วันอาทิตย์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2554
วันเสาร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
วันอาทิตย์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2554
วันอาทิตย์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2554
mr.บีน ๒
<object id="_player" name="_player" width="480" height="372" bgcolor="#000000" data="http://video.nationchannel.com/player/flowplayer.commercial-3.2.5.swf" type="application/x-shockwave-flash" ><param name="allowscriptaccess" value="always" /><param name="allowfullscreen" value="true" /><param name="movie" value="http://video.nationchannel.com/player/flowplayer.commercial-3.2.5.swf%22/%3E%3Cparam name="flashvars" value="config=http://video.nationchannel.com/player/play.php?id=14550"/><embed src="http://video.nationchannel.com/player/flowplayer.commercial-3.2.5.swf" type="application/x-shockwave-flash" allowscriptaccess="always" bgcolor="#000000" flashvars="config=http://video.nationchannel.com/player/play.php?id=14550" allowfullscreen="true" width="480" height="372"></embed></object>
วันอังคารที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2554
วันศุกร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
วันจันทร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
วิธีทำบุญ
วิธีการทำบุญ
เรื่อง : วิธีการทำบุญ
คำว่า "บุญ" แปลว่า ความสุข ความดี ความสะอาด ความผ่องแผ้วแห่งจิต
คำว่า "การทำบุญ" หมายถึง การทำกิจใดๆ เพื่อให้ได้บุญ คือ เพื่อให้ได้ความสุขกายสบายใจ กิจที่ทำนั้นต้องเป็นประโยชน์ต่อตนเอง และผู้อื่น โดยถูกทำนองคลองธรรม สำหรับคำว่า "การ บำเพ็ญบุญ" มีความหมายเช่นเดียวกับ "การทำบุญ"
วิธีการทำบุญ เพื่อจะให้ได้บุญนั้น มีอยู่ ๓ วิธี โดยจำแนกตามจิต รวมเรียกว่า "บุญกิริยาวัตถุ ๓ อย่าง" คือ
๑.ทานมัย วิธีการทำบุญด้วยการบริจาคทาน เป็นเรื่องของจิตเกี่ยวเนื่องกับสิ่งของที่จะทำทาน มีหน้าที่กำจัดกิเลสอย่างหยาบคือความโลภได้ ผู้ที่ได้บุญจากทานมัยย่อมเป็นคนกว้างขวาง เป็น ที่รักและเคารพของปวงชน สมานไมตรีกันไว้ได้ทุกชั้น ทั้งยึดถือประโยชน์ของคนที่มีทรัพย์ได้ด้วย เราจำแนกทานออกเป็น ๒ อย่างคือ
๑.๑ อามิสทาน เป็นการสละทรัพย์ของตนแก่คนทั้งหลาย ด้วยอัธยาศัยเมตตาเผื่อแผ่ เช่น ถวายทานแด่พระภิกษุสามเณร คนชรา ขอทาน ผู้ตกยาก เป็นต้น
๑.๒ ธรรมทาน เป็นการแนะนำสั่งสอนชี้แจงให้ผู้อื่นรู้จักบาปบุญคุณโทษ ให้วิชาความรู้ ดังพุทธภาษิตที่ว่า "สัพพะทานัง ธัมมะทานัง ชินาติ" แปลว่า การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ ทั้งปวง
๒. สีลมัย วิธีการทำบุญด้วยการรักษาศีล เป็นเรื่องของจิตเกี่ยวเนื่องกับกายวาจา สีลมัยมีหน้าที่กำจัดกิเลสอย่างกลาง คือความโกรธได้ ผู้ที่ได้บุญจากสีลมัยย่อมเป็นที่รักและเคารพของชนทั้งหลาย หมดความรังเกียจซึ่งกันและกัน ทั้งทำให้เป็นคนองอาจด้วย สีลมัยจำแนกเป็น
๒.๑ ศีล ๕ สำหรับสามัญชนทั่วไป
๒.๒ ศีล ๘ หรือ อุโบสถศีล สำหรับอุบาสกอุบาสิกา
๒.๓ ศีล ๑๐ สำหรับสามเณร
๒.๔ ศีล ๒๒๗ สำหรับพระภิกษุ
ปกติคนที่ถูกโทสะครอบงำจิตย่อมจะเดือดร้อนใจ มักจะเสียความประพฤติทางกาย และ วาจา จำต้องรักษาศีลควบคุมกายวาจาให้สงบ ตลอดจนคลุมจิตใจให้เป็นปกติหายโทสะ จิตจึง จะเป็นบุญ
๓. ภาวนามัย วิธีการทำบุญด้วยการภาวนา เป็นเรื่องของจิตอย่างเดียว ผู้ที่ได้บุญจากการ
ภาวนามัย ย่อมเป็นคนหนักแน่นมั่นคง แม้กระทบกระทั่งอารมณ์ใดๆ ย่อมจะไม่หวั่นไหวไปตาม อารมณ์นั้นๆ การภาวนา เป็นการอบรมจิตใจให้ตั้งมั่นอยู่ในความดีและให้ฉลาด สำหรับคนทั่วไป ได้แก่ การศึกษาเล่าเรียน หมั่นฟัง หมั่นคิด หมั่นท่องบ่นหลักวิชาการต่างๆ หมั่นสนทนากับ ท่านผู้รู้จนเกิดความฉลาด การภาวนาที่ละเอียดมากขึ้น ได้แก่
๓.๑ สมถภาวนา (สมถกัมมัฏฐาน) คือการทำจิตให้อยู่ในอารมณ์เดียว ด้วยการสำรวม ความ
ระวัง และตั้งใจ
๓.๒ วิปัสสนาภาวนา (วิปัสสนากัมมัฏฐาน) คือใช้ปัญญาพิจารณาให้เห็นแจ้งในสังขารธรรม
ทั้งปวง ด้วยความฝึกฝน ความทรมาน ความดัดสันดานและด้วยความข่มใจ
ภาวนามัยเป็นข้อสำคัญที่สุดในบุญกิริยาทั้งหลาย เพราะยึดบุญกิริยานั้นๆ ให้คงอยู่ได้ด้วย แกนเหล็กที่ตั้งอยู่ ณ ภายในทำของที่หุ้มอยู่ ณ ภายนอกให้มั่นคงฉะนั้น อันความงามความดีที่ จะเป็นผล ซึ่งบุคคลที่ประพฤติให้ปรากฏออกภายนอกด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี ต้องมีภาวนา เป็นสารอยู่ภายใน ย่อมเป็นไปดังสุคนธชาติ เป็นต้นว่า เนื้อไม้ที่อบไว้เป็นอันดี เพราะเหตุนั้น กุศลราศีที่บุคคลทำให้มีขึ้นโดยสนิทใจ ได้ชื่อว่าภาวนาเพราะใจความว่าเป็นเครื่องอบรมกุศล ให้มีขึ้นในสันดาน
เครื่องบูชา แบ่งออกเป็น ๒ ลักษณะ คือ :-
๑. อามิสบูชา ได้แก่การบูชาด้วยอามิส มีดอกไม้ ธูป เทียน เป็นต้น
๒.ปฏิบัติบูชา ได้แก่ การบูชาด้วยการเจริญสมาธิวิปัสสนา
ในบรรดาการบูชาทั้ง ๒ แบบนั้น พระพุทธองค์ ทรงตรัสว่า การปฏิบัติบูชา ถือว่าเป็นเยี่ยม.
พิธีทำบุญเก็บอัฐิ
พิธีทำบุญเก็บอัฐิ
งานทำบุญอัฐิ
พิธีฝ่ายเจ้าภาพ พึงจัดตระเตียมทำนองเดียวกับงานทำบุญหน้าศพที่กล่าวแล้ว ทุกประการ ต่างแต่เพียงงานนี้เป็นงานทำบุญหน้าอัฐิหรือรูปที่ระลึกของผู้ที่ล่วงลับ เป็นต้น เจ้าภาพต้องเตรีมที่ตั้งอัฐิหรือที่ตั้งรูประลึกนั้น ๆ ต่างหากจากโต๊ะบูชา จะใช้โต๊ะหมู่หรือโต๊ะอื่นใด ที่สมควรก็ได้ ให้มีออกไม้ตั้งหรือประดับพองามตามแต่จะพึงจัดได้ และตั้งกระถางธูปกับเชิงเทียน ๑ คู่ ที่หน้าโต๊ะอัฐิหรือรูปนั้นด้วยเพื่อบูชา จะใช้พานหรือกระบะเครื่องห้าสำหรับบูชาแทนก็ได้ ข้อสำคัญให้ดูงามเด่นพอควร เป็นใช้ได้
พิธีฝ่ายภิกษุสงฆ์ ส่วนใหญ่ก็พึงปฏิบัติเช่นเดียวกับงานทำบุญหน้าศพ ต่างแต่ การสวดมนต์ นิยมใช้สูตรอืท่นจากอนัตตลักขณสูตร อาทิตตปริยายสูตร และธรรมนิยามสูตร ที่ใช้สำหรรับงานทำบุญศพ ๗ วัน ๕๐ วัน ๑๐๐ วัน หรือหน้าวัน ปลงศพดังกล่าวแล้ว (ในปัจจุบัน สวดธรรมนิยามสูตรก็มี) ทั้งนี้แล้วแต่หัวหน้าสงฆ์ จะกะนัดหมาย หรือเจ้าภาพจำนง หมาย เช่น สติปัฏฐานปาฐะ เป็นต้น
ทำบุญหน้าศพ
พิธีบุญหน้าศพ
ทำบุญอวมงคล
การทำบุญงานอวมงคล หมายถึง การทำบุญเกี่ยวกับเรื่องการตายดังกล่าวแล้ว นิยมทำกันอยู่ ๒ อย่างคือ ทำบุญหน้าศพ ที่เรียกกันว่าทำบุญ ๗ วัน ๕๐ วัน ๑๐๐ วัน หรือทำบุญหน้าววันปลงศพ อย่างหนึ่ง ทำบุญอัฐิหรือทำบุญปรารภการตาย ของบรรพบุรุษ หรือผู้ใดผู้หนึ่ง ในวันคล้ายกับวันตายของท่านผู้ล่วงลับไปแล้วอย่างหนึ่ง ทั้งสองอย่างนี้ มีระเบียบ ที่จะพึงปฏิบัติ ดังนี้
งานทำบุญหน้าศพ
พิธีฝ่ายเจ้าภาพ ในงานทำบุญหน้าศพ มีกิจกรรมที่ควรตระเตียมไว้เป็น เบื้องต้น ส่วนใหญ่คล้ายกับงานทำบุญมงคล แต่มีข้อแตกต่างอยู่บางประการ คือ
๑. อาราธนาพระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์ มีจำนวนนิยม ๘ รูป หรือ ๑๐ หรือกว่า นั้นขึ้นไป แล้วแต่กรณี ใน เรื่องอาราธนาพระสงฆ์สำหรับทำบุญงานอวมงคล ไม่ใช้คำอาราธนาว่า "ขออาราธนาเจริญพระพุทธมนต์" เหมือนอย่างทำบุญงานมงคล แต่ใช้คำอราธนาว่า "ขออราธนา สวดพระพุทธมนต์"
๒. ไม่ตั้งน้ำวงด้าย หมายความว่า ไม่ต้องตั้งภาชนะน้ำสำหรับทำน้ำมนต์ และไม่มี การวงด้ายสายสิญจน์
๓. เตียมสายโยงหรือภูษาโยงต่อจากศพไว้ เพื่อใช้บังสุกุลสายโยงนั้น ก็ใช้สายสิญจน์ นั่นเอง แต่ไม่เรียกว่าสายสิญจน์เหมือนงานมงคล เรียกว่า สายโยง ถ้าไม่ใช้สายสิญจน์โยง มีหลักที่ต้องระวังอย่างหนึ่ง คือ จะโยงในที่สูงกว่าพระพุทธรูป ที่ตั้งในพิธีไม่ได้ และจะปล่อย ให้ลาดมากับพื้นที่เดินหรือนั่งก็ไม่เหมาะเพราะสายโยงนี้ เป็นสาย ที่ล่ามโยงออกมาจากกระหม่อม ของศพ เป็นสิ่งเนื่องด้วยศพ จึงต้องล่ามหรือโยงให้สมควร
ส่วนการปฏิบัติกรณียกิจ ในเมื่อพระสงฆ์มาถึงตามกำหนดแล้วก็คล้ายกับงานมงคล
สำหรับข้อปฏิบัติในวันเลี้ยงพระ ก็เช่นเดียวกับที่กล่าวแล้วในงานมงคล มีแต่เพียงว่า ในงานมงคล หลังจากพระสงฆ์ฉันเสร็จแล้ว นิยมให้มีบังสุกุล แล้วจึงถวายไทยธรรม เมื่อพระสงฆ์ อนุโมทนาพึงกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลต่อไป
พิธีฝ่ายภิกษุสงฆ์ ต้องใช้พัดที่เกี่ยวกับงานศพเป็นเหมาะสม เพราะงานอวมงคล เป็นเรื่องเกี่ยวกับการตายทั้งสิ้น ถ้าไม่มี จะใช้พัดงานอื่นก็ได้ เช่น พัดงานฉลองต่าง ๆ การสวดมนต์ ในงานอวมงคลนี้ (สวดมนต์เย็นและฉันวันรุ่งขึ้น) มีระเบียบนิยมเหมือนกัน ในตอนต้นและตอนท้าย ทุกงาน ต่างกันแต่ตอนกลาง ซึ่งมีนิยมเฉพาะงาน ๆ ดังนี้
๑. ทำบุญศพ ๗ วัน สวดอนัตตลักขณสูตร
๒. ทำบุญศพ ๕๐ วัน สวดอาทิตตปริยายสูตร
๓. ทำบุญศพ ๑๐๐ วัน หรือทำบุญหน้าวันปลงศพสวดธรรมนิยามสูตร
๔. ทำบุญศพในวาระอื่นจากที่กล่าวนี้จะสวดสูตาอื่นใดนอกจากที่กล่าว นี้ก็ได้ แล้วแต่ เจ้าภาพประสงค์หรือหัวหน้านำสวด แต่มีธรรมเนียมอยู่ว่า ไม่สวดเจ็ดตำนาน สิบสองตำนาน ธรรมจักร มหาสมัย
ในการสวดนี้ มีระเบียบปฏิบัติ คือ เมื่อพระหัวหน้าให้ศีลและเจ้าภาพอาราธนา สวดพระปริตรจบแล้ว ไม่ต้องขัด สคฺเค พระทุกรูปประนมมือพร้อมกันแล้ว หัวหน้านำสวด
ก. นมการปาฐะ (นโม......)
ข. สรณคมนปาฐะ (พุทฺธํ สรณํ.....)
ค. ปัพพโตปมคาถาและอริยธนคาถา (ยถาปิ เสลา....)
พอจบตอนนี้ ทั้งหมดลดมือลง แล้วรูปที่นั่งอันดับ ๓ ตั้งพัดขัดบทขัดของสูตร ที่กำหนด สวดตามงานสูตรใดสูตรหนึ่ง เมื่อขัดจบวางพัด ทุกรูปประนมมือพร้อมกันอีก หัวหน้านำสวดสูตร ที่ขัดนำนั้น จบสูตรแล้ว นำสวดบทท้ายสวดมนต์ของงานอวมงคลต่อ คือ
ก. ปฏิจจปมุปบาท (อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา....)
ข. พุทธอุทานคาถา (ยทา หเว....)
ค. พุทเทกรัตตคาถา (อตีตํ นานฺวาคเมยฺย....)
ฆ. ภวตุ สพฺพมงฺคลํ....
ถ้าสวดธรรมนิยามสูตร ใช้สวดติลักขณาทิคาถา (สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจาติ ฯเปฯ เต โลเก ปรินิพฺพุตาติ) ก่อนสวดปฏิจจสมุปบาท
เมื่อพระสวดมนต์จบแล้ว ถ้ามีการชักผ้าบังสุกุลต่อท้าย เจ้าจะลากสายโยงหรือภูษาโยง แล้วทอดผ้า พอทอดถึงรูปสุดท้าย พระสงฆ์ก็ตั้งพัดพร้อมกัน (อย่าข้าสายโยง หรือภูษาโยง เพราะ จะถือว่าเป็นการข้ามศพ) การตั้งพัดในพิธีชักบังสุกุลของพระให้ใช้มือซ้ายจับพัดแล้วใช้มือ ขวาจับผ้าบังสุกุล
ในกรณีที่เจ้าภาพบำเพ็ญกุศลเพียงสดมนต์ ไม่มีการเลี้ยงพระ ไม่ต้องสวดบทถวาย พรพระ เมื่อพระสงฆ์รับไทยธรรมแล้ว หากไม่มีการรีบด่วน ในการอนุโมทนาด้วยบทวิเสส อนุโมทนา พึงใช้บท "อทาสิ เม" เพราะศพยังปรากฏอยู่.
พิธีทำบุญเลี้ยงพระ
พิธีทำบุญเลี้ยงพระ |
พิธีทำบุญเลี้ยงพระ การทำบุญเลี้ยงพระ ตามปกติที่ทำกัน มักนิมนต์พระภิกษุสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ ในสถานที่ที่ประกอบพิธีในตอนเย็น เรียกกันอย่างสามัญว่า สวดมนต์เย็น รุ่งขึ้น เวลาเช้า (บางกรณี เวลาเพล) ถวายภัตตาหารแก่พระภิกษุสงฆ์ที่เจริญพระพุทธมนต์ เมื่อเย็นวานนั้นเรียกกันว่า เลี้ยงพระเช้า (เลี้ยงพระเพล) หรือฉันเช้า (ฉันเพล) และในคราวเดียวกันก็มีการตักบาตรด้วย บางคนมีเวลาน้อย ย่นเวลามาทำพร้อมกัน ในวันเดียว ในตอนเช้าหรือตอนเพลตามความสะดวก โดยนิมนต์พระภิกษุสงฆ์ มาเจริญพระพุทธ มนต์ก่อน จบแล้วถวายภัตตาหารให้เสร็จสิ้นในเวลา เดียวกัน อย่างนี้เรียกว่า ทำบุญเลี้ยงพระ การทำบุญเลี้ยงพระนี้ นิยมทั้งในงานมงคลและงานอวมงคลทั่วไป ที่เรียกว่า ทำบุญ งานมงคลนั้น ได้แก่ การทำบุญเลี้ยงพระดังกล่าว เพื่อความสุขความเจริญแก่จิตใจ โดยปรารภ เหตุที่ดีเป็นมูล เกี่ยวกับฉลองความสำเร็จในชีวิต เช่น ฉลองพระบวชใหม่ เป็นต้น หรือเกี่ยวกับ การริเริ่มชีวิตใหม่เพื่อให้เกิดความสำเร็จ ตามปรารถนาด้วยดี ตลอดไป เช่น ทำบุญขึ้นบ้านใหม่ ทำบุญแต่งงาน หรือเรียกว่ามงคลสมรส เป็นต้น ส่วนที่เรียกว่า ทำบุญงานอวมงคล ได้แก่ การทำบุญเลี้ยงพระเพื่อประโยชน์เกื้อกูล และความสุขโดยปรารภเหตุไม่สู้ดี เนื่องจากมีการตาย ขึ้นในวงญาติ หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องในครอบครัวจัดการทำบุญขึ้น เพื่อให้สำเร็จเป็นประโยชน์ เกื้อกูล และความสุขแก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว และเพื่อเป็นมิ่งขวัญกลาย ๆ แก่ผู้ที่ยังอยู่ งานทำบุญ โดยปรารภเหตุนี้ เรียกว่า ทำบุญงานอวมงคล การทำบุญทั้ง ๒ ประเภทนี้ ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติมี ๒ ฝ่าย คือ ฝ่ายทายก ทายิกาผู้ประกอบด้วยต้องการบุญ เรียกว่า ฝ่ายเจ้าภาพ ๑ ฝ่ายปฏิคาหก ผู้รับทานและ ประกอบพิธีกรรมตามความประสงค์ของเจ้าภาพ ซึ่งเป็นพระภิกษุสงฆ์ เรียกว่า ฝ่ายภิกษุสงฆ์อีก ๑ ทั้งสองฝ่ายนี้มีระเบียบปฏิบัติพิธี กำหนดไว้เพื่อความเรียบร้อยโดยเหมาะสมแต่ละประเภท ของงาน เป็นขนบประเพณีสืบมา ดังต่อไปนี้ ระเบียบพิธี : การทำบุญเลี้ยงพระงานมงคล พิธีฝ่ายเจ้าภาพ ผู้ที่จะทำบุญเนื่องในงานมงคลต่าง ๆ นั้น ในที่นี้เรียกว่า "เจ้าภาพ" เบื้องต้นจะต้องตระเตรียมกิจการต่าง ๆ ที่ควรทำก่อน ดังนี้ ก. อาราธนาพระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ ข. เตรียมที่ตั้งพระพุทธรูปพร้อมทั้งเครื่องบูชา ค. ตกแต่งสถานที่บริเวณพิธี ฆ. วงด้ายสายสิญจน์ ง. เชิญพระพุทธรูปมาตั้งบนที่บูชา จ. ปูลาดอาสนะสำหรับพระสงฆ์ ฉ. เตรียมเครื่องรับรองพระสงฆ์ตามควรแก่ฐานะ ช. ตั้งภาชนะสำหรับทำน้ำมนต์ เมื่อพระสงฆ์มาถึงแล้วตามเวลากำหนด จะต้องปฏิบัติกรณียกิจ ดังต่อไปนี้ ก. คอยล้างเท้าพระสงฆ์และเช็ดด้วย (ปัจจุบันพระสงฆ์สวมรองเท้า และเท้าไม่สกปรก จึงไม่ต้องล้างเท้าก็ได้) ข. ประเคนเครื่องรับรองที่จัดไว้ ค. ได้เวลาแล้ว จุดเทียนธูปที่โต๊ะบูชา บูชาพระแล้วกราบนมัสการ ๓ ครั้ง ฆ. อาราธนาศีล และรับศีล ง. ต่อจากรับศีล อาราธนาพระปริตร เสร็จแล้วไหว้หรือกราบแล้วแต่กรณี จ. นั่งฟังพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ เมื่อจบแล้ว ถวายน้ำร้อนหรือ เครื่องดื่ม อันควรแก่สมณะ แล้วแต่จะจัด ในการปฏิบัติพิธีตามหน้าที่ที่กล่าวนี้ มีข้อที่ควรจะเข้าใจ คือ ๑. เรื่องการอาราธนาพระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ นิยมไม่กำหนดจำนวนข้างมาก แต่นิยมกำหนดข้างน้อยไว้โดยเกณฑ์ คือไม่ต่ำกว่า ๕ รูป เกิน ๕ ไปก็เป็น ๗ หรือ ๙ ข้อน่าสังเกตก็คือ ไม่นิมนต์พระสงฆ์จำนวนคู่ เพราะถือเหมือนอย่างว่า การทำบุญครั้งนี้ มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน แบบเดียวกับครั้งพุทธกาล ซึ่งปรากฏตามบาลีว่า พุทฺธปฺปมุโข ภิกฺขุสงฺโฆ พระภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข โดยตั้งพระพุทธรูปไว้ข้างหน้าแถวพระสงฆ์ นับจำนวนรวมกับพระสงฆ์เป็นคู่ เว้นแต่ในงานมงคลสมรส มักนิยมนิมนต์พระสงฆ์จำนวนคู่ จุดมุ่งหมาย คือ แบ่งให้ฝ่ายเจ้าบ่าวและฝ่ายเจ้าสาวนิมนต์พระมาจำนวนเท่า ๆ กัน เมื่อมารวมกัน จึงเป็นจำนวนคู่ แต่ในพิธีหลวงในปัจจุบันนี้ มักอาราธนาพระสงฆ์ เป็นจำนวนคู่ เช่น ๑๐ รูป เป็นต้น ๒. เรื่องเตรียมที่ตั้งพระพุทธรูปพร้อมทั้งเครื่องบูชา ที่ตั้งพระพุทธรูปพร้อมทั้งเครื่องบูชา ในงานพิธีต่าง ๆ นั้น นิยมเรียกสั้น ๆ ว่า "โต๊ะบูชา" สิ่งสำคัญของโต๊ะบูชานี้ ประกอบด้วยโต๊ะรอง ๑ เครื่องบูชา ๑ โต๊ะรองเป็นที่รองรับพระพุทธรูป และเครื่องบูชาปัจจุบันนี้นิยมใช้กันทั่วไป เป็นโต๊ะหมู่ซึ่งสร้างไว้โดยเฉพาะ เรียกกันว่า โต๊ะหมู่บูชา มีเป็นหมู่ ๕ หมู่ ๗ และหมู่ ๙ หมายความว่าหมู่หนึ่ง ๆ ประกอบด้วยโต๊ะ ๕ ตัว ๗ ตัว และ ๙ ตัว ก็เรียกว่าหมู่เท่านั้นเท่านี้ ถ้าในที่ที่หาโต๊ะหมู่ไม่ได้ จะใช้ตั่งอะไรที่สมควรซึ่งไม่สูงหรือต่ำเกินไปนักจัดเป็นโต๊ะบูชาในพิธีก็ได้ โต๊ะหรือตั่งนั้นต้องใช้ผ้าขาวปูพื้นก่อน ถ้าหาผ้าขาวไม่ได้จำเป็นจะใช้ผ้าสี ต้องเป็นผ้าสะอาด และยังมิได้ใช้การอย่างอื่น มาเป็น เหมาะสมที่สุด ผ้าอะไรก็ตามถ้าแสดงลักษณะชัดว่าเป็นผ้านุ่งแล้ว ไม่สมควรอย่างยิ่ง การตั้งโต๊ะบูชานี้มีหลักว่า ต้องตั้งหันหน้าโต๊ะออกทางเดียวกับพระสงฆ์ คือให้พระ พุทธรูปหันพระพักตร์ออกทางเดียวกับพระสงฆ์นั่นเอง ด้วยมุ่งหมายให้พระสงฆ์ มีพระพุทธรูป เป็นประธาน เว้นแต่จำเป็นเกี่ยวกับสถานที่ซึ่งจะต้องให้พระสงฆ์นั่ง มีเบื้องซ้ายอยู่ทางพระพุทธรูป แล้ว จึงต้องตั้งโต๊ะบูชาหันหน้ามาทางพระสงฆ์ให้พระพุทธรูป หันพระพักตร์หาพระสงฆ์ เป็นอัน ไม่ต้องเข้าแถวกับพระสงฆ์ สำหรับเรื่องทิศทางที่จะประดิษฐานพระพุทธรูปนั้น มักจะให้ผิน พระพักตร์ไปสู่ทิศเหนือ ด้วยถือว่าพระพุทธเจ้า เป็นโลกอุดร มิฉะนั้นก็ให้หันไปทางทิศตะวันออก ด้วยถือว่าเป็นทิศพระ (ในวันตรัสรู้ พระพุทธเจ้าประทับนั่งผินพระพักตร์ไปทางตะวันออก) เป็นพื้น แต่เรื่องนี้เห็นว่า ไม่จำเป็นต้องจำกัดเช่นนั้น จะให้ผินพระพักตร์ไปทิศใด ๆ ก็ไม่เกิดโทษ และไม่มีข้อห้าม เป็นอัน แล้วแต่สถานที่จะอำนวยให้ประดิษฐานได้เหมาะสมก็พึงทำได้ทั้งนั้น สำหรับการตั้งเครื่องบูชานั้น ต้องแล้วแต่โต๊ะที่ตั้ง ถ้าเป็นโต๊ะเดี่ยวที่ใช้ตั่ง หรือโต๊ะ ตัวเดียวตั้งแทนโต๊ะหมู่ เครื่องบูชาควรมีแจกันประดับดอกไม้ ๑ คู่ ตั้ง ๒ ข้างพระพุทธรูป ไม่ชิด หรือห่างจนเกินไป ถัดมาแถวหน้าพระพุทธรูป ตั้งกระถางธูปตรงหน้า พระพุทธรูปกับเชิงเทียน ๑ คู่ ตั้งตรงกับแจกัน เพียงเท่านี้ก็สำเร็จรูปเป็นโต๊ะบูชา พอสมควร สำหรับโต๊ะหมู่จะแสดงการตั้งโต๊ะหมู่ ๗ เป็นตัวอย่าง ดังนี้ หลักโต๊ะหมู่ ๗ มีอยู่ว่า ใช้แจกัน ๒ คู่ คู่ ๑ ตั้งบนโต๊ะกลางที่ตั้งพระพุทธรูป ชิดด้านหลัง ๒ ข้างพระพุทธรูปอยู่ตรงมุมทั้ง ๒ ด้านหลัง อีกคู่ ๑ ตั้งบนโต๊ะข้างตัวละ ๑ ชิดมุมด้านหลัง ถือหลักว่าแจกันเป็นพนักหลังสุด จะตั้งล้ำมาข้างหน้าไม่ควร พานดอกไม้ ๕ พาน ตั้งกลางโต๊ะ ทุกโต๊ะ เว้นโต๊ะกลางแถวหน้าซึ่งตั้งกระถางธูป เชิงเทียน ๕ คู่ ตั้งที่โต๊ะข้างซ้ายและขวามือโต๊ะละ ๑ ที่มุมหน้าตรงข้ามกับแจกัน รวม ๒ ซีก ๒ คู่ ตรง กลางตั้งแต่โต๊ะพระพุทธรูปลงมา ๓ ตัว ตั้งตัวละคู่ที่มุมโต๊ะทั้ง ๒ ด้านหน้า รวมอีก ๓ คู่ สำหรับคู่ที่อยู่บนโต๊ะที่ตั้ง พระพุทธรูปนั้นก็จำเป็น เช่น บังพระพุทธรูปหรือชิดพระพุทธรูปเกินไป จะตัดออกเสียคู่หนึ่งก็ได้ แม้โต๊ะหมู่อื่นนอกจากหมู่ ๗ ที่กล่าวนี้ ก็ถือหลักการตั้งเช่นเดียวกัน ๓. เรื่องตกแต่งสถานที่บริเวณพิธี นิยมให้สะอาดเรียบร้อยเป็นสำคัญ เพราะเป็นการ ทำบุญต้องการสิริมงคล และออกแขกด้วยความสะอาด เรียบร้อยทุกอย่าง เป็นสิ่งที่ควรกระทำ อย่างยิ่ง ถ้าได้เพิ่มการตกแต่งเพื่อความสวยงามขึ้นอีก ก็เป็นการดียิ่ง ทั้งนี้สุดแต่ฐานะและกำลัง ของตนเป็นสำคัญ ๔. เรื่องวงด้ายสายสิญจน์ คำว่า สิญจน์ แปลว่า การรดน้ำ คือ การรดน้ำ ด้วยพิธี สืบเนื่องมาแต่พิธีพราหมณ์ เดิม “สาย” เข้าข้างหน้า เป็นสายสิญจน์ กลายเป็นวัตถุชนิดหนึ่ง ที่นำมาใช้ในงานมงคลต่าง ๆ สายสิญจน์ได้แก่สายที่ทำด้วยด้ายดิบ โดยวิธีจับเส้นด้ายในเข็ด เส้นเดียว จับออกครั้งแรกเป็น ๓ เส้น ม้วนเข้ากลุ่มไว้ ถ้าต้องการให้สายใหญ่ ก็จับอีกครั้งหนึ่ง จะกลายเป็น ๙ เส้น ในงานมงคลทุกประเภท นิยมใช้สายสิญจน์ ๙ เส้น เพราะกล่าวกันว่า สายสิญจน์ ๓ เส้น สำหรับใช้ในพิธีเบิกโลงผี จะนำมาใช้ในพิธีงานมงคลไม่เหมาะสม ถ้าเพ่ง การวงสายสิญจน์ มีเกณฑ์ถืออยู่ว่า ถ้าเป็นบ้านมีรั้วรอบให้วงรอบรั้ว ถ้าไม่มีรั้วรอบ หรือมีแต่กว้างเกินไปหรือมีอาคาร หรือสิ่งปลูกสร้างอื่นที่ไม่เกี่ยวกับพิธี อยู่ร่วมในรั้วด้วยก็ให้วง เฉพาะอาคารพิธีโดยรอบ ถ้าเจ้าภาพไม่ต้องการวงสายสิญจน์ รอบรั้วบ้านหรือรอบอาคารที่ตน ประกอบพิธีทำบุญ จะวงสายสิญจน์ที่ฐานพระพุทธรูป บนโต๊ะบูชาเท่านั้น แล้วโยงมาที่ภาชนะ สำหรับทำน้ำมนต์ก็ได้ การโยงสายสิญจน์จากฐานพระพุทธรูปมายังภาชนะน้ำมนต์ ควรโยง หลบเพื่อไม่ให้ต้องข้ามสายสิญจน์ ในเวลาจุดธูปเทียน เมื่อวงที่ภาชนะสำหรับทำน้ำมนต์แล้ว พึงวางกลุ่มด้ายสายสิญจน์ไว้บนพาน สำหรับรองสายสิญจน์ ซึ่งอยู่ทางหัวอาสน์สงฆ์ใกล้ภาชนะ สำหรับทำน้ำมนต์ การวงสายสิญจน์ถือหลักวงจากซ้ายไปขวาของสถานที่หรือวัตถุ มีข้อที่ถือเป็น เรื่องควรระวังอยู่อย่างหนึ่ง คือ ในขณะที่วงสายสิญจน์อย่าให้สายสิญจน์ขาด อนึ่ง สายสิญจน์ที่วงพระพุทธรูปแล้วนี้จะข้ามกรายมิได้เพราะถ้าข้ามกรายแล้ว เท่ากับข้ามพระพุทธรูป เป็นการแสดงควาไม่เคารพต่อพระพุทธรูปทีเดียว หากมีความจำเป็น ที่จะต้องผ่านสายสิญจน์ ก็ต้องลอดมือหรือก้มศีรษะลอดภายใต้สายสิญจน์ผ่านไป ๕. เรื่องเชิญพระพุทธรูปมาตั้งบนที่บูชา เป็นกิจที่พึงทำเมื่อใกล้จะถึงกำหนดเวลา ประกอบพิธีพระพุทธรูปนั้นจะเป็นพระปางอะไรก็แล้วแต่จะหาได้ ขอให้เป็นพระพุทธรูปเท่านั้น ไม่ใช่พระเครื่องซึ่งเล็กมากไม่เหมาะแก่พิธี พระพุทธรูป ถ้ามีครอบควรเอาครอบออก ตั้งเฉพาะ องค์พระเท่านั้น และที่องค์พระไม่สมควรจะนำ อะไรที่ไม่เหมาะสมประดับ เช่น พวงมาลัยหรือ ดอกไม้ เป็นต้น ควรให้องค์พระเด่น เป็นสำคัญ เว้นแต่ที่ฐานพระจะใช้พวงมาลัยวงรอบฐาน กลับดูงามดีไม่มีข้อห้าม ดอกไม้บูชามีระเบียบจัดดังกล่าวแล้วในเรื่องตั้งเครื่องบูชา ก่อนที่จะ ยกพระพุทธรูป จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งก็ดี ในขณะที่วางพระพุทธรูปลง ณ ที่บูชาก็ดี ควรจะ น้อมไหว้ ก่อนยก หรือน้อมไหว้ในเมื่อวางลงแล้ว เป็นอย่างน้อย ถ้าถึงกราบได้เป็นงดงาม ๖. เรื่องปูลาดอาสนะสำหรับพระสงฆ์ นิยมใช้กันอยู่ ๒ วิธี คือ ยกพื้นอาสน์สงฆ์ ให้สูงขึ้นโดยใช้เตียงหรือม้าวางต่อกันเข้าให้ยาวพอแก่จำนวนสงฆ์ อีกวิธีหนึ่ง ปูลาดอาสนะ บนพื้นธรรมดา อาสน์สงฆ์ชนิดยกพื้นนิยมใช้ผ้าขาวปูลาด จะมีผ้านิสีทนะ (ผ้าปูนั่ง) ปูอีกชั้นหนึ่ง หรือไม่ก็ได้ โดยเฉพาะอาสน์สงฆ์ยกพื้นนี้ มักจัดในสถานที่ที่ฝ่ายเจ้าภาพนั่งเก้าอี้กัน ส่วนอาสนะ ชนิดที่ปูลาดบนพื้นธรรมดา จะใช้เสื่อหรือพรมหรือผ้าที่สมควรปูก็สุดแต่จะมีหรือหาได้ ข้อที่ควร ระวัง คือ อย่าให้อาสนะพระสงฆ์กับอาสนะของคฤหัสถ์ฝ่ายเจ้าภาพเป็นอันเดียวกัน ควรปูลาด ให้แยกจากกัน ถ้าจำเป็นแยกไม่ได้โดยปูเสื่อหรือพรมไว้เต็มห้องสำหรับอาสนะพระสงฆ์ ควรจัด ปูทับเสื่อหรือพรมนั้นอีกชั้นหนึ่งจึงจะเหมาะ ๗. เรื่องเตรียมเครื่องรับรองพระสงฆ์ ตามแบบและประเพณี ก็มีหมากพลู บุหรี่ น้ำร้อน น้ำเย็น และกระโถน การวางเครื่องรับรองเหล่านี้มีหลักว่า ต้องวางทางด้านขวามือของพระ ระหว่างรูปหนึ่งกับอีกรูปหนึ่งที่นั่งเรียงกัน ด้านขวามือของรูปใด ก็เป็นเครื่องรับรองของรูปนั้น การวางให้วางกระโถนข้างในสุด เพราะเป็นสิ่งไม่ต้องประเคน ถัดออกมาภาชนะน้ำเย็น ออกมา อีกเป็นภาชนะใส่หมากพลูบุหรี่ ซึ่งรวมอยู่ในที่เดียวกัน เมื่อพระสงฆ์นั่งก็ประเคนตั้งแต่ข้างใน ออกมาหาข้างนอก คือ น้ำเย็น แล้วหมากพลูบุหรี่ ส่วนน้ำร้อนจัดประเคน ตั้งแต่ข้างในออกมา หาข้างนอก คือ น้ำเย็น แล้วหมากพลูบุหรี่ ส่วนน้ำร้อนจัดประเคนภายหลัง ไม่ต้องตั้งประจำ ที่เหมือนอย่าง เครื่องดังกล่าวแล้ว เครื่องรับรองดังกล่าวนี้ ถ้าจำกัด จะจัดรับรอง ๒ รูป ต่อ ๑ ที่ก็ได้ และให้จัดวางตามลำดับ ในระหว่างรูปที่ต้องการให้ใช้ร่วมกัน ๘. เรื่องตั้งภาชนะสำหรับทำน้ำมนต์ ควรเตรียมภาชนะเป็นประการแรก ถ้าไม่มีครอบ น้ำมนต์ ซึ่งเป็นของสำหรับใส่น้ำมนต์โดยเฉพาะ จะใช้บาตรของพระหรือขันน้ำ พานรองแทนก็ได้ แต่ขันต้องไม่ใช่ขันเงินหรือทองคำ เพราะเงินและทองเป็นวัตถุ อนามาสไม่ควรแก่การจับต้อง ของพระ ต่อไปก็หาน้ำสะอาดใส่ในภาชนะ ห้ามไม่ให้ใช้น้ำฝน ทั้งนี้เห็นจะเป็นด้วยถือว่า น้ำที่ จะศักดิ์สิทธิ์ขึ้นได้ ต้องมาจากธรณี ส่วนน้ำฝนมาจากอากาศจึงไม่นิยม น้ำที่ใส่ควรใส่แต่เพียง ค่อนภาชนะเท่านั้น ควรหาใบเงินใบทอง ใส่ลงไปด้วยแต่เพียงสังเขปเล็กน้อย (ถ้าหาไม่ได้ จะใช้ ดอกบัวใส่แทนก็ได้ แต่ดอกไม้อื่นไม่ควร) ต้องมีเทียนน้ำมนต์อีกหนึ่งเล่ม ควรเป็นเทียนขี้ผึ้งแท้ ขนาดหนัก ๑ บาทเป็นอย่างต่ำ ติดที่ปากบาตรหรือขอบขัน หรือบนยอดจุกฝาครอบน้ำมนต์ ไม่ต้องจุด แล้วนำไปวางไว้หน้าโต๊ะบูชาให้ค่อนมาทางอาสนะพระสงฆ์ ใกล้กับรูปที่เป็นหัวหน้า เพื่อหัวหน้าจะได้หยดเทียนทำน้ำมนต์ในขณะสวดมนต์ได้สะดวก ๙. เรื่อง จุด เทียน ธูป ที่โต๊ะบูชา เจ้าภาพควรจุดเอง ไม่ควรให้คนอื่นจุดแทน เพราะเป็น การนมัสการพระอันเป็นกิจเบื้องต้นของบุญ การจุดควรจุดเทียนก่อน จุดด้วยไม้ขีดหรือเทียน ชนวน อย่าต่อจากตะเกียง หรือไฟอื่น เทียนติดดีแล้ว ใช้ธูป ๓ ดอกจุดต่อที่เทียนจนติดดี จึงปักลงให้ตรง ๆ ในกระถางธูป แล้วตั้งใจบูชาพระ ต่อจากนี้จึงดำเนินพิธีไปตามลำดับ คืออาราธนาศีล รับศีลแล้ว อาราธนาพระปริตร วิธีอาราธนาจักกล่าวต่อไปข้างหน้า พออาราธนาพระปริตรจบแล้ว พระสงฆ์เริ่มสวดมนต์ ทุกคนที่อยู่ในบริเวณพิธี พึงนั่ง ประนมมือฟังพระสวดด้วยความเคารพ พอพระเริ่มสวดมงคลสูตรขึ้นต้นบท อเสวนา จ พาลานํ เป็นต้น เจ้าภาพพึงเข้าไปจุดเทียนน้ำมนต์ที่บาตร หรือครอบน้ำมนต์หน้าพระแล้วประเคนบาตร หรือครอบน้ำมนต์นั้นต่อหัวหน้าสงฆ์ เพื่อท่านจะได้ทำน้ำมนต์ต่อไป ๑๐. ข้อปฏิบัติวันเลี้ยงพระ ถ้าเลี้ยงพระในวันรุ่งขึ้น การเตรียมเครื่องรับรองพระสงฆ์ พึงจัดอย่างวันสวดมนต์เย็น เมื่อพระภิกษุสงฆ์มาพร้อมตามเวลาแล้ว เจ้าภาพพึงจุดธูปเทียน เครื่องนมัสการบูชาพระแล้วอาราธนาศีลและรับศีลอย่างเดียวกับวันก่อน เสร็จแล้วไม่ต้องอาราธนา พระปริตร พระสงฆ์จะเริ่มสวดถวายพรพระเอง ถ้ามีการตักบาตรด้วย พึงเริ่มลงมือตักบาตร ขณะพระสงฆ์สวดถึงบท พาหุง และให้เสร็จก่อน พระสงฆ์สวดจบ เตรียมยกบาตรและภัตตาหาร มาตั้งไว้ให้พร้อม พอสวดจบก็ประเคนให้ พระฉันได้ทันที ถ้าไม่มีตักบาตรเจ้าภาพก็นั่งประนมมือ ฟังพระสวดไปพอสมควรแล้ว เตรียมตั้งภัตตาหารเมื่อพระสวดจวนจบ แต่ถ้าเป็นงานวันเดียว คือ สวดมนต์ก่อนฉัน การตระเตรียมต่าง ๆ ก็คงจัดครั้งเดียว พระภิกษุสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ก่อน แล้วสวดถวายพรพระต่อท้าย เจ้าภาพพึงนั่งประนมมือฟัง เมื่อพระสงฆ์สวดถึงบทถวายพรพระ จึงเตรียมภัตตาหารไว้ให้พร้อม พอพระสวดจบก็ยกประเคน ได้ สุดท้ายพิธี เมื่อพระภิกษุสงฆ์ฉันอิ่มแล้ว ถวายเครื่องไทยธรรม ต่อนั้น พระสงฆ์ อนุโมทนา ขณะพระว่าบท ยถา... ให้เริ่มกรวดน้ำให้เสร็จก่อนจบบท ยถา... พอพระว่าบท สพฺพีติโย... พร้อมกัน ถึงประนมมือรับพรตลอดไปจนจบ แล้วส่งพระกลับ อนึ่ง การเลี้ยงพระในพิธีทำบุญเลี้ยงพระนี้ มีประเพณีโบราณสืบเนื่องกันมานาน อย่างหนึ่ง คือ ประเพณีถวายข้าวพระพุทธ เห็นจะเนื่องมาจากถือว่า พระสงฆ์ที่นิมนต์มาฉัน ในพิธีนั้นมีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขตามหลักพระบาลีที่กล่าวมาแล้ว ฉะนั้นการถวายภัตตาหาร แก่พระสงฆ์ ก็ต้องถวายองค์ประมุข คือ พระพุทธเจ้าด้วย แม้พระองค์ปรินิพพานไปนานแล้ว ก็จำต้องทำการถวายต่อพระพักตร์พระพุทธรูป ให้เป็นกิริยาสำเร็จรูปสมตามเจตนานั้น เหตุนี้ ในงานทำบุญ ไม่ว่างานมงคลหรืองานอวมงคล จึงนิยมถวายภัตตาหารแด่พระพุทธรูปด้วย ซึ่งเรียกกันทั่วไปว่า ถวายข้าวพระพุทธ ถ้ามีตักบาตรก็ต้องตั้งบาตรพระพุทธไว้หัวแถว ด้วยเช่นกัน ข้าวพระพุทธที่ถวายนั้นนิยมจัดอย่างเดียวกับที่ถวายพระสงฆ์เมื่อเสร็จภัตกิจแล้ว ข้าวพระพุทธนั้นตกเป็นของมรรคนายกวัด หรืออุบาสกอุบาสิกาผู้มาในงาน แต่บางงานเนื่องด้วยที่ จำกัดหรือจะเป็นเพราะเรียวลงตามกาลเวลา หรือความง่ายของบุคคลหาทราบไม่ เจ้าภาพจึง จัดสำรับพระพุทธเพียงสำรับเล็ก ๆ ก็มี การถวายนี้เป็นหน้าที่ของเจ้าภาพ พึงใช้ผ้าขาวปูบนโต๊ะ ที่จะนำมาตั้งรองข้าวพระพุทธ หรือปูบนพื้นราบก็ได้ ตรงหน้าโต๊ะบูชาแล้วตั้งสำรับคาวหวาน พร้อมทั้งข้าวน้ำให้บริบูรณ์บนโต๊ะหรือบนพื้นผ้านั้น เสร็จแล้วจุดธูป ๓ ดอก ปักในกระถางธูป หน้าโต๊ะบูชา นั่งคุกเข่าประนมมือ ตรงหน้าที่ตั้งข้าวพระพุทธและโต๊ะบูชา ว่านโม ๓ จบ แล้วว่า คำถวาย ดังนี้ “อิมํ สูปพฺยญฺชนสมฺปนฺนํ สีลีนํ โอทนํ, อุทกํ วรํ พุทฺธสฺส ปูเชมิ” จบแล้วกราบ ๓ ครั้ง ต่อนี้จึงจัดถวายภัตตาหารแก่พระสงฆ์ ตามวิธีที่กล่าวแล้ว เมื่อเสร็จภัตกิจ และพระสงฆ์อนุโมทนาเสร็จจนกลับหมดแล้ว ถ้ามีการเลี้ยงแขก ผู้มา ในงานต่อก็เป็นหน้าที่ของอุบาสกหรืออุบาสิกา ผู้รู้ธรรมเนียมวัดจะลาข้าวพระพุทธนั้น มา รับประทาน การลาข้าวพระพุทธมีนิยมดังนี้ ผู้ลาพึงเข้าไปนั่ง คุกเข่าหน้าสำรับ ที่หน้าโต๊ะบูชานั้น กราบ ๓ ครั้งก่อน แล้วประนมมือกล่าวคำว่า “เสสํ มงฺคลา ยาจามิ” แล้วไหว้ ต่อนั้นยกข้าว พระพุทธออกไปได้เลย พิธีฝ่ายภิกษุสงฆ์ เริ่มต้นเมื่อพระสงฆ์รับนิมนต์ไปในงานทำบุญแล้ว ถึงวันกำหนด ถ้าเจ้าภาพกำหนดจะมารับ พึงเตรียมตัวไว้ให้พร้อมก่อนถึงเวลา พอมีคนมารับ ก็ให้ไปได้ทันที ควรไปตามกำหนดให้ถึงที่งานก่อนเวลาพอสมควร อย่าให้ก่อนมากนัก เพราะเกี่ยวด้วยการ เตรียมการของเจ้าภาพอาจยังไม่พร้อมก็ได้ จะเป็นเหตุให้เจ้าภาพ อึดอัดในการที่ยังไม่พร้อม จะรับรอง และอย่าให้กระชั้นเวลาจนเกินไป เพราะจะทำให้เจ้าภาพกระวนกระวาย การไปในงานต้องนุ่มห่มให้เรียบร้อยเป็นสมณสารูป ตามแบบนิยมของวัด ควรมีพัด ไปด้วยทุกรูป และควรใช้พัดงานมงคลไม่ใช่พัดงานศพ พัดงานศพที่ถือเป็นข้อห้ามอย่างจริงจัง นั้นคือ พัดที่มีอักษรปรากฏว่า ที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ... ในงานฌาปนกิจศพ... เพราะพัดงานศพใช้สำหรับงานอวมงคลเท่านั้น ถ้าขัดข้อง เพราะเหตุจำเป็นจริง ๆ อย่างใด อย่างหนึ่ง ไม่สามารถจะนำพัดไปได้ทุกรูป (สำหรับ พระสงฆ์วัดเดียวกันทั้งหมด) ก็ควรมีไปเฉพาะ หัวหน้ารูปเดียว เพราะพัดที่ต้องนำไปนี้ จำต้องใช้ในคราว ก. ให้ศีล เฉพาะหัวหน้า ข. ขัด สคฺเค และขัดตำนาน เฉพาะรูปที่นั่งอันดับที่ ๓ ค. อนุโมทนาท้ายพิธี ต้องใช้ทุกรูป และ ฆ. ถ้ามีการบังสุกุลอัฐิประกอบด้วย ก็ต้องใช้ทุกรูปเช่นกัน เรื่องการนำพัดไปในงานทำบุญนี้ บางแห่งถือกันว่า ถ้าพระสงฆ์มีพัดไปในงาน ทุกรูป เป็นการให้เกียรติแก่เจ้าภาพด้วย เมื่อไปถึงที่งานแล้ว ได้เวลาเจ้าภาพจะนิมนต์เข้าที่ ขณะขึ้นนั่งบนอาสนะที่เจ้าภาพจัด ปูไว้ ควรพิจารณาเสียก่อน ถ้าเป็นอาสนะผ้าขาวไม่ควรขึ้นเหยียบ หรือทำอาการใด ๆ ให้ฝ่าเท้า ถูกผ้าขาวสกปรกด้วย ควรคุกเข่าบนผ้าขาวเดินเข่าเข้าไปยังที่นั่ง ถ้าไม่ใช่อาสนะผ้าขาว ควรปฏิบัติโดยอาการที่เหมาะสมเรียบร้อยน่าดูเป็นเหมาะที่สุด ให้เข้านั่งกันตามลำดับไว้ ระยะให้พองาม นั่งแบบพับเพียบให้ได้แถวได้แนว ดูเข่าให้เสมอกันและนั่งอย่างผึ่งผาย ไม่ควรนั่งงอหลังหรือเท้าแขน เข้าที่แล้ววางพัดไว้ทางหลังด้านขวามือ เมื่อเจ้าภาพเริ่มอาราธนาศีล พระเถระผู้เป็นหัวหน้าพึงคลี่กลุ่ม สายสิญจน์แล้วส่งต่อกัน ไปจนถึงรูปสุดท้าย พออาราธนาศีลถึงวาระที่ ๓ ว่าตติยมฺปิ... ผู้เป็นหัวหน้าพึงตั้งพัดเตรียมให้ศีล การจับพัดให้จับด้วยมือขวาที่ด้ามถัดคอพัดลงมา ๔ - ๕ นิ้ว หรือกะว่าจับตรงส่วนที่สามตอนบน ของด้ามพัด ใช้มือกำด้ามด้วยนิ้วทั้ง ๔ เว้นนิ้วแม่มือ เฉพาะนิ้วแม่มือยกขึ้นแตะด้ามให้ทาบ ตรงขึ้นไปตามด้ามพัดนั้น นำสายสิญจน์ขึ้นพาดไว้บนนิ้วชี้ ตั้งพัดให้ตรงหน้า ปลายด้ามอยู่กึ่งกลาง อย่าให้ห่างตัวหรือชิดตัวมากนัก และอย่าตั้งนอกสายสิญจน์ ดูหน้าพัดให้หันออกข้างนอก ให้พัดตั้ง ตรงได้ฉากเป็นงาม พอจบคำอาราธนาศีลก็ตั้ง นโม ให้ศีลทันที ให้ไปถึงตอนจบไตรสรณคมน์ ไม่ต้องว่า "ติสรณคมนํ นิฏฐิตํ" เพราะคำนี้ใช้เฉพาะในพิธี สมาทานศีลจริง ๆ เช่น สมาทาน อุโบสถศีล ในการรับศีลเป็นพิธีอย่างในงานทำบุญนี้ ไม่ต้องว่าพึงให้ศีลต่อไตรสรณคมน์ไปเลย ทีเดียว, พอให้ศีลจบก็วางพัด ถ้าไม่ได้นำพัด ไปทุกรูป ให้ส่งพัดต่อให้รูปที่ ๓ เตรียมขัด สคฺเค พอเจ้าภาพอาราธนาพระปริตรถึงครั้งที่สาม รูปที่ต้องขัด สคฺเค เตรียมตั้งพัด แบบเดียว กับที่กล่าวแล้ว พออาราธนาจบก็เริ่มขัดได้ พอขัดจบพระสงฆ์ทุกรูปยกสายสิญจน์ขึ้นประนมมือ พร้อมกัน ใช้ง่ามนิ้วแม่มือทั้งสองรับสายสิญจน์ไว้ในระหว่างประนมมือ แล้วหัวหน้านำว่า นโม และนำสวดมนต์บทต่าง ๆ ไปตามแบบนิยม การเจริญพระพุทธมนต์ในงานมงคล มีกำหนดเป็นหลัก ดังนี้ : เจ็ดตำนานใช้ในงานมงคลทั่วไป : สิบสองตำนาน ธรรมจักร มหาสมัยใช้ในงานมงคลบางอย่าง สุดแต่เจ้าภาพ ประสงค์ หรือสุดแต่พระสงฆ์เห็นเป็นการสมควร ที่ถือกันมาเป็นธรรมเนียม เช่น ในงานทำบุญอายุใหญ่ สวดธรรมจักรและเจ็ดตำนานย่อ งานมงคลสมรส สวดมหาสมัย และเจ็ดตำนานย่อ ในการเจริญพระพุทธมนต์งานมงคลทุกแบบ มีตั้งภาชนะน้ำมนต์ไว้ด้วยก็เพื่อให้ พระสงฆ์ทำน้ำมนต์ในขณะสวด การทำน้ำมนต์นิยมว่าเป็นหน้าที่ของหัวหน้าสงฆ์ เจ้าภาพจะจุด เทียนน้ำมนต์ตั้งแต่เริ่มสวดมงคลสูตร พอสวดรตนสูตร ถึงตอน ขีณํ ปุราณํ นวํ นตฺถิ สมฺภวํ... หัวหน้าสงฆ์พึงใช้มือขวา ปลดเทียนน้ำมนต์ออกจากที่ปัก ถ้าที่น้ำมนต์เป็นครอบ พึงเปิดฝาครอบ แล้วจับเทียน ควบกับสายสิญจน์ เอียงให้หยดลงในน้ำทีละหยด ๆ พร้อมกับสวด พอสวดถึงคำว่า นิพฺ ในคำว่า นิพฺพนฺติ ธีรา ยถายมฺปทีโป ก็ให้จุ่มเทียนลงดับในน้ำมนต์ทันที พอถึงคำว่า ปทีโป จึงยกขึ้น แล้ววางหรือติดเทียนไว้ตามเดิม (นี้กล่าวตามธรรมเนียม แต่ก่อน แต่ในปัจจุบัน พอสวดถึง เย สุปฺปยุตฺตา... เตรียมปลดเทียนน้ำมนต์ และเริ่มหยดเรื่อยไปดับตรงคำว่า นิพฺ เช่นเดียวกันก็มี) เป็นอันเสร็จพิธีทำน้ำมนต์ ต่อนั้นจึงสวดมนต์ต่อไปจนจบ อนึ่ง ในงานมงคล เมื่อตั้งน้ำมนต์ในขณะเจริญพระพุทธมนต์แล้ว เสร็จพิธี หรือเสร็จ การเลี้ยงพระในวันฉัน มักมีประเพณีขอให้พระสงฆ์พรมน้ำพระพุทธมนต์ ให้เจ้าภาพ และบริเวณ สถานที่บ้านเรือนเป็นต้นด้วย ถ้าเจ้าภาพประสงค์ให้มีการพรมน้ำพระพุทธมนต์ต่อท้าย เจ้าภาพ จะต้องเตรียมสิ่งสำหรับพรม คือ หญ้าคา หรือก้าน มะยมมัดเป็นกำไว้ให้พร้อม การใช้หญ้าคา เป็นประเพณีติดมาแต่คติพราหมณ์ ซึ่งมีเรื่องเล่าไว้ในคัมภีร์พระเวทของพราหมณ์ว่า เมื่อครั้ง อสูรกับเทวดาร่วมกันกวน เกษียรสมุทรให้เป็นน้ำอมฤตขึ้นสำเร็จ พวกเทวดาหาอุบายกีดกัน ไม่ให้พวกอสูรได้ดื่ม น้ำอำมฤตนั้น จึงเกิดวิวาทถึงรบราฆ่าฟันกันเป็นการใหญ่ ในการรบกันนั้น น้ำอมฤตได้ กระเซ็นตกมาบนหญ้าคา ๒ - ๓ หยด โดยเหตุนี้เองพวกพราหมณ์จึงถือว่าหญ้าคา เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เพราะเป็นสิ่งที่กำจัดให้ตายได้ยาก เลยนำมาใช้ในพิธีการต่าง ๆ หลายอย่าง ติดมา จนทุกวันนี้ สำหรับชาวพุทธที่ติดประเพณีพราหมณ์ ก็ถือว่าหญ้าคาเป็นหญ้ามงคล เพราะปรากฏ เป็นพุทธบัลลังก์ที่พระพุทธเจ้าประทับใต้ร่มโพธิพฤกษ์ในวันตรัสรู้ จึงนิยมใช้ หญ้าคากันสืบต่อมา ส่วนที่ใช้ก้านมะยมอีกอย่างหนึ่ง เห็นจะเป็นความนิยมเกิดขึ้นในภายหลัง และอาจจะ นิยมเฉพาะในประเทศไทย อย่างเดียวกับที่ชาวจีนนิยมใช้ก้านทับทิมพรมน้ำมนต์ เรื่องใช้ก้าน มะยมในหมู่ชาวไทยนี้ ได้ทราบอธิบายของเกจิอาจารย์มาว่า ท่านถือว่า "ไม้มะยม" มีชื่อพ้องกัน กับ "ยมทัณฑ์" คือ ไม้อาญาสิทธิ์ของพญายม ผู้เป็นเจ้าของภูตผีปีศาจ ไม้ยมทัณฑ์นั้น สามารถปราบหรือกำจัดภูตผีปีศาจได้ทุกทิศทุกทาง ชาวไทยเราถือเคล็ดที่ชื่อพ้องกันนี้นำมา ใช้สำหรับพรมน้ำพระพุทธมนต์ เพื่อขับไล่ เสนียดจัญไร และเพื่อให้มีความขลังหรือศักดิ์สิทธิ์ยิ่งขึ้น ในการใช้ก้านมะยมนี้ จึงนิยมเพิ่มเติมอีกว่า ต้องใช้ ๗ ก้านมัดรวมกัน โดยถือว่าได้จำนวน เท่ากันกับหัวข้อธรรม ในโพชฌงคสูตร ซึ่งเป็นธรรมโอสถวิเศษ และเท่าจำนวนพระปริตร ๗ ตำนาน ที่พระสงฆ์สวดในงานมงคลนั้นด้วย แต่จะอย่างไรก็ตาม เรื่องใช้ก้านมะยมพรมแทน หญ้าคาที่นิยมมาเดิม เห็นจะเป็นเพราะในถิ่นที่เจริญแล้ว เช่น ในเมือง เป็นต้น หาหญ้าคาได้ยาก เพราะไม่มีป่า แต่ต้นมะยมมีอยู่ตามบ้านในเมืองไทยนี้ทั่วไป จึงดัดแปลงมาเพื่อใช้สิ่งที่หาได้ง่าย เป็นประมาณนั่นเอง |
พิธีบรรพชาอุปสมบท
พิธีบรรพชาอุปสมบท |
ครั้งหนึ่งในชีวิตของลูกผู้ชาย การได้บวชถือเป็นมหากุศล อันยิ่งใหญ่ ผลบุญจะแผ่ไปถึง บุคคลผู้ใกล้ชิด และลบล้างกรรมชั่วในอดีตได้ ตามแต่กำลังการบำเพ็ญตน หรือหากท่านยินดี ที่จะดำรงสถานภาพของสมณเพศ ไปจนตลอดชีวิต ก็นับว่า เป็นการอุทิศตน ช่วยธำรงค์ไว้ซึ่งการสืบต่อ ของศาสนาพุทธ ไปจนตราบชั่วกาลนาน สิ่งเล็กๆ น้อยๆ เหล่านี้ก็ถือว่ามีส่วนสำคัญในการคัดเลือกบุคคลที่เหมาะสมจะมาอยู่ในสมณเพศ การหละหลวมในการพิจารณาคุณสมบัติเบื้องต้นของผู้ที่จะมาบวชให้คนทั่วไปเขากราบไหว้ นับถือ มีส่วนทำให้สถาบันศาสนาสั่นคลอน ดังจะเห็นได้จากสิ่งที่เคยเกิดขึ้นว่า คนเคยต้องโทษจำคุกในคดีอาญามาบวชเป็นพระแล้วก็นอกจากจะไม่อยู่ในศีลแล้วยังก่อคดีอุกฉกรรจ์อีกจนได้ ผู้ที่จะบวชเป็นสามเณรหรือพระได้ต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้ ๑.เป็นสุภาพชนที่มีความประพฤติดีประพฤติชอบ ไม่มีความประพฤติเสียหาย เช่นติดสุราหรือยาเสพติดให้โทษเป็นต้น และไม่เป็นคนจรจัด ๒.มีความรู้อ่านและเขียนหนังสือไทยได้ ๓.ไม่เป็นผู้มีทิฏฐิวิบัติ ๔.ไม่เป็นคนล้มละลาย หรือมีหนี้สินผูกพัน ๕.เป็นผู้ปราศจากบรรพชาโทษ และมีร่างกายสมบูรณ์ อาจบำเพ็ญสมณกิจได้ ไม่เป็นคนชราไร้ความสามารถหรือทุพพลภาพ หรือพิกลพิการ ๖.มีสมณบริขารครบถ้วนและถูกต้องตามพระวินัย ๗.เป็นผู้สามารถกล่าวคำขอบรรพชาอุปสมบทได้ด้วยตนเอง และถูกต้องไม่วิบัติ ต่อไปนี้เป็นลักษณะต้องห้ามสำหรับผู้จะบวชได้แก่ ๑.เป็นคนทำความผิด หลบหนีอาญาแผ่นดิน ๒.เป็นคนหลบหนีราชการ ๓.เป็นคนต้องหาในคดีอาญา ๔.เป็นคนเคยถูกตัดสินจำคุกฐานเป็นผู้ร้ายสำคัญ ๕.เป็นคนถูกห้ามอุปสมบทเด็ดขาดทางพระศาสนา ๖.เป็นคนมีโรคติดต่ออันน่ารังเกียจ เช่นวัณโรคในระยะอันตราย ๗.เป็นคนมีอวัยวะพิการจนไม่สามารถปฏิบัติกิจพระศาสนาได้ สิ่งต่างๆ ข้างต้นจะมีเขียนถามไว้ในใบสมัครขอบวชซึ่งต้องไปเขียนที่วัดนั้นๆ การเตรียมตัวก่อนบวช ผู้จะบวชเรียกว่า อุปสัมปทาเปกข์ หรือ นาค ซึ่งต้องท่องคำบาลีหรือที่เรียกกันว่าขานนาคให้คล่องเพื่อใช้ในพิธี โดยต้องฝึกซ้อมกับพระอาจารย์ให้คล่องก่อนทำพิธีบวชเพื่อจะได้ไม่เคอะเขิน นอกจากนี้มีหลายสิ่งหลายอย่างที่ต้องคิด ต้องเตรียมตัว และทำเมื่อคิดจะบวชดังต่อไปนี้ อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ว่าจะต้องทำทั้งหมดเพราะว่าทั้งนี้ให้คำนึงถึงความเหมาะสม และกำลังทรัพย์ด้วย ขั้นตอนบางอย่างไม่จำเป็นต้องมีก็ได้ เครื่องอัฏฐบริขาร เครื่องอัฏฐบริขาร ของที่ต้องใช้ในการบวช ของที่ต้องเตรียมใช้ในพิธีคือ คำขอขมาเพื่อลาบวช คำขอขมาบิดา การบวชนาค แห่นาค การบวชนาคและแห่นาค เครื่องอัฏฐบริขารและเครื่องใช้อื่นๆ ที่ควรมีหรือจำเป็นต้องใช้ได้แก่ ๑.ไตรครอง ได้แก่ สบง ๑ ประคตเอว ๑ อังสะ ๑ จีวร ๑ สังฆาฏิ ๑ ผ้ารัดอก ๑ ผ้ากราบ ๑ ๒.บาตร แบบมีเชิงรองพร้อมด้วยฝา ถลกบาตร สายโยค ถุง ตะเคียว ๓.มีดโกน พร้อมทั้งหินลับมีดโกน ๔.เข็มเย็บผ้า พร้อมทั้งกล่องเข็มและด้าย ๕.เครื่องกรองน้ำ (ธมกรก) ๖.เสื่อ หมอน ผ้าห่ม มุ้ง ๗.จีวร สบง อังสะ ผ้าอาบ ๒ ผืน (อาศัย) ๘.ตาลปัตร ย่าม ผ้าเช็ดหน้า ร่ม รองเท้า ๙.โคมไฟฟ้า หรือตะเกียง ไฟฉาย นาฬิกาปลุก ๑๐.สำรับ ปิ่นโต คาว หวาน จานข้าว ช้อนส้อม ผ้าเช็ดมือ ๑๑.ที่ต้มน้ำ กาต้มน้ำ กาชงน้ำร้อน ถ้วยน้ำร้อน เหยือกน้ำและแก้วน้ำเย็น กระติกน้ำแข็ง กระติกน้ำร้อน ๑๒.กระโถนบ้วน กระโถนถ่าย ๑๓.ขันอาบน้ำ สบู่และกล่องสบู่ แปรงและยาสีฟัน ผ้าขนหนู กระดาษชำระ ๑๔.สันถัต (อาสนะ) ๑๕.หีบไม้หรือกระเป๋าหนังสำหรับเก็บไตรครอง ข้อที่ ๑-๕ เรียกว่าอัฏฐบริขารซึ่งถือเป็นสิ่งจำเป็นที่ขาดเสียมิได้ มีความหมายว่า บริขาร ๘ แบ่งเป็นผ้า ๕ อย่างคือ สบง ๑ ประคตเอว ๑ จีวร ๑ สังฆาฏิ ๑ ผ้ากรองน้ำ ๑ และเหล็ก ๓ อย่างคือ บาตร ๑ มีดโกน ๑ เข็มเย็บผ้า ๑ นอกจากนั้นก็แล้วแต่ความจำเป็นในแต่ละแห่งและกำลังทรัพย์ ของที่ต้องเตรียมใช้ในพิธีคือ ๑.ไตรแบ่ง ได้แก่ สบง ๑ ประคตเอว ๑ อังสะ ๑ จีวร ๑ ผ้ารัดอก ๑ ผ้ากราบ ๑ ๒.จีวร สบง อังสะ (อาศัยหรือสำรอง) และผ้าอาบ ๒ ผืน ๓.ย่าม ผ้าเช็ดหน้า นาฬิกา ๔.บาตร แบบมีเชิงรองพร้อมด้วยฝา ๕.รองเท้า ร่ม ๖.ที่นอน เสื่อ หมอน ผ้าห่ม มุ้ง (อาจอาศัยของวัดก็ได้) ๗.จานข้าว ช้อนส้อม แก้วน้ำ ผ้าเช็ดมือ ปิ่นโต กระโถน ๘.ขันน้ำ สบู่ กล่องสบู่ แปรง ยาสีฟัน ผ้าเช็ดตัว ๙.ธูป เทียน ดอกไม้ (ใช้สำหรับบูชาพระรัตนตรัย) ๑๐.ธูป เทียน ดอกไม้ *(อาจใช้แบบเทียนแพรที่มีกรวยดอกไม้ก็ได้ เอาไว้ถวายพระอุปัชฌาย์ผู้ให้บวช) *อาจจะเตรียมเครื่องจตุปัจจัยไทยธรรมสำหรับถวายพระอุปัชฌาย์และพระในพิธีนั้นอีกรูปละหนึ่งชุดก็ได้ ขึ้นอยู่กับกำลังทรัพย์และศรัทธา คำขอขมาบิดา มารดา และญาติผู้ใหญ่เพื่อลาบวช "กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม ที่ข้าพเจ้าได้เคยประมาทล่วงเกินท่านต่อหน้าก็ดี ลับหลังก็ดี ทั้งตั้งใจก็ดี มิได้ตั้งใจก็ดี ขอให้ท่านจงอโหสิกรรมแก่ข้าพเจ้านับแต่บัดนี้เป็นต้นไปจนตราบเท่านิพพานเทอญ" การบวชนาคและแห่นาค การจัดกระบวนแห่ประกอบด้วยสิ่งต่อไปนี้ คือ - หัวโต หรือห้วสิงโต (มีหรือไม่ก็ได้) - แตร หรือ เถิดเทิง (มีหรือไม่ก็ได้) - ของถวายพระอุปัชฌาย์ คู่สวด - ไตรครอง ซึ่งมักจะอุ้มโดยมารดาหรือบุพการีของผู้บวช (มีสัปทนกั้น) - ดอกบัว ๓ ดอก ธูป ๓ ดอก เทียน ๒ เล่ม ให้ผู้บวชพนมมือถือไว้ (มีสัปทนกั้น) - บาตร และตาลปัตร จะถือและสะพายโดยบิดาของผู้บวช - ของถวายพระอันดับ - บริขารและเครื่องใช้อย่างอื่นของผู้บวช เมื่อจัดขบวนเรียบร้อยแล้วก็เคลื่อนขบวนเข้าสู่พระอุโบสถ เวียนขวารอบนอกขันธสีมา จนครบ ๓ รอบ ก่อนจะเข้าโบสถ์ก็ต้องวันทาเสมาหน้าพระอุโบสถเสียก่อนว่า วันทามิ อาราเม พัทธะเสมายัง โพธิรุกขัง เจติยัง สัพพะ เม โทสัง ขะมะถะ เม ภันเต เมื่อเสร็จแล้วก็โปรยทานก่อนเข้าสู่พระอุโบสถโดยให้บิดามารดาจูงติดกันไป อาจจะอุ้มข้ามธรณีประตูไปเลยก็ได้ เสร็จแล้วผู้บวชก็ไปกราบพระประธานด้านข้างพระหัตถ์ขวาขององค์พระ รับไตรครองจากมารดาบิดา จากนั้นจึงเริ่มพิธีการบวช ขั้นตอนและบทที่ต้องท่องจำ - ใช้ในพิธีบวชแบบมหานิกาย (อุกาสะ) รับผ้าไตรอุ้มประนมมือแล้วเดินเข้าไปในที่ประชุมสงฆ์ในพิธี (สังฆนิบาต) แล้ววางผ้าไตรไว้ข้างตัวด้านซ้าย รับเครื่องสักการะถวายพระอุปัชฌาย์ กราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์ ๓ ครั้ง แล้วอุ้มผ้าไตรประนมมือยืนขึ้นเปล่งวาจาขอบรรพชาว่า อุกาสะ วันทามิ ภันเต สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต มะยา กะตัง ปุญญัง สามินา อะนุโมทิตัพพัง สามินา กะตัง ปุญญัง มัยหัง ทาตัพพัง สาธุ สาธุ อะนุโมทามิ อุกาสะ การุญญัง กัตตะวา ปัพพัชชัง เทถะ เม ภันเต (นั่งคุกเข่าลง แล้วประนมมือว่า) อะหัง ภันเต ปัพพัชชัง ยาจามิ ทุติยัมปิ อะหัง ภันเต ปัพพัชชัง ยาจามิ ตะติยัมปิ อะหัง ภันเต ปัพพัชชัง ยาจามิ (กล่าว ๓ ครั้งว่า) สัพพะทุกขะ นิสสะระณะนิพพานะ สัจฉิกะระณัตถายะ อิมัง กาสาวัง คะเหตะวา ปัพพาเชถะ มัง ภันเต อะนุกัมปัง อุปาทายะ (เสร็จแล้วพระอุปัชฌาจะมารับผ้าไตร แล้วว่าต่อไป) (กล่าว ๓ ครั้งว่า) สัพพะทุกขะ นิสสะระณะนิพพานะ สัจฉิกะระณัตถายะ เอตัง กาสาวัง ทัตตะวา ปัพพาเชถะ มัง ภันเต อะนุกัมปัง อุปาทายะ พระอุปัชฌาย์ให้โอวาทและบอก ตะจะปัญจะกะ กัมมัฏฐาน แล้วให้ว่าตามไปทีละบท โดยอนุโลม (ไปข้างหน้า) และปฏิโลม (ทวนกลับ) ดังนี้ เกสา โลมา นะขา ทันตา ตะโจ (อนุโลม) ตะโจ ทันตา นะขา โลมา เกสา (ปฏิโลม) พระอุปัชฌาย์ ชักอังสะออกจากไตรมาสวมให้ผู้บวช แล้วสั่งให้ออกไปครองผ้าครบไตรจีวรตามระเบียบ ครั้นเสร็จแล้วรับเครื่องไทยทานเข้าไปหาพระอาจารย์ ถวายท่านแล้วกราบ ๓ ครั้ง ยืนประนมมือเปล่งวาจาขอสรณะและศีลดังนี้ อุกาสะ วันทามิ ภันเต สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต มะยา กะตัง ปุญญัง สามินา อะนุโมทิตัพพัง สามินา กะตัง ปุญญัง มัยหัง ทาตัพพัง สาธุ สาธุ อะนุโมทามิ อุกาสะ การุญญัง กัตตะวา ติสะระเณนะ สะหะ สีลานิ เทถะ เม ภันเต (นั่งคุกเข่าขอสรณะและศีลดังต่อไปนี้) อะหัง ภันเต สะระณะสีลัง ยาจามิ ทุติยัมปิ อะหัง ภันเต สะระณะสีลัง ยาจามิ ตะติยัมปิ อะหัง ภันเต สะระณะสีลัง ยาจามิ (พระอาจารย์กล่าวคำนมัสการให้ผู้บรรพชาว่าตามดังนี้) นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (๓ จบ) พระอุปัชฌาย์จะกล่าวว่า เอวัง วะเทหิ หรือ ยะมะหัง วะทามิ ตัง วะเทหิ ให้รับว่า อามะ ภันเต แล้วท่านจะว่านำสรณคมน์ก็ให้ว่าตามดังนี้ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ พอจบแล้วทางพระอุปัชฌาย์จะบอกว่า ติสะระณะคะมะนัง นิฏฐิตัง ก็ให้รับว่า อามะ ภันเต ต่อจากนั้นก็สมาทานสิกขาบท ๑๐ ประการโดยว่าตามท่านไปเรื่อยๆ ดังนี้ ปาณาติปาตา เวรมณี สิกขาปะทัง สมาทิยามิ อทินนาทานา เวรมณี สิกขาปะทัง สมาทิยามิ อะพรหมจริยา เวรมณี สิกขาปะทัง สมาทิยามิ มุสาวาทา เวรมณี สิกขาปะทัง สมาทิยามิ สุราเมรยะมัชชะปมาทัฏฐานา เวรมณี สิกขาปะทัง สมาทิยามิ วิกาละโภชนา เวรมณี สิกขาปะทัง สมาทิยามิ นัจจะคีตะวาทิตะวิสูกะทัสสนา เวรมณี สิกขาปะทัง สมาทิยามิ มาลาคันธะวิเลปะนะธารณะมัณฑนะวิภูสะนัฏฐานา เวรมณี สิกขาปะทัง สมาทิยามิ อุจจาสะยะนะมะหาสะยะนา เวรมณี สิกขาปะทัง สมาทิยามิ ชาตะรูปะ ระชะตะ ปฏิคคหณา เวรมณี สิกขาปะทัง สมาทิยามิ (พระจะกล่าว ๓ ครั้งว่า) อิมานิ ทะสะ สิกขาปะทานิ สมาทิยามิ (เสร็จแล้วพึงกราบลง ๑ หน แล้วยืนขึ้นว่าดังนี้) วันทามิ ภันเต สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต มะยา กะตัง ปุญญัง สามินา อะนุโมทิตัพพัง สามินา กะตัง ปุญญัง มัยหัง ทาตัพพัง สาธุ สาธุ อะนุโมทามิ (คุกเข่าลงกราบ ๓ ครั้ง) ต่อจากนั้นให้รับบาตรอุ้มเข้าไปหาพระอุปัชฌาย์ในสังฆสันนิบาต วางไว้ข้างตัวด้านซ้าย รับเครื่องไทยทานถวายท่านแล้วกราบ ๓ ครั้ง เสร็จแล้วยืนขึ้นประนมมือกล่าวดังนี้ อุกาสะ วันทามิ ภันเต สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต มะยา กะตัง ปุญญัง สามินา อะนุโมทิตัพพัง สามินา กะตัง ปุญญัง มัยหัง ทาตัพพัง สาธุ สาธุ อะนุโมทามิ อุกาสะ การุญญัง กัตตะวา นิสสะยัง เทถะ เม ภันเต (นั่งคุกเข่า) อะหัง ภันเต นิสสะยัง ยาจามิ ทุติยัมปิ อะหัง ภันเต นิสสะยัง ยาจามิ ตะติยัมปิ อะหัง ภันเต นิสสะยัง ยาจามิ (กล่าว ๓ ครั้งว่า) อุปัชฌาโย เม ภันเต โหหิ พระอุปัชฌาย์จะกล่าวรับว่า โอปายิกัง ปะฏิรูปัง ปาสาทิเกนะ สัมปะเทหิ ผู้บวชพึงรับว่า อุกาสะ สัมปะฏิจฉามิ ๓ ครั้งแล้วว่าดังนี้ (กล่าว ๓ ครั้งว่า) อัชชะตัคเคทานิ เถโร มัยหัง ภาโร อะหัมปิ เถรัสสะ ภาโร (เสร็จแล้วยืนขึ้นว่าดังนี้) วันทามิ ภันเต สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต มะยา กะตัง ปุญญัง สามินา อะนุโมทิตัพพัง สามินา กะตัง ปุญญัง มัยหัง ทาตัพพัง สาธุ สาธุ อะนุโมทามิ (คุกเข่าลงกราบ ๓ ครั้ง) ลำดับต่อไปพระอุปัชฌาย์หรือพระอาจารย์จะเอาบาตรมีสายโยคคล้องตัวผู้ขอบวช แล้วบอกบาตรและจีวร ผู้บวชก็รับเป็นทอดๆไปดังนี้
จากนั้นพระอาจารย์ท่านจะบอกให้ออกไปข้างนอกว่า คัจฉะ อะมุมหิ โอกาเส ติฏฐาหิ ผู้บวชก็ถอยออกไปยืนอยู่ในที่ที่กำหนดไว้ (ส่วนใหญ่จะเป็นบริเวณทางเข้าโบสถ์) ต่อจากนี้พระอาจารย์จะสวดถามอันตรายิกธรรม ให้รับ นัตถิ ภันเต ๕ ครั้ง และต่อด้วย อามะ ภันเต อีก ๘ ครั้งดังต่อไปนี้
*หมายเหตุ ผู้บวชจะต้องทราบชื่อทางพระที่พระตั้งให้ใหม่ก่อนวันบวชและต้องจำชื่อพระอุปัชฌาย์ให้ได้ด้วย เสร็จแล้วกลับเข้ามาข้างในที่ประชุมสงฆ์ กราบลงตรงหน้าพระอุปัชฌาย์ ๓ ครั้ง นั่งคุกเข่าประนมมือเปล่งวาจาขออุปสมบทดังนี้ สังฆัมภันเต อุปะสัมปะทัง ยาจามิ อุลลุมปะตุ มัง ภันเต สังโฆ อะนุกัมปัง อุปาทายะ ทุติยัมปิ ภันเต สังฆัง อุปะสัมปะทัง ยาจามิ อุลลุมปะตุ มัง ภันเต สังโฆ อะนุกัมปัง อุปาทายะ ตะติยัมปิ ภันเต สังฆัง อุปะสัมปะทัง ยาจามิ อุลลุมปะตุ มัง ภันเต สังโฆ อะนุกัมปัง อุปาทายะ ต่อมาพระอาจารย์สวดสมมติตนถามอันตรายิกธรรม ผู้บวชก็รับว่า นัตถิ ภันเต ๕ ครั้ง และ อามะ ภันเต ๘ ครั้ง บอกชื่อพระใหม่ของตัวเอง และชื่อพระอุปัชฌาย์แบบที่ผ่านมาอย่างละหนึ่งครั้ง เสร็จแล้วก็นั่งฟังพระสวดกรรมวาจาอุปสมบทไปจนจบ พอจบแล้วท่านก็จะเอาบาตรออกจากตัว ให้กราบลง ๓ ครั้ง นั่งพับเพียบฟังพระอุปัชฌาย์บอกอนุศาสน์ไปจนจบ แล้วก็กล่าวรับว่า อามะ ภันเต เสร็จพิธีก็กราบพระอุปัชฌาย์ ๓ ครั้ง ถ้ามีเครื่องไทยทานก็ให้รับไทยทานถวายพระอันดับ เวลากรวดน้ำก็ให้ตั้งใจรำลึกถึงผู้มีพระคุณอุทิศส่วนกุศลแด่ท่าน ขั้นตอนต่อไปก็นั่งฟังพระท่านอนุโมทนาต่อไปจนจบเป็นอันเสร็จพิธี ขั้นตอนและบทที่ต้องท่องจำใช้ในพิธีบวชแบบธรรมยุต (เอสาหัง) รับผ้าไตรอุ้มประนมมือแล้วเดินเข้าไปในที่ประชุมสงฆ์ในพิธี (สังฆนิบาต) แล้ววางผ้าไตรไว้ข้างตัวด้านซ้าย รับเครื่องสักการะถวายพระอุปัชฌาย์ กราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์ ๓ ครั้ง แล้วอุ้มผ้าไตรประนมมือยืนขึ้นเปล่งวาจาขอบรรพชาว่า เอสาหัง ภันเต สุจิระปะรินิพพุตัมปิ ตัง ภะคะวันตัง สะระณัง คัจฉามิ ธัมมัญจะ ภิกขุสังฆัญจะ ละเภยยาหัง ภันเต ตัสสะ ภะคะวะโต ธัมมะวินะเย ปัพพัชชัง ละเภยยัง อุปะสัมปะทัง ทุติยัมปาหัง ภันเต สุจิระปะรินิพพุตัมปิ ตัง ภะคะวันตัง สะระณัง คัจฉามิ ธัมมัญจะ ภิกขุสังฆัญจะ ละเภยยาหัง ภันเต ตัสสะ ภะคะวะโต ธัมมะวินะเย ปัพพัชชัง ละเภยยัง อุปะสัมปะทัง ตะติยัมปาหัง ภันเต สุจิระปะรินิพพุตัมปิ ตัง ภะคะวันตัง สะระณัง คัจฉามิ ธัมมัญจะ ภิกขุสังฆัญจะ ละเภยยาหัง ภันเต ตัสสะ ภะคะวะโต ธัมมะวินะเย ปัพพัชชัง *ละเภยยัง อุปะสัมปะทัง อะหัง ภันเต ปัพพัชชัง ยาจามิ อิมานิ กาสายานิ วัตถานิ คะเหตะวา ปัพพาเชถะ มัง ภันเต อะนุกัมปัง อุปาทายะ ทุติยัมปิ อะหัง ภันเต ปัพพัชชัง ยาจามิ อิมานิ กาสายานิ วัตถานิ คะเหตะวา ปัพพาเชถะ มัง ภันเต อะนุกัมปัง อุปาทายะ ตะติยัมปิ อะหัง ภันเต ปัพพัชชัง ยาจามิ อิมานิ กาสายานิ วัตถานิ คะเหตะวา ปัพพาเชถะ มัง ภันเต อะนุกัมปัง อุปาทายะ *หมายเหตุ ถ้าบวชเป็นสามเณรให้ละคำว่า ละเภยยัง อุปะสัมปะทัง ออก พระอุปัชฌาย์รับเอาผ้าไตรจากผู้บวชวางไว้ตรงหน้าตัก ให้โอวาทและบอก ตะจะปัญจะกะ กัมมัฏฐาน แล้วให้ว่าตามไปทีละบท โดยอนุโลม (ไปข้างหน้า) และปฏิโลม (ทวนกลับ) ดังนี้ เกสา โลมา นะขา ทันตา ตะโจ (อนุโลม) ตะโจ ทันตา นะขา โลมา เกสา (ปฏิโลม) พระอุปัชฌาย์ชักอังสะออกจากไตรมาสวมให้ผู้บวช แล้วสั่งให้ออกไปครองผ้าครบไตรจีวรตามระเบียบ ครั้นเสร็จแล้วเข้าไปหาพระอาจารย์ รับเครื่องสักการะถวายท่านแล้วกราบ ๓ ครั้ง นั่งคุกเข่าเปล่งวาจาขอสรณะและศีลดังนี้ อะหัง ภันเต สะระณะสีลัง ยาจามิ ทุติยัมปิ อะหัง ภันเต สะระณะสีลัง ยาจามิ ตะติยัมปิ อะหัง ภันเต สะระณะสีลัง ยาจามิ (พระอาจารย์กล่าวคำนมัสการให้ผู้บรรพชาว่าตามดังนี้) นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (๓ จบ) พระอุปัชฌาย์จะกล่าวว่า เอวัง วะเทหิ หรือ ยะมะหัง วะทามิ ตัง วะเทหิ ให้รับว่า อามะ ภันเต แล้วท่านจะว่านำสรณคมน์ก็ให้ว่าตามดังนี้ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ พอจบแล้วทางพระอุปัชฌาย์จะบอกว่า ติสะระณะคะมะนัง นิฏฐิตัง ก็ให้รับว่า อามะ ภันเต ต่อจากนั้นก็สมาทานสิกขาบท ๑๐ ประการโดยว่าตามท่านไปเรื่อยๆ ดังนี้ ปาณาติปาตา เวรมณี อทินนาทานา เวรมณี อะพรหมจริยา เวรมณี มุสาวาทา เวรมณี สุราเมรยะมัชชะปมาทัฏฐานา เวรมณี วิกาละโภชนา เวรมณี นัจจะคีตะวาทิตะวิสูกะทัสสนา เวรมณี มาลาคันธะวิเลปะนะธารณะมัณฑนะวิภูสะนัฏฐานา เวรมณี อุจจาสะยะนะมะหาสะยะนา เวรมณี ชาตะรูปะ ระชะตะ ปฏิคคหณา เวรมณี (และกล่าว ๓ ครั้งว่า) อิมานิ ทะสะ สิกขาปะทานิ สมาทิยามิ (เสร็จแล้วรับบาตรอุ้มเข้าไปหาพระอุปัชฌาย์ในที่ประชุมสงฆ์ วางไว้ข้างตัวด้านซ้าย รับเครื่องสักการะถวายท่านแล้วกราบ ๓ ครั้ง นั่งคุกเข่าประนมมือกล่าวดังนี้) อะหัง ภันเต นิสสะยัง ยาจามิ ทุติยัมปิ อะหัง ภันเต นิสสะยัง ยาจามิ ตะติยัมปิ อะหัง ภันเต นิสสะยัง ยาจามิ อุปัชฌาโย เม ภันเต โหหิ (ตรงนี้ว่า ๓ ครั้ง) พระอุปัชฌาย์จะกล่าวว่า โอปายิกัง ปะฏิรูปัง ปาสาทิเกนะ สัมปาเทหิ ให้รับว่า สาธุ ภันเต ทุกครั้งไป อัชชะตัคเคทานิ เถโร มัยหัง ภาโร อะหัมปิ เถรัสสะ ภาโร (กล่าวตรงนี้ ๓ ครั้ง เสร็จแล้วกราบลง ๓ ครั้ง) พระอาจาย์จะเอาสายคล้องตัวผู้บวช บอกบาตรและจีวรก็ให้ผู้บวชรับว่า อามะ ภันเต ๔ ครั้งดังนี้ อะยันเต ปัตโต (รับว่า) อามะ ภันเต อะยัง สังฆาฏิ (รับว่า) อามะ ภันเต อะยัง อุตตะราสังโค (รับว่า) อามะ ภันเต อะยัง อันตะระวาสะโก (รับว่า) อามะ ภันเต จากนั้นพระอาจารย์ท่านจะบอกให้ออกไปข้างนอกว่า คัจฉะ อะมุมหิ โอกาเส ติฏฐาหิ ผู้บวชก็ถอยออกไปยืนอยู่ในที่ที่กำหนดไว้ (ส่วนใหญ่จะเป็นบริเวณทางเข้าโบสถ์) ต่อจากนี้พระอาจารย์จะสวดถามอันตรายิกธรรม ให้รับ นัตถิ ภันเต ๕ ครั้ง และต่อด้วย อามะ ภันเต อีก ๘ ครั้งดังต่อไปนี้
*(ชื่อพระอุปัชฌาย์) นามะ *หมายเหตุ ผู้บวชจะต้องทราบชื่อทางพระที่พระตั้งให้ใหม่ก่อนวันบวชและต้องจำชื่อพระอุปัชฌาย์ให้ได้ด้วย เสร็จแล้วกลับเข้ามาข้างในที่ประชุมสงฆ์ กราบลงตรงหน้าพระอุปัชฌาย์ ๓ ครั้ง นั่งคุกเข่าประนมมือเปล่งวาจาขออุปสมบทดังนี้ สังฆัมภันเต อุปะสัมปะทัง ยาจามิ อุลลุมปะตุ มัง ภันเต สังโฆ อะนุกัมปัง อุปาทายะ ทุติยัมปิ ภันเต สังฆัง อุปะสัมปะทัง ยาจามิ อุลลุมปะตุ มัง ภันเต สังโฆ อะนุกัมปัง อุปาทายะ ตะติยัมปิ ภันเต สังฆัง อุปะสัมปะทัง ยาจามิ อุลลุมปะตุ มัง ภันเต สังโฆ อะนุกัมปัง อุปาทายะ ถ้ากล่าวพร้อมกันให้เปลี่ยนคำว่า ยาจามิ เป็น ยาจามะ และเปลี่ยน มัง เป็น โน ต่อมาพระอาจารย์สวดสมมติตนถามอันตรายิกธรรม ผู้บวชก็รับว่า นัตถิ ภันเต ๕ ครั้ง และ อามะ ภันเต ๘ ครั้ง บอกชื่อพระใหม่ของตัวเอง และชื่อพระอุปัชฌาย์แบบที่ผ่านมาอย่างละหนึ่งครั้ง เสร็จแล้วก็นั่งฟังพระสวดกรรมวาจาอุปสมบทไปจนจบ พอจบแล้วท่านก็จะเอาบาตรออกจากตัว ให้กราบลง ๓ ครั้ง นั่งพับเพียบฟังพระอุปัชฌาย์บอกอนุศาสน์ไปจนจบ แล้วก็กล่าวรับว่า อามะ ภันเต เสร็จพิธีก็กราบ ๓ ครั้ง ถ้ามีเครื่องไทยทานก็ให้รับไทยทานถวายพระอันดับ เวลากรวดน้ำก็ให้ตั้งใจรำลึกถึงผู้มีพระคุณอุทิศส่วนกุศลแด่ท่าน ขั้นตอนต่อไปก็นั่งฟังพระท่านอนุโมทนาต่อไปจนจบเป็นอันเสร็จพิธี บทบัญญัติข้อห้ามและศีลของสมณเพศ |
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)