วันอาทิตย์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2555

เพลงประจำอาเซียน the asean way

บทที่ ๑๖ อายัย วัฒนธรรมเขมร ยอดฮิต ๒

บทที่ ๑๕ อายัย วัฒนธรรมเขมร ยอดฮิด ๑

บทที่ ๑๔ เรียนภาษาด้วยบทเพลงฮิตซึ้ง

บทที่ ๑๓ เรียนภาษาด้วยบทเพลงเพราะ ๆ ๑

บทที่ ๑๒ สระจมหรือสระนิสสัย

บทที่ ๑๑ การนับเลข

บทที่ ๑๐ โรงเรียนของเรา

บทที่ ๙ รู้จักผลไม้

บทที่ ๘ เรียนประโยคด้วยภาพ ๒

บทที่ ๗ เรียนประโยคด้วยภาพ

บทที่ ๖ ศัพท์ตามพยัญชนะ ๓๓ ตัว

บทที่ ๕ บททบทวนพยัญชนะพร้อมเชิง

บทที่ ๔ สระเต็มตัวหรือสระลอย

บทที่ ๓ การประสมคำจาก ก ถึง อ

บทที่ ๒ พยัญชนะพร้อมเชิง

บทที่ ๑ พยัญชนะ

บทนำแรงบันดาลใจ

วันพุธที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2555

ประเพณีบวชนาคช้าง

        จังหวัดสุรินทร์ เป็นเมืองที่ได้รับขนานนามว่า "เมืองช้าง" มานานกว่า ๓ ทศวรรษแล้ว เนื่องจากการที่ได้ริเริ่มจัดการแสดงของช้างขึ้นครั้งแรกเมื่อปี ๒๕๐๓ และก็ได้จัดสืบทอดเป็นประเพณีมาจนกระทั่งทุกวันนี้

      ในแต่ละปีนั้น ก็จะมีทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศให้ความสนใจเข้ามาชมกันเป็นจำนวนมาก ทำให้เศรษฐกิจของสุรินทร์เติบโตอย่างรวดเร็ว และกลายเป็นเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญของภาคอีสานอีกเมืองหนึ่ง 
       นอกจากการแสดงของช้างที่ลือลั่นไปทั่วโลกแล้วสุรินทร์ยังเป็นเมืองที่เต็มไปด้วยศิลปวัฒนธรรมที่หลากหลาย เนื่องจากเป็นเมืองที่มีกลุ่มชาติพันธุ์อยู่รวมกันถึง ๓ กลุ่มด้วยกันคือ กวย (กูย) หรือส่วย เขมร และลาว ซึ่งแต่ละกลุ่มก็มีขนบประเพณีที่แตกต่างกันออกไป และก็เป็นที่น่าสนใจและน่าอนุรักษ์ไว้สำหรับอนุชนรุ่นหลัง

สตรีชาวกูย (อำเภอศีขรภูมิ)

 สตรีและเด็กชาวเขมร (อำเภอศีขรภูมิ)

 สตรีชาวลาว (อำเภอศีขรภูมิ)

         ระเพณีงานบวชประจำปีที่หมู่บ้านช้าง บ้านตากลาง ตำบลกระโพ อำเภอท่าตูมจังหวัดสุรินทร์ ก็เป็นอีกประเพณีหนึ่งที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ไว้อย่างยิ่ง ไม่เพียงแต่สำหรับจังหวัดสุรินทร์หรือประเทศไทยเท่านั้น แต่สมควรที่จะอนุรักษ์ไว้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของโลกเลยก็ว่าได้
        หมู่บ้านช้าง บ้านตากลาง เป็นหมู่บ้านของชาวกูยที่เลี้ยงช้าง ซึ่งช้างจากหมู่บ้านช้างแห่งนี้นี่แหละที่ไปแสดงงานช้างของจังหวัดเป็นประจำทุกปี
       ชาวกูย บ้านแห่งตากลางดำเนินวิถีชีวิตด้วยการเลี้ยงช้างตามรอยบรรพบุรุษมานานนับศตวรรษ และที่แห่งนี้ก็เป็นทำเลที่เหมาะสำหรับการเลี้ยงช้างที่สุด กล่าวคือ อยู่บริเวณที่ราบลุ่มที่มีแม่น้ำมูลและแม่น้ำชีไหลมาบรรจบกัน กอปรกับยังมีสภาพป่าหลังเหลืออยู่บ้าง ซึ่งนับวันก็ถูกทำลายลงทุกที อันเป็นสาเหตุหนึ่งที่ต้องนำช้างออกไปเร่ร่อนตามเมืองใหญ่ๆ