วันพฤหัสบดีที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ภาษิตภาษาเขมร

 
 

                
                โดย ประชุม ปุ่มแก้ว  (คุณสํวโร ภิกขุ)

วันพุธที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ผลงานของข้าพเจ้า

ปฏิทินของเรา

แนะนำหนังสือประเพณีขอมโบราณ คู่มือชาวบ้านดูฤกษ์ยาม


หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือเล่มแรกที่ข้าพเจ้าตั้งใจเขียนเพื่อเป็นการอนุรักษ์ประเพณี
ขอมโบราณไว้  และเกิดจากแรงจูงใจที่ได้เห็นวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชนเผ่าเขมร
ในด้านขนบธรรมเนียมประเพณีและการประกอบพิธีกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นงานมงคล
หรืองานอวมงคล  ก่อนที่จะมีการประกอบพิธีกรรมดังกล่าว  ต้องมีการดูฤกษ์งาม ยามดี
จากพระสงฆ์  หรือจากท่านโหร (อาจารย์)  คือ  บุคคลที่เคยบวชเรียนมาก่อน  จนเป็นที่
ยอมรับนับถือของบุคคลในหมู่บ้าน  เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ตนเอง  แต่ไม่ว่าจะเป็นพระสงฆ์
ก็ดี  ท่านโหรก็ดี  ส่วนมากแล้วมีความรู้  แต่ไม่มีใครได้จดบันทึกหรือพิมพ์ไว้เป็นรูปเล่มออกมา
เพื่อให้บุคคลทั่วไปที่สนใจศึกษาค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติม  นั้นหายาก  ซึ่งจะแตกต่างกับชนเผ่าลาว
หรืออีสานเหนือ  มีผู้รวบรวมไว้มากมายจนเป็นมรดกอีสานมาหลายเล่ม  จึงเป็นแรงบันดาลใจให้
ข้าพเจ้ามีการจัดพิมพ์เป็นรูปเล่มขึ้นมา  และอีกอย่างตำราชนเผ่าเขมรส่วนมากแล้วจะบันทึกไว้
เป็นภาษาเขมรหรือภาษาขอม  ซึ่งเป็นเรื่องยุงยากสำหรับบุคคลในยุคปัจจุบันที่จำศึกษาค้นคว้า
ฉะนั้นจึงได้จัดพิมพ์ขึ้นมาเป็นสองภาษา  คือ  ภาษาไทย  และภาษาเขมรควบคู่กันไป  เพื่อให้
อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษาค้นคว้าได้ทั้งสองภาษา  หากท่านใดสนใจหนังสือเล่มนี้  ต้องการที่จะศึกษา
ค้นคว้า  หรือเอาไว้ดูฤกษ์งาม  ยามดี  เป็นสิริมงคลแก่ชีวิตตนเองหรือครอบครัว  สามารถสั่งซื้อ
ได้โดยตรงที่ ......
นายประชุม  ปุ่มแก้ว  (เจ้าของลิขสิทธิ์)
34  หมู่ที่  2  ตำบลตาตุม  อำเภอสังขะ  จังหวัดสุรินทร์  32150  โทร. 085-2074919

หรือ
ที่ร้านเมืองช้างบุ๊ค  อำเภอเมือง  จังหวัดสุรินทร์
ที่ร้านเอเปิลบุ๊ค  อำเภอเมือง  จังหวัดสุรินทร์

ราคาเล่มละ  120  บาท  (ถ้าส่งทางไปรษณีย์  บวกค่าส่ง  30  บาท)

การดูฤกษ์ยามมิใช้สิ่งงมงาย  แต่เกิดจากศรัทธา  บวกกับแรงจูงใจ
และวิถีชีวิตความเป็นอยู่     เพื่อแสวงหาความเป็นสิริมงคลให้ชีวิต

วันอังคารที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ประวัติบ้านขนาจมวน


ประวัติเชิงตำนานบ้านขนาจมวน (ขนาดมอญ)

พรานอินผู้ก่อตั้งภูมิขนาจมวน

กาพย์สร้างภูมิขนาจมวน  ประพันธ์โดย  นายประชุม  ปุ่มแก้ว  
(อดีตพระครูพัฒน์สังวรคุณ  จร.ชอ.)







ดินแดนที่ราบลุ่มลำธารและน้ำห้วยหรือที่เรียกว่า ขนาจมวน “  ซึ่งเป็นคำศัพท์ภาษาเขมรในสมัยโบราณ ตามแนวเทือกเขาพนมดงรัก ปกคลุมไปด้วยป่าดงดิบ ป่าไม้แดง ไม้ตะเคียน ไม้ประดู่ ป่าไผ่ ป่ามวน(มวนป่า)อันอุดมสมบูรณ์ในบริเวณนี้อยู่ห่างจากบ้านโคกอัจจะหรือโคกยาง (ที่ตั้งอำเภอสังขะในปัจจุบัน) ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 20 กิโลเมตร ที่ราบลุ่มลำธารและน้ำห้วย (ขนาจ) ล้อมรอบไปด้วยป่าดงดิบ ส่วนทางด้านทิศตะวันออก ทิศตะวันตก ทิศใต้และทิศเหนือ ล้วนมากไปด้วยสัตว์ป่านานาชนิด เช่น  ช้าง  ม้า  เสือ  อีเก้ง  กวาง  รมาส (“ แรดภาษาเขมรเรียกว่า  รมาส) เป็นที่ที่ต้องการบุกรุกป่าฝ่าดงไปแสวงหาอาหาร ล่าสัตว์ป่าของพวกพรานป่าที่มีมากมาย อย่างอุดมสมบูรณ์ บรรดาพรานป่าที่มักจะเวียนมาหาของป่า ล่าสัตว์อยู่เป็นประจำที่ควรกล่าวถึงคือ พรานอิน ผู้เล่าให้ข้าพเจ้าฟัง สันนิษฐานว่าพรานอิน คนนี้เป็นคนมาจากทางเหนือเทือกเขาพนมดงรัก  (บ้านตาตุมในปัจจุบันภายหลังยกบ้านเป็นตำบลตาตุม พรานอิน เข้ามาหาของป่าและล่าสัตว์แต่ละครั้งจะต้องพักนอน เพราะตามคำบอกเล่านั้น พรานมักจะมาล่าสัตว์กันหลายวัน จึงได้ตั้งทับ(ที่พักพราน)  ใกล้บริเวณราบลุ่มฝั่งลำธารและลำห้วย (ខ្នាច) ซึ่งบริเวณนี้มีต้นมวน (มอญป่า) ผู้เล่า เล่าให้ข้าพเจ้าฟังว่า ต้นมอญป่านี้มีลักษณะเป็นเครือขนาดของลำต้นเท่ากั บต้นมะพร้าว ใบของมอญป่ามีลักษณะคล้ายกับใบมอญบ้านที่ใช้เลี้ยงไหมในปัจจุบันเป็นที่เหมาะในการทำที่ตั้งทับ (ที่พักพราน) ซึ่งฝั่งลำธารและลำห้วยหรือที่เรียกกันว่า ខ្នាច นั้นจะมีสัตว์ป่านานาชนิด ไม่ว่าจะเป็น ช้าง ม้า เสือ อีเก้ง กวาง รมาส (แรด) พากันลงมาเล่นที่ลำธาร (ខ្នាច) แห่งนี้เป็นประจำ และพรานริมก็ได้ตั้งทับ (ที่พักพราน) ใกล้กับขนาจนั้น (แหล่งที่เรียกว่า ខ្នាច ในสมัยก่อนนั้น สันนิษฐานว่า คือที่ตรงบ้านนายไซร้  นาวัง ในปัจจุบัน)ในสมัยก่อน พวกหมู่พรานมักเรียกบริเวณนี้ว่า ខ្នាច “  ประจวบกับที่ตรงนั้นมีต้นมอญป่าขนาดใหญ่ล้อมรอบ จึงเป็นที่มาของชื่อบริเวณนี้ที่มักเรียกเป็นที่เข้าใจของพวกหมู่พรานว่า  ខ្នាចមន ขนาจมวนอันเป็นนามเรียกบริเวณนี้ตั้งแต่นั้นมาต่อมาภายหลัง พรานอิน (สันนิษฐานว่าเป็นผู้ก่อตั้งภูมิขนาจมวน) ผู้หลงไหลในความอุดมสมบูรณ์บริเวณนี้  ได้พาเพื่อนพรานมาสร้างที่พัก  แผ้วถางป่าดงดิบบริเวณที่ราบลุ่มเป็นที่นา  ท่ามกลางป่าดงอันอุดมสมบูรณ์ไปด้วยป่าและสัตว์นานาชนิด  อันตรายจากช้าง  เสือ  และไข้มาลาเรียและได้ตั้งหมู่บ้านที่สร้างขึ้นว่า  "เซฺราะขนาจมวน"  ស្រុកខ្នាចមន  อันมีพรานอิน  เป็นผู้นำพวกพ้องในตำแหน่งหัวหน้าหรือผู้นำหมู่บ้าน  
วีระบุรุษแห่งภูมิขนาจมวน


  ชีวประวัติของพรานอิน  เป็นบุคคลที่น่ายกย่อง ซึ่งขอนำมากล่าวไว้ ณ ที่นี้มีอยู่ครั้งหนึ่ง  พระยาแห่งเมืองสุรพินทนิคม  พระยาสุรินทร์ภักดีศรีผไทสมันต์  ได้กราบบังคมขอพระบรมราชโองการ  ตั้งบ้านลำดวนเป็นสุระพินทนิคมขึ้นกับเมืองสุรินทร์  ได้ให้พระยาสังฆะบุรีศรีนครอัจจะหาของป่าไปถวาย (ส่งส่วย) พระยาสังฆะบุรีศรีนครอัจจะก็ได้มาบอกให้พรานอินที่อยู่บ้านขนาจมวน หาของป่ามาถวาย พรานอินและพวกหมู่พรานเดียวกันก็ได้หาของป่าและได้นำเนื้อสัตว์  แก่นสน  ยางสน  ปีกนก  นอรมาส  (កុយរមាស)  งาช้าง  ขี้ผึ้ง  น้ำผึ้ง  เป็นของส่งส่วยไปยังพระยาสังฆะบุรีศรีนครอัจจะ ณ เมืองสังฆะ  อยู่เป็นประจำ
พรานอินยังเป็นผู้ที่มีความกล้าหาญ  ซึ้งครั้งหนึ่งพรานอินได้ไปล่าสัตว์กับพวกหมู่พรานด้วยกัน  และพรานอินได้ยิงปืนถูกรมาส (แรด)  แต่ไม่ถึงตายเพียงแต่บาดเจ็บ  รมาสตัวนั้นได้วิ่งหนีเพื่อที่จะเอาชีวิตและได้วิ่งหนีจากขนาจมวนไปทางทิศเหนือจนกระทั่งถึงลำห้วยหนึ่ง  (สันนิษฐานว่าลำห้วยที่ไหลผ่านสะพานทางทิศใต้โรงเรียนขนาดมอญในปัจจุบัน) แรดตัวนั้นได้กระโดดลงไปในล้ำห้วยจมหายไป  ทำให้พรานอินและพรรคพวกหาไม่เจอ  กระทั่งผ่านไปหลายวันแรดตัวนั้นได้ตายและลอยน้ำขึ้นมาจากลำห้วย  พรานอินและพรรคพวกขนานนามลำห้วยนั้นว่า  "โอรกบาลรมาส"  แปลว่า  ลำห้วยหัวแรด  จนถึงทุกวันนี้

ปั้นท้ายชีวิตของพรานอินดังกิตติศักดิ์  ที่ข้าพเจ้ากล่าวมาแล้วว่าพรานอินนั้น  เป็นคนกล้าหาญได้พาพรรคพวกหมู่พรานด้วยกันไปล่าสัตว์ พรานอินให้พรรคพวกขึ้นไปที่คาคบต้นไม้  (ที่พักของนายพรานบนต้นไม้เพื่อรอที่จะยิงสัตว์)  เหลือเพียงพรานอินที่ไม่ได้ขึ้นไปที่คาคบต้นไม้เพราะพรานอินคิดว่า  ตัวเองเก่งแล้ว  พอพรานอินเห็นเสือวิ่งเข้ามาใกล้ตัว  พรานอินก็ยกอาวุธประจำกายขึ้นเล็งตรงไปยังเสือตัวนั้นแล้วลงมือสังหารเสือตัวนั้น  แต่ด้วยสัญชาตญาณของเสือเมื่อถูกศัตรูเข้ามาทำร้าย  ย่อมมีการต่อสู้เป็นธรรมดา  การต่อสู้ระหว่างเสือกับนายพรานอินก็เกิดขึ้น พรานอินพยายามที่จะวิ่งขึ้นต้นไม้  แต่ก็เพียงแค่ได้จับกิ่งไม้เท่านั้น  จึงเป็นโอกาสของเสือเข้าโจมตีกัดเอาพรานอินถึงแก่ความตาย  พอพรานอินเสียชีวิตแล้วพรรคพวกของพรานอินที่อยู่บนคาคบต้นไม้  พอเห็นดังนั้นก็สาดกระสุนเข้าใส่เสือตัวนั้นจนเสียชีวิตเช่นเดียวกัน  โบราณท่านว่า  "หมองูตายเพราะงู"  ฉันใดก็ฉันนั้น  พรานล่าสัตว์ก็เพราะสัตว์เช่นเดียวกัน.
"บ้านขนาจมวน"  ปัจจุบันเพี้ยนมาเป็น  "บ้านขนาดมอญ"  ขึ้นกับตำบลตาตุม  อำเภอสังขะ  จังหวัดสุรินทร์  หัวหน้าผู้นำหมู่บ้านเท่าที่ทราบมีดังต่อไปนี้
1.  กำนันอิน



             

ปฏิทินดูฤกษ์ยามไทย-เขมร

ประเพณีท้องถิ่น

การอบรมภาษาเขมรเบื้องต้น

อำเภอปราสาท สุรินทร์

ติดต่อเรา

นายประชุม     ปุ่มแกร์
โรงเรียนขนาดมอญพิทยาคม

โทร. 085-2074919  อีเมล์ ems2512@hotmail.com

วันจันทร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ตัวเลขเขมร

          ตัวเลขเขมร เป็นระบบการเขียนตัวเลขที่ใช้ในกัมพูชา และใช้ร่วมกับระบบการเขียนอักษรเขมร
โดยมีรูปตัวเลขที่พัฒนามาจากระบบตัวเลขของอินเดีย และมีลักษณะคล้ายกับเลขไทย
          สำหรับระบบการนับนั้น ในภาษาเขมรมีเลขฐานเพียง 5 ตัว คือ มวย (1), ปี (2), เบ็ย (3), บวน (4),
และ ปรำ (5) เมื่อจะนับหก ก็นำคำว่าหนึ่งมาบวก เป็น ปรำมวย (5 กับ 1), ปรำปี (5 กับ 2), ปรำเบ็ย (5 กับ 3), ปรำบวน (5 กับ 4)  และ ด็อป (10)
          สำหรับจำนวน 30 - 90 นั้น นิยมนับโดยออกเสียงคล้ายในภาษาไทย เช่น สามเซิบ(30)
แซเซิบ(40)  เป็นต้น

วันศุกร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

เครื่องหมายประกอบการเขียนในภาษาเขมร

สระในภาษาเขมรทั้ง 2 ประเภท



พยัญชนะชนะฝากตีน และพยัญชนะซ้อน

พยัญชนะชนะควบทั้งหมดในภาษาเขมร


พยัญชนะเขมรพร้อมเชิง


พยัญชนะเขมร 33 ตัว

การติดตั้งฟอนต์ภาษาเขมร
     ขณะนี้ National Information Communications Technology Development Authority (NiDA) ผู้พัฒนาฟอนต์เขมรยูนิโค้ดได้ปรับปรุงโปรแกรมช่วยติดตั้งฟอนต์ภาษาเขมรใหม่เป็นเวอร์ชัน 2.0 แล้วเวอร์ชันนี้สะดวกในการติดตั้งมากขึ้น เพียงรันแฟ้มติดตั้ง แล้วคลิ๊ก Next จนจบขั้นตอนเหมือนการติดตั้งโปรแกรมในวินโดว์ทั่วๆไป นั่นเอง ขั้นตอนโดยละเอียดมีดังนี้
    1. ดาวน์โหลดแฟ้ม KhmerUnicode2.0.0-beta.exe 
    2. ดับเบิ้ลคลิ๊กแฟ้ม KhmerUnicode2.0.0-beta.exe เพื่อทำการติดตั้ง
    3. คลิ๊ก Next​ ไปเรื่อยๆ



    ขั้นสุดท้ายคลิ๊กที่ "Finish"

    4. เมื่อติดตั้งเสร็จแล้วจะ ตั้งค่าคีย์บอร์ดให้เป็นภาษาเขมร โดยอัติโนมัติ

หมายเหตุ สำหรับท่านที่ต้องการไม่ต้องการใช้คีย์บอร์ดเขมร ก็สามารถ remove ออกได้

ขอบคุณ : - Khmer Sren ที่เอื้อเฟื้อข้อมูลการติดตั้งฟอนต์เขมร


ด้านล่างนี้คือ ตารางพิมพ์อักษรฟอนต์Khmer Unicode