใบมะพร้าว บางที่ห่อด้วยใบกะพ้อ (ปาล์มชนิดหนึ่ง) ในภาคกลางเขาเรียกว่า ข้าวต้มลูกโยน ก่อนจะถึงวันออกพรรษา ๑ - ๒ สัปดาห์ทางวัดจะทำเรือบก คือเอาท่อนไม้ขนาดใหญ่ ๒ ท่อนมาทำเป็นพญานาค ๒ ตัว เป็นแม่เรือที่ถูกยึดไว้อย่างแข็งแรง แล้วปูกระดาน วางบุษบก (ร้านม้า)บนบุษบกจะนำพระพุทธรูปยืนรอบบุษบกก็วางเครื่องดนตรี ไว้บรรเลงเวลาเคลื่อนพระไปสู่บริเวณงานพอเช้าวัน ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ชาวบ้านจะช่วยกันชักพระ โดยถือเชือกขนาดใหญ่ ๒ เส้นที่ผูกไว้กับพญานาคทั้ง ๒ ตัวเมื่อถึงบริเวณงานจะมีการสมโภช และมีการเล่นกีฬาพื้นเมืองต่าง ๆ กลางคืนมีงานฉลองอย่างมโหฬาร การชักพระที่ปัตตานี มีอิสลามร่วมด้วย

พิธีชักพระทางน้ำ
ก่อนถึงวันแรม ๑ ค่ำเดือน ๑๑ ทางวัดที่อยู่ริมน้ำ ก็จะเตรียมการต่าง ๆ ก็จะนำเรือมา ๒ - ๓ ลำ มาปูด้วยไม้กระดานเพื่อตั้งบุษบก หรือพนมพระประดับประดาด้วยธงทิว ในบุษบกก็ตั้งพระพุทธรูปในเรือบางที่ก็มีเครื่องดนตรีประโคมตลอดทางที่เรือเคลื่อนที่ไปสู่จุดกำหนด คือบริเวณงานท่าน้ำที่เป็นบริเวณงานจะมีเรือพระหลาย ๆ วัดมาร่วมงาน ปัจจุบันจะนิยมใช้เรือยนต์จูง แทนการพาย เมื่อชักพระถึงบริเวณงานทั้งหมดทุกวัดที่มาร่วม จะมีการฉลองสมโภชพระ มีการเล่นต่าง ๆ อย่างสนุกสนาน เช่นแข่งเรือปาโคลน ซัดข้าวต้ม เป็นต้น เมื่อฉลองเสร็จ ก็จะชักพระกลับวัด บางทีก็จะแย่งเรือกัน ฝ่ายใดชนะก็ยึดเรือ ฝ่ายใดแพ้ต้องเสียค่าไถ่ให้ฝ่ายชนะ จึงจะได้เรือคืน

พิธีรับพระภาคกลาง 
พิธีรับพระเป็นพิธีบูชาพระพุทธเจ้า ในโอกาสที่พระพุทธเจ้าเสด็จจากการจำพรรษา ณ ดาวดึงส์เทวโลก พิธีนี้มักจะปรากฏในภาคกลางที่อยู่ติดกับแม่น้ำ ลำคลอง ที่เป็นคมนาคมทางน้ำ เช่น อำเภอบางบ่อ บางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ทางวัดจะอัญเชิญพระพุทธรูปยืนลงบุษบกในตัวเรือแล้วแห่ไปตามลำคลอง ชาวบ้านก็จะโยนดอกบัวจากฝั่งให้ตกในเรือหน้าพระ-พุทธรูป แล้วโยนข้าวต้ม ยังมีการแข่งขันเรือชิงรางวัลอีกด้วย

ประเพณีตักบาตรพระร้อย 
"ประเพณีตักบาตรพระร้อย" หรือ ใส่บาตรพระร้อยรูป เป็นบุญประเพณีของชาวประเพณีโดยเฉพาะ ส่วนมากจัดพิธีขึ้นทางน้ำเนื่องด้วยแต่เดิมบ้านอยู่ติดริมน้ำลำคลอง จึงใช้เรือสัญจร พระส่วนมากจึงใช้เรือบิณฑบาต

เนื่องมาแต่ความเชื่อเดิมว่าหลังวันเสด็จลงจากเทวโลก คือวันแรม ๑ ค่ำเดือน ๑๑ หรือวันตักบาตรเทโว พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ทรงนำพระภิกษุสงฆ์จำนวนเป็นร้อยออกบิณฑบาต ชาวประชาจึงหลั่งไหลมาถวายสักการะต้อนรับด้วยดอกไม้และบิณฑบาตทาน จึงมีพิธีตักบาตรเทโวขึ้น แต่ชาวปทุมธานีนิยมกำหนดเอาพระบิณฑบาตจำนวนร้อยรูป จึงเรียกว่า ตักบาตพระร้อยสืบมา

ประโยชน์ของพิธีออกพรรษา 
๑. เมื่อวันออกพรรษามาถึงเป็นการเตือนใจชาวพุทธว่า เวลาที่ผ่านไป ชีวิตก็ใกล้ตายเข้าไปทุกขณะแล้ว ควรเร่งทำกุศล และยังได้ถึงความปีติ ที่ได้บำเพ็ญกิจมาตลอดพรรษาและเป็นการเตือนสติอย่าให้จิตของตนละเลิกการทำกุศลไม่ให้ตกไปสู่ทางอบายมากเกินไป

๒. ประโยชน์ที่โดดเด่น คือประโยชน์ของการปวารณาที่สงฆ์การกระทำกันในวันออกพรรษาเพื่อให้สงฆ์ดำรงค์ความเป็นปึกแผ่นแน่นเหนียวยากแก่การทำลาย ถ้าคนในชาติเราทุกฝ่ายหันมา ปวารณากัน คือเปิดใจกัน เปิดเผยซึ่งกันและกัน หันหน้ามารวมพลังกันพัฒนาประเทศความทุกข์ก็จะบรรเทาเบาบางลง 

จากพิธีออกพรรษา
๑. เตือนสติว่าเวลาที่ผ่านพ้นไปอีกพรรษาหนึ่งแล้วได้คร่าชีวิตมนุษย์ ให้ผู้คนนั้นดำรงค์อยู่ในความไม่ประมาทและหันมาสร้างกุศล

๒. การทำบุญออกพรรษาเปิดโอกาสให้ผู้อื่นชำระความผิดของตนได้ คือหลักปวารณา ปกติคนเราคบกันนาน ๆ ก็จะเผย "สันดาน" ที่แท้ออกมาอาจจะไม่ดีนักแต่ตนเองไม่รู้ตัวแล้วมองไม่เห็น แต่ผู้อยู่ข้าง ๆ มองเห็นแต่ไม่กล้าเตือน ดังนั้นตนเองต้องปวารณาตัวให้ผู้อื่นชี้แนะได้ ความสัมพันธ์ก็จะดีขึ้นและยั่งยืน

๓. ได้ข้อคิดที่ว่า คนเราส่วนใหญ่มักจะลำเอียงเข้าข้างตนเองเป็นฝ่ายถูกความผิดของคนอื่นเห็นง่ายส่วนตนเองนั้นความผิดนั้นเห็นยาก นี่แหละสัญชาตญาณของคนเรา

๔. เป็นการให้รู้ถึงการมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีในการเปิดใจซึ่งกันและกันโดยไม่มีเล่ห์เหลี่ยมลับลมคมในใด ๆ ต่อในการคบหาหรืออยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข


--------------------------------------------------------------------------------

บรรณานุกรม
๑. จ. เปรียญ. ประเพณีและพิธีมงคลไทย. ธรรมบรรณาคาร. ๒๕๑๘ กรุงเทพ ฯ.
๒. สมปราชญ์ อัมมะพันธ์. ประเพณีและพิธีกรรมในวรรณคดี. โอ. เอส. พริ้นติ้ง เฮ้า.๒๕๓๖ กรุงเทพ ฯ.
๓. สุเมธ เมธาวิทยกุล. สังกัปพิธีกรรม. พริ้นติ้ง เฮ้า. ๒๕๓๒ . กรุงเทพ ฯ.
๔. แสงฉาย อนงคาราม. อานิสงค์จากพระไตรปิฎก. ส. ธรรมภักดี. กรุงเทพ ฯ.
๕. ประพันธ์ กุลวินิจฉัย เทศกาลและพิธีกรรมทางพุทธศาสนา คณะมนุษยศาสตร์ ม.มจร กรุงเทพ ฯ.